ความเสื่อม (จัญไร) กรรมที่ข้าพเจ้ากระทำมาเป็นเวลาเพียงนี้ก็เกิดเป็นโมฆะ
(ไม่มีผล) เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าเมื่อพิจารณาเห็น ความวิบัติของตัวเอง จึง
ร้องไห้ พระเจ้าข้า. คำว่า โควตฺตํ เป็นต้น ก็พึงทราบตามนัยที่กล่าวมา
แล้วในกุกกุรวัตรเป็นอาทินั่นแล. คำว่า คฺวากปฺปํ แยกสนธิเป็น โคอากปฺปํ
แปลว่า อาการของโค. คำที่เหลือก็เป็นเช่นเดียวกับคำที่กล่าวมาแล้วในอาการ
ของสุนัขนั่นแหละ เห็นเหล่าสุนัขตัวอื่น ๆ แล้วแยกเขี้ยวเดินไปในกุกกุรวัตร
นั้น ฉันใด ก็พึงทราบอาการที่โคเห็นโคตัวอื่น ๆ แล้วยกหูทั้งสองเดินไป
ในโควัตรนี้ก็ฉันนั้น. คำนอกนั้นก็เหมือนกันนั่นแหละ.
คำว่า จตฺตารีมานิ ปุณฺณ กมฺมานิ ความว่า เหตุไร พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงทรงปรารภพระธรรมเทศนานี้. ก็เพราะเทศนานี้มาด้วยอำนาจ
การกระทำกรรมบางอย่าง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกรรม ๔ หมวดนี้แล้ว
การกระทำของคนเหล่านี้จักปรากฏ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรง
ปรารภเทศนานี้. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงทราบว่าคนทั้งสองนี้จักเข้าใจ
กรรม ๔ หมวด ที่กำลังทรงแสดงนี้เท่านั้น ต่อนั้น คนหนึ่งจักถึงสรณะ คน
หนึ่งจักบวชแล้วบรรลุพระอรหัต ดังนั้น เทศนานี้เท่านั้นเป็นสัปปายะของ
พวกเขา จึงทรงปรารภเทศนานี้. บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า กณฺหํ แปลว่า
ดำ ได้แก่กรรมที่เป็นอกุศลกรรมบถ ๑๐. บทว่า กณฺหวิปากํ คือมีวิบากดำ
เพราะทำให้บังเกิดในอบาย. บทว่า สุกฺกํ แปลว่า ขาว ได้แก่กรรมที่เป็น
กุศลกรรมบถ ๑๐. บทว่า สุกกวิปากํ คือมีวิบากขาว เพราะทำให้บังเกิด
ในสวรรค์. บทว่า กณฺหสุกฺกํ คือกรรมที่คละกัน. บทว่า กณฺหสุกฺกวิปากํ
คือมีสุขและทุกข์เป็นวิบาก. แท้จริง บุคคลทำกรรมคละกันแล้ว เกิดในกำเนิด
สัตว์ดิรัจฉาน ในตำแหน่งช้างมิ่งมงคลเป็นต้น ด้วยอกุศลกรรม ก็เสวยสุขใน