No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 432 (เล่ม 19)

ร. "ดีแล้ว ดีแล้ว ท่านครับ นี้ควรแก่ท่าน" ทรงไหว้แล้วหลีกไป
ในคำว่า "ได้ของดีเลิศในที่ที่พึงแบ่ง" นี้ มีเรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์.
ก็ภิกษุทั้งหลาย มีปกติอยู่ในบ้านภาตระในจัณฑาลติสสภยะวิหาร
ไม่บอกพระเถรีชื่อว่านาคาหลีกไปแล้ว. พระเถรีกล่าวกับพวกภิกษุณีสาว
เวลาเช้ามืดว่า "หมู่บ้านสงัดเสียงเหลือเกิน พวกท่านจงสอบสวนดูก่อนซิ."
ภิกษุณีสาวเหล่านั้น ไปรู้ว่าภิกษุทั้งหมดไปแล้ว จึงกลับมาบอกพระ
เถรี. พระเถรีนั้น ได้ฟังแล้ว กล่าวว่า "พวกท่านอย่าคิดว่าภิกษุเหล่านั้นไป
แล้ว จงทำความเพียรในการเล่าเรียนบาลี สอบถามและการใส่ใจโดยแยบคาย
เถอะ" เมื่อถึงเวลาเที่ยวภิกษาจึงห่มผ้า ได้เป็นรูปที่ ๑๒ ยืนที่โคนต้นไทรใกล้
ปากดง. เทวดาผู้สิ่งอยู่ที่ต้นไม้ก็ได้ถวายบิณฑบาตแก่ภิกษุณี ๑๒ รูป
จึงกล่าวว่า "พระแม่เจ้า ขออย่าไปที่อื่นเลย มาประจำที่นี้เท่านั้นเถิด".
ก็พระเถรีมีน้องชายคนเล็กชื่อว่า นาคเถระ. พระนาคเถระนั้นคิดว่า
"เราไม่อาจให้ภัยอย่างใหญ่เป็นไปในที่นี้ พวกเราจะไปยังฝั่งอื่น" เป็น
รูปที่ ๑๒ เทียว ออกจากที่อยู่ของตน แล้วมาหมู่บ้านภาตระด้วยคิดว่า "เราจะ
เยี่ยมพระเถรีแล้วก็จะไป."
พระเถรีได้ฟังว่า พวกพระเถระมา จึงไปสำนักพระเถระเหล่า
นั้น ถามว่า " อะไรกัน พระผู้เป็นเจ้า" ท่านจึงบอกความเป็นไปนั้น.
พระเถรีนั้นจึงกล่าวว่า "ตลอดวันหนึ่ง วันนี้พวกท่านจักพักในวิหาร ต่อพรุ่งนี้
จึงค่อยไป." พวกพระเถระมาวิหาร. รุ่งขึ้นพระเถรีเที่ยวบิณฑบาตที่โคน
ต้นไม้แล้วเข้าไปหาพระเถระกล่าวว่า "ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายจงฉันบิณฑ-
บาตนี้เถิด." พระเถระกล่าวว่า "เถรี สมควรหรือ" จึงได้ยินนิ่งเสีย.
เถรี. "พ่อ บิณฑบาตนี้ชอบธรรม พระคุณเจ้าทั้งหลาย อย่า
รังเกียจ ฉันเถิด."

432
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 433 (เล่ม 19)

เถระ. "เถรี สมควรหรือ"
นางจับบาตรแล้วโยนไปบนอากาศ บาตรได้ลอยอยู่ในอากาศ พระ
เถระกล่าวว่า "อาหารของภิกษุณีลอยอยู่ประมาณเจ็ดชั่วลำตาล" เมื่อกล่าว
ว่า "ขึ้นชื่อว่า ภัยมิใช่มีอยู่ทุกเวลา ภัยสงบ" เมื่อจะกล่าวอริยวงศ์ก็จะกล่าว
ว่า " ํท่านครับ ท่านฉันอาหารของนางภิกษุณีที่ได้จากบิณฑบาตแล้ว
ปล่อยเวลาให้ล่วงไป" ดังนี้ เมื่อจะประพฤติตามความคิดก็ไม่อาจจะสนับสนุน
ได้ เถรี ขอพวกท่านจงไม่ประมาทเถิด." แล้วเดินขึ้นหนทาง. ฝ่ายรุกขเทวดา
ยืนคิดอยู่ว่า "หากพระเถระจะบริโภคบิณฑบาตจากมือพระเถรี เราก็จะไม่
ให้เธอกลับ" เห็นพระเถระเดินไป จึงลงจากต้นไม้กล่าวว่า ''ท่านเจ้า
ข้า ขอจงให้บาตร" แล้วรับบาตรนำพระเถระมาโคนต้นไม้นั่นแหละ ปู
อาสนะถวายบิณฑบาต ให้พระเถระซึ่งฉันแล้วทำปฏิญญา แล้วบำรุงภิกษุณี
๑๒ รูป ภิกษุ ๑๒ รูป ตลอด ๗ ปี. ในคำว่า "เทวดาขวนขวาย" นี้มีเรื่องนี้
เป็นอุทาหรณ์. ก็ในเรื่องนี้ พระเถรีได้เป็นผู้บำเพ็ญสาราณิยธรรม.
ในบทว่า "ไม่ขาด" เป็นต้น มีอธิบายว่า ภิกษุใด มีสิกขาบททำลาย
ในเบื้องต้นและที่สุดในกองอาบัติทั้ง ๗ ภิกษุนั้น ชื่อว่า มีศีลขาด ดุจผ้า
ขาดรอบๆ ริม. อนึ่ง ภิกษุใดมีสิกขาบททำลายท่ามกลาง ภิกษุนั้นชื่อว่า
มีศีลทะลุ ดุจผ้าทะลุตรงกลาง. ภิกษุใดทำลาย ๒, ๓ สิกขาบท ตามลำดับภิกษุ
นั้นชื่อว่า มีศีลด่าง ดุจแม่โคที่มีสีดำหรือแดงเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง
ด้วยสีที่ตัดกันตั้งขึ้นบนหลังหรือท้อง. ภิกษุใดมีสิกขาบททำลายระหว่างๆ
ภิกษุนั้น ชื่อว่า ศีลพร้อย ดุจแม่โคที่มีจุดลายไปทั้งตัว.
ส่วนภิกษุใด มีสิกขาบทไม่ทำลายหมด ภิกษุนั้น ชื่อว่า มีศีลเหล่านั้น
ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย. ก็สิกขาบทเหล่านี้นั้น ชื่อว่าเป็นไท เพราะ
พ้นจากความเป็นทาสแห่งตัณหาแล้วทำให้เป็นอิสระ ชื่อว่าวิญญูชนสรร-

433
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 434 (เล่ม 19)

เสริญ เพราะวิญญูชนทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น สรรเสริญแล้วชื่อ
ว่า อะไรๆ ลูบคลำไม่ได้ เพราะตัณหาเป็นต้น ลูบคลำไม่ได้ และเพราะ
กิเลสอะไรๆ ไม่อาจเพื่อจะลูบคลำว่า "ท่านเคยต้องสิกขาบทชื่อนี้" ย่อมเป็นไป
เพื่อสมาธิอย่างเฉียดๆ หรือสมาธิอย่างแนบแน่น ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า
เป็นไปเพื่อความตั้งมั่น.
บทว่า "ถึงความเป็นผู้มีศีลเสมอกันอยู่" ความว่า ผู้มีศีลเข้าถึงความ
เสมอกัน กับภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในส่วนทิศเหล่านั้นๆ อยู่. เพราะว่า ศีลของ
พระโสดาบันเป็นต้น สม่ำเสมอกันด้วยศีลของพระโสดาบันเป็นต้นเหล่า
อื่น. ที่อยู่ระหว่างทะเลบ้าง เทวโลกบ้างแน่แท้ (แต่) ไม่มีความแตกต่างกัน
โดยมรรคและศีล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอาศีลนั้น จึงได้ตรัสคำนี้.
บทว่า "ทิฏฐินี้ใด" ความว่า สัมมาทิฏฐิที่ประกอบพร้อมด้วยมรรค.
บทว่า "อริยะ" ได้แก่ ไม่มีโทษ.
บทว่า "นำออก" คือ นำออกไป.
บทว่า "ผู้ทำกรรมนั้น" ได้แก่ ผู้ใดเป็นผู้ทำอย่างนั้น.
บทว่า "เพื่อสิ้นทุกข์" ได้แก่ เพื่อความสิ้นทุกข์ทั้งหมด.
บทว่า "ถึงความเสมอกันด้วยความเห็น" ความว่า เป็นผู้เข้าถึงความ
เป็นผู้มีความเห็นเสมอกันอยู่.
บทว่า "เลิศ" ได้แก่ เจริญที่สุด.
บทว่า "รวมไม้กลอนทั้งปวงไว้" ได้แก่ ยึดไว้ดี อธิบายว่า "ทำ
กลอนทุกอันให้จดกัน เหตุนั้น ชื่อว่า ให้ต่อๆ กัน."
บทว่า "ยอดนี้ใด" ความว่า ที่ต่อเรือนยอดกับช่อฟ้า เหตุนั้น ชื่อ
ว่า ยอด. ก็ปราสาท ๕ ชั้นเป็นต้นที่ยอดนั้นตรึงไว้เทียวจึงตั้งอยู่ได้ เมื่อ

434
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 435 (เล่ม 19)

ยอด นั้นตกไป ปราสาททั้งหมดตั้งต้นแต่ดินเหนียวก็ตกไป. เพราะ
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้.
บทว่า "ฉันนั้นนั่นเทียวแล" ความว่า ความเห็นอย่างประเสริฐและ
เลิศแห่งสาราณิยธรรมเหล่านี้นั้น พึงเห็นว่า เป็นตัวรวบรวม และตัวเชื่อม
ดุจยอดของเรือนยอดฉะนั้น.
ในบทว่า "ภิกษุทั้งหลาย ก็ความเห็นนี้ใด อย่างไร" อธิบายว่า
ภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิในโสดาปัตติมรรค ท่านกล่าวว่า ไกลจากข้าศึก คือเป็น
สภาพนำออก ย่อมนำออกไป เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ ของนักปฏิบัติ."
ทิฏฐินั้นนำออกอย่างไร นำออกเพราะเหตุอะไร"
บทว่า "หรือว่า เป็นผู้มีจิตถูกรุมแล้ว" ความว่า ชื่อว่า เป็นผู้มี
จิตถูกรุมแล้ว แม้ด้วยเหตุเท่านี้." ในบททั้งปวงก็นัยนี้.
บทว่า "ใจของเราตั้งมั่นดีแล้ว" ความว่า จิตเราตั้งไว้ดีแล้ว.
บทว่า "เพื่อรู้สัจจะทั้งหลาย" ได้แก่ เพื่อประโยชน์รู้สัจจะ ๔.
ในบทเป็นต้นว่า "ประเสริฐ" มีอธิบายว่า เพราะญาณนั้นย่อมมีแก่
ผู้ประเสริฐ หามีแก่ปุถุชนไม่ ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า "ประเสริฐ." ส่วน
ว่า แม้โลกุตตรธรรมของคนพวกใดมีอยู่ก็เป็นของคนพวกนั้นเท่านั้น หามี
แก่พวกอื่นไม่ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ยอดเยี่ยมในโลก. มีคำอธิบาย
ว่า "ชื่อว่า ไม่ทั่วไปกับปุถุชนทั้งหลาย เพราะไม่มีแก่ปุถุชน. ในวาระทั้ง
หมดก็นัยนี้.
บทว่า "เราได้ความสงบเฉพาะตน" ความว่า เราได้ความสงบในจิต
ของตน. แม้ในความดับก็นัยนี้. ในบทว่า "ดับแม้นี้" ย่อมได้ทั้งความ
สงบ ทั้งความเป็นผู้มีอารมณ์เลิศเป็นหนึ่ง.
บทว่า "ดับ" ได้แก่ เข้าไปสงบกิเลส.

435
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 436 (เล่ม 19)

บทว่า "ทิฏฐิเห็นปานนั้น" ได้แก่ โสดาปัตติมรรคทิฏฐิเห็นปานนั้น.
บทว่า "โดยธรรมดา" คือ โดยสภาพ.
สภาพนี้ ชื่อว่า ธรรมดานี้.
บทว่า "ย่อมปรากฏการตั้งขึ้น" ความว่า การตั้งขึ้นด้วยอำนาจสังฆ-
กรรม หรือเทศนาย่อมปรากฏ. จริงอยู่ อริยสาวก เมื่อต้องอาบัติ ก็ต้องอาบัติ
ด้วยไม่จงใจ เหมือนการสร้างกุฏีในครุกาบัติ (และ) เหมือนต้องอาบัติใน
เพราะการนอนร่วมในที่มุงที่บังเดียวกันเป็นต้นในลหุกาบัติ แน่นอน พระอริย-
สาวกนั้น ไม่แกล้ง คือ ไม่จงใจต้องอาบัตินั้น ต้องแล้วก็ไม่ปกปิด เพราะเหตุ
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำเป็นต้นว่า "ครั้งนั้นแล........นั้นพลันทีเดียว."
บทว่า "หนุ่ม" ได้แก่ ยังอ่อน.
บทว่า "กุมาร" ได้แก่ มิใช่คนแก่.
บทว่า "เขลา" คือชื่อว่า เขลา เพราะตาและหูยังไร้เดียงสา.
บทว่า "นอนหงาย" ความว่า ชื่อว่า เป็นผู้นอนหงาย เพราะยังอ่อน
นัก ไม่อาจจะนอนข้างขวาหรือข้างซ้ายได้.
บทว่า "ได้เหยียบถ่าน" ความว่า เอามือหรือเท้าที่เหยียดไปทางนี้
บ้าง ทางโน้นบ้าง ถูกแล้ว ก็เมื่อพวกมนุษย์ถูกอยู่อย่างนี้ มือจะชักออก
เร็ว ทำช้าไม่ได้แม้ครั้งนั้น คนทั้งหลายเอามือข้างหนึ่งข้างใด จับถ่านเปลี่ยน
ไปเปลี่ยนมาย่อมไปได้ไกล. แต่ว่า มือและเท้าของเด็กอ่อนยังละเอียด
อ่อน. เด็กนั้น เพียงถูกไฟลวกเอาเท่านั้น ก็จะร้องกรี๊ด ทิ้งไปโดยเร็ว
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงเด็กอ่อนไว้ในที่นี้เทียว. คนแก่เมื่อ
ถูกไหม้ย่อมทนได้. แต่ว่าเด็กอ่อนนี้ทนไม่ได้. เพราะฉะนั้น จึงทรงแสดง
เด็กอ่อนเทียว.

436
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 437 (เล่ม 19)

บทว่า "แสดง" ความว่า เมื่อบุคคลที่พอๆ กันเป็นผู้รับอาบัติ ก็
ไม่รอว่ากลางวันหรือกลางคืนไปที่อยู่ของภิกษุที่พอๆ กันนั้น แม้ในกลางคืน
ประกอบด้วยองค์ ๔ แสดงทีเดียว
บทว่า "สูง ต่ำ" ได้แก่ สูงๆ ต่ำๆ.
กิจที่ควรกล่าวอย่างนี้ว่า "เราจะทำอย่างไร แล้วทำชื่อว่า กิจที่ควร
จะทำอย่างไร ".
ในกิจเหล่านั้น กิจเป็นต้นอย่างนี้ คือ การทำหรือย้อมจีวร ๑ การงาน
ที่พระเจดีย์ ๑ การงานที่ควรทำที่โรงอุโบสถ ๑ เรือนพระเจดีย์ ๑ เรือน
โพธิ์ ๑ ชื่อว่าการงานอย่างสูง. การงานเล็กน้อยมีการล้างและทาเท้าเป็น
ต้น ชื่อว่า การงานอย่างต่ำ. อีกอย่างหนึ่ง การงานมีการฉาบทาปูนขาวเป็น
ต้นที่เจดีย์ ชื่อว่า การงานอย่างสูง. ในการงานเหล่านั้น การสุผ้ากาสาวะ
๑ การชักน้ำมา ๑ การทำเกรียง ๑ การพาดบันได ๑ ชื่อว่า การงาน
อย่างต่ำ.
บทว่า "ถึงความขวนขวาย" ความว่า เป็นผู้ปฏิบัติความขวนขวาย
ที่ควรทำ.
บทว่า "เป็นผู้เพ่งอย่างกล้า" ความว่า เป็นผู้มีความปรารถนาอย่าง
หนาแน่น.
บทว่า "และถอนหญ้า" ได้แก่ เล็มหญ้าเคี้ยวกินอยู่.
บทว่า "ใส่ใจถึงลูกโค" ความว่า คอยแลดูลูกโคอยู่ด้วย. เหมือน
อย่างว่า โคแม่ลูกอ่อน จะไม่ทิ้งลูกโคที่รวมกันมาป่า แล้วนอนในที่หนึ่งไป
ไกล แม่โคนั้นจะเที่ยวไปในที่ใกล้ๆ ลูกโคและเล็มหญ้าแล้ว ก็ชูคอขึ้นชำเลือง
ดูลูกโคไปด้วยทีเดียว. พระโสดาบันก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทำกิจที่ควรทำ

437
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 438 (เล่ม 19)

ทั้งสูงต่ำ น้อมไปในกิจนั้น เป็นผู้บำเพ็ญไม่ย่อหย่อน มีความพอใจอย่าง
แรงกล้า เป็นผู้มีความปรารถนาอย่างหนาแน่นกระทำ. ในข้อนั้น มีเรื่องนี้
เป็นอุทาหรณ์.
เล่ากันว่า เมื่อกำลังฉาบทาปูนที่มหาเจดีย์ พระอริยสาวกรูปหนึ่ง
มือข้างหนึ่งถือภาชนะใส่ปูน ข้างหนึ่ง ถือเกรียง คิดว่า "ฉาบปูนแล้วขึ้น
ฐานพระเจดีย์" ภิกษุรูปหนึ่ง กายมีน้ำหนักมาก ได้ไปยืนใกล้พระเถระ
พระเถระในที่อื่นเป็นผู้ล่าช้าอย่างยิ่ง เพราะเหตุนั้นจึงจากที่นั้นไปที่อื่น.
ถึงภิกษุนั้น ก็ได้ไปที่นั้นนั่นเทียว. พระเถระได้ไปที่อื่นอีกดังนี้แล. พระเถระ
ได้กล่าวกะภิกษุผู้มาในที่ ๒-๓ แห่งอย่างนี้ว่า ท่านสัตบุรุษ เนินพระเจดีย์
ใหญ่ ท่านไม่ได้โอกาสที่อื่นหรือ. พระเถระนอกนี้ก็ไม่ยอมหลีกไป.
บทว่า "ประกอบด้วยความเป็นผู้มีกำลัง" ได้แก่ ประกอบด้วย
กำลัง.
บทว่า "ทำให้มี" ความว่า ทำความเป็นผู้มีประโยชน์คือ เป็นผู้
มีประโยชน์.
บทว่า "ทำให้มี" ความว่า ทำไว้ในใจ คือรวบรวมสิ่งทั้งหมดมาด้วย
ใจ ชื่อว่า ไม่ทำความฟุ้งซ่านแม้เพียงเล็กน้อย รวบรวมมาด้วยจิตทั้งสิ้น.
บทว่า "เงี่ยโสต" ความว่า มีโสตอันตั้งไว้แล้ว.
ก็พระอริยสาวกทั้งหลาย เป็นผู้รักการฟังธรรม เมื่อจะไปฟัง
ธรรม ก็ไม่นั่งหลับ สนทนากับใครๆ หรือมีจิตฟุ้งซ่าน. โดยที่เเท้ท่านเป็นผู้
ไม่อิ่มในการฟังธรรม เหมือนบริโภคน้ำอมฤต จนถึงอรุณขึ้นไปในการฟัง
ธรรม เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้อย่างนี้.
บทว่า "ธรรมดา เป็นอันตั้งไว้ดีแล้ว" ความว่า สภาวะเป็นอันท่าน
แสวงหาไว้ดีแล้ว.

438
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 439 (เล่ม 19)

คำว่า "เพราะกระทำให้แจ้งในโสดาปัตติผล" นี้เป็นคำกล่าวถึง
เหตุ อธิบายว่า เพราะญาณที่ทำให้แจ้งแล้วด้วยโสดาปัตติผล.
บทว่า "มาตามพร้อมแล้วด้วยองค์ ๗ อย่างนี้" ความว่า ประกอบ
ด้วยญาณเป็นเครื่องพิจารณาอย่างใหญ่เหล่านี้ อย่างนี้. อาจารย์ทั้งหลายมี
ถ้อยคำที่เสมอกันนี้ก่อน. ส่วนโลกุตตรมรรคที่ชื่อว่า มีขณะจิตมาก ไม่มี.
ส่วนอาจารย์ผู้ชอบกล่าวเคาะเล่น ย่อมกล่าวว่า มรรคที่ชื่อว่า มีขณะ
จิตหนึ่งไม่มี การเจริญมรรคมีได้ตลอด ๗ ปี ส่วนกิเลสทั้งหลาย เมื่อจะขาด
สูญโดยเร็ว ก็ย่อมขาดสูญด้วยญาณทั้ง ๗ เพราะคำว่า "พึงให้เจริญ
ตลอด ๗ ปี." อาจารย์นั้นจะถูกเขากล่าวว่า จงนำพระสูตรมา. เมื่อไม่เห็น
สูตรอื่นเขาก็จะนำพระสูตรนี้มาแสดงอย่างแน่นอนว่า "ญาณที่เราบรรลุนี้
เป็นที่หนึ่งแห่งพระสูตรนั้น ญาณที่เราบรรลุแล้วนี้ เป็นที่สองแห่งพระสูตร
นั้น ฯลฯ ญาณที่เราบรรลุแล้วนี้เป็นที่เจ็ดแห่งพระสูตรนั้น." ลำดับนั้น
อาจารย์นั้นก็จะถูกกล่าวว่า ก็พระสูตรนี้ มีเนื้อความที่พึงนำไป มีเนื้อความที่
นำไปแล้วหรือ. แต่นั้นก็จะกล่าวว่า มีเนื้อความที่นำไปแล้ว. พระสูตรฉัน
ใด เนื้อความก็ฉันนั้น.
อาจารย์นั้นก็จะพึงถูกกล่าวว่า ความเป็นธรรม ก็จะตั้งมั่นด้วย
ดี ประโยชน์มีประมาณเท่านี้ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล. อาจารย์นั้น
ย่อมกล่าวว่า "ประโยชน์แห่งการทำให้แจ้งโสดาปัตติผลมีแน่นอน. แต่นั้นก็
จะถูกถามว่า ผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรคย่อมทำผลให้แจ้ง แล้วกลายเป็นผู้พรั่ง
พร้อมด้วยผลหรือ. เมื่อรู้ก็ตอบว่า ผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค ย่อมทำให้แจ้ง
ผล กลายเป็นพรั่งพร้อมด้วยผล. แต่นั้นถูกซักอีกว่า "เพราะท่านยัง
ไม่อบรมมรรค" ในพระพุทธดำรัสนี้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้
ประกอบด้วยองค์ ๗ อย่างนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยโสดาปัตติผล". จึงกระโดด

439
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 440 (เล่ม 19)

ไปกล่าวสะเปะสะปะเหมือนกับว่า ผมยังไม่ได้พระสูตรว่า อริยสาวกจะยึด
เอาผลให้ได้ ธรรมดาภิกษุผู้จะแก้ปัญหาควรอยู่ในสำนักอาจารย์ เรียน
เอาพระพุทธพจน์ทราบอรรถรสแล้วกล่าวถ้อยคำ.
ญาณ ๗ เหล่านี้ จัดเป็นญาณเครื่องพิจารณาของพระอริยสาวก
ทีเดียว. โลกุตตรมรรค ที่ชื่อว่า มีขณะจิตมากย่อมไม่มี พึงให้ยอมรับว่า
" มีขณะจิตเตียวเท่านั้น" ถ้าเขาจะรู้ก็จงรู้หาก ไม่รู้ ก็จงส่งไปว่า "ท่านจงไป
เข้าวิหารแต่เช้าตรู่แล้วดื่มข้าวต้มเสีย." คำที่เหลือในบททั้งปวงตื้นนั่นเทียว
แล.
จบอรรถกถาโกสัมพิกสูตร.

440
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 441 (เล่ม 19)

๙. พรหมนิมันตนิกสูตร
[๕๕๑ ] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้
มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า.
[๕๕๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ภิกษุทั้ง
หลาย. สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่โคนต้นรังใหญ่ในสุภควัน เมืองอุกกัฏฐา
ก็สมัยนั้นแล พกพรหมมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานฉะนี้ เกิดขึ้นว่า พรหมสถานนี้
เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง แข็งแรง มีความไม่เคลื่อนเป็นธรรมดา พรหมสถานนี้
แล ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ ก็แหละสถานที่ออกไปจากทุกข์
อย่างอื่นที่ดียิ่งกว่าพรหมสถานนี้ไม่มี ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย. ครั้งนั้น เรา
รู้ความปริวิตกแห่งใจพกพรหมด้วยใจแล้ว จึงหายไปที่โคนต้นรังใหญ่ ใน
สุภควันใกล้เมืองอุกกัฏฐา ไปปรากฏในพรหมโลกนั้น เปรียบเหมือนบุรุษที่มี
กำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย พกพรหม
ได้เห็นเราผู้มาแต่ไกล แล้วได้พูดกะเราว่า ท่านผู้นิรทุกข์. เชิญมาเถิด
ท่านมาดีแล้ว นานทีเดียวที่ท่านเพิ่งทำทางจะมาในที่นี้ ท่านผู้นิรทุกข์.
พรหมสถานนี้เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง แข็งแรง มีความไม่เคลื่อนเป็นธรรมดา
พรหมสถานนี้แลไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ ก็แหละเหตุเป็น
ที่ออกไปจากทุกข์อย่างอื่นที่ดียิ่งกว่าพรหมสถานนี้ไม่มี ภิกษุทั้งหลาย.
เมื่อพกพรหมกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวกะพกพรหมว่า ท่านผู้
เจริญ. พกพรหมตกอยู่ในวิชชาแล้วหนอ พกพรหมตกอยู่ในอวิชชาแล้วหนอ

441