No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 202 (เล่ม 19)

คพฺภสฺส อวกฺกนฺติ โหติ ดังนี้ หมายถึงสัตว์นั้น.บทว่า อิธ ได้แก่ ในสัตว์โลก
นี้. บทว่า มาตา จ อุตุนี โหติ นี้ ตรัสหมายเอาเวลามีระดู. ได้ยินว่า ทารก
ย่อมเกิดแก่มาตุคามในโอกาสใด ในโอกาสนั้น เม็ดโลหิตใหญ่ตั้งอยู่แล้ว
แตกไหลไป เป็นวัตถุบริสุทธิ์ เมื่อวัตถุบริสุทธิ์ มารดาบิดาอยู่ร่วมกันครั้ง
เดียวมีเขตเจ็ดวันทีเดียว ในสมัยนั้น ทารกย่อมเกิดขึ้นได้ แม้ด้วยการลูบคลำ
อวัยวะ มีการจับมือ จับมวยผมเป็นต้น. บทว่า คนฺธพฺโพ ได้แก่ สัตว์ผู้เข้าถึง
ในที่นั้น. บทว่า ปจฺจุปฏฺฐิโต โหติ นี้ มีอธิบายว่า ชื่อว่า สัตว์ผู้จ้องดูการอยู่
ร่วมมารดาและบิดา ซึ่งยืนอยู่ในที่ใกล้ ย่อมไม่มี แต่ว่า สัตว์หนึ่ง ผู้อันกรรม
ซัดส่งไปแล้ว ซึ่งจะเกิดขึ้นในโอกาสนั้น มีอยู่ ดังนี้. บทว่า สํสเยน ความ
ว่า ด้วยการสงสัยในชีวิตอย่างใหญ่ อย่างนี้ว่า เราหรือว่าบุตรของเราจัก
ปราศจากโรคไหมหนอดังนี้.
บทว่า โลหิตญฺเหตํ ภิกฺขเว ความว่า ได้ยินว่า โลหิตของแม่ในครั้ง
นั้น ถึงพร้อมแล้วและถึงพร้อมแล้วซึ่งฐานะนั้น คือว่า ย่อมเป็นของขาวด้วย
ความสิเนหาในบุตร เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนั้น.
บทว่า วงฺกํ ได้แก่ ไถเล็กของทารกในผู้เล่นอยู่. การเล่นประหารไม้สั้น
ด้วยไม้ยาว ท่านเรียกว่า ฆฏิกา. บทว่า โมกฺขจิกํ ได้แก่ การเล่นหมุนเวียน.
มีอธิบายว่า การเล่นจับท่อนไม้ในอากาศ หรือว่า เล่นเอาหัวตั้งที่พื้นดิน
แล้วพลิกไปมาข้างล่างข้างบน. จักรหมุนไปด้วยการกระทบลม ที่ทำด้วย
วัตถุทั้งหลายมีใบตาลเป็นต้น ท่านเรียกว่า ปิงคุลิกะ. ทะนานทำด้วยใบ
ไม้ ท่านเรียกว่า ปัตตาฬหกะ ได้แก่ การเล่นตวงวัตถุทั้งหลายมีทรายเป็น
ต้น ด้วยทะนานใบไม้นั้น. บทว่า รถกํ ได้แก่ รถเล็ก. แม้ธนู ก็ได้แก่ธนูเล็ก
นั่นแหละ. บทว่า สารชฺชติ ได้แก่ ย่อมยังราคะให้เกิดขึ้น. บทว่า พฺยาปชฺชติ
ได้แก่ ย่อมยังความพยาบาทให้เกิดขึ้น. บทว่า อนุปฏฺฐิตกายสติ ความ

202
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 203 (เล่ม 19)

ว่า สติในกาย เรียกว่า กายสติ อธิบายว่า ตั้งกายสตินั้น. บทว่า ปริตฺตเจตโส
ได้แก่ อกุศลจิต. บทว่า ยตฺถสฺส เต ปาปกา ความว่า อกุศลธรรมอัน
ลามกเหล่านั้นย่อมดับไป ในผลสมาบัติใด ย่อมไม่รู้ย่อมไม่บรรลุสมาบัติ
นั้น. บทว่า อนุโรธวิโรธํ ได้แก่ ราคะ และโทสะ. บทว่า อภินนฺทติ ได้แก่
ย่อมเพลิดเพลินด้วยอำนาจแห่งตัณหา เมื่อบุคคลกล่าวด้วยอำนาจแห่งตัณหา
ว่า โอ สุขหนอ เป็นต้น ชื่อว่า ย่อมบ่น. บทว่า อชฺโฌสาย ติฏฺฐติ ได้แก่
กลืนกิน คือยังกิจให้สำเร็จแล้วถือเอาด้วยความติดใจในตัณหา. อธิบาย
ว่า จงยินดียิ่งซึ่งสุข หรือว่าอทุกขมสุข ก่อนหรือว่าย่อมยินดียิ่งซึ่งทุกข์อย่าง
ไร. เมื่อบุคคลยึดถือว่า เรามีทุกข์ ทุกข์เป็นของเรา ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมยินดียิ่ง
ในทุกข์. บทว่า อุปฺปชฺชติ นนฺทิ ได้แก่ ตัณหาย่อมเกิดขึ้น.บทว่า ตทุปา-
ทานํ ความว่า ตัณหานั้นเอง ชื่อว่า อุปาทาน เพราะอรรถว่ายึดถือ. ก็ปัจจยา-
การอันเป็นวัฏฏะมีสนธิสามและสังเขปนี้นี้ว่า ตสฺส อุปาทานปจฺจยา ภโว
ฯเปฯ สมุทโย โหติ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสอีกครั้งหนึ่ง.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงอันเป็นส่วนวิวัฏฏะ จึง
ตรัสว่า อิธ ภิกฺขเว ตถาคโต โลเก อุปฺปชฺชติ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่า
นั้น บทว่าอุปฺปมาณเจตโส ความว่า ชื่อว่า มีจิตหาประมาณมิได้ เพราะมีจิตเป็น
โลกุตตระอันประมาณมิได้ อธิบายว่า เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรคจิต.
บทว่า อิมํ โข เม ตุมฺเห ภิกฺขเว สงฺขิตฺเตน ตณฺหาสงฺขยวิมุตฺตึ ธาเรถ
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงทรงจำ
เทศนาตัณหาสังขยวิมุตติของเรา อันเราแสดงโดยย่อนี้ ตลอดกาลเป็นนิตย์
เถิด อย่าหลงลืม. จริงอยู่ เทศนาในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
วิมุตติ เพราะเป็นเหตุได้วิมุตติ. บทว่า มหาตณฺหาชาลตณฺหาสํฆาฏิปฏิ-

203
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 204 (เล่ม 19)

มุกฺกํ ความว่า ตัณหา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ข่ายตัณหาใหญ่
เพราะอรรถว่า ร้อยรัดไว้ ตรัสว่า สังฆาฏะ เพราะอรรถว่า เสียดสี อธิบาย
ว่า พวกเธอจงทรงจำสาติภิกษุผู้เป็นบุตรนายเกวัฏฏ์นี้ว่า เป็นผู้สวมอยู่ในข่าย
แห่งตัณหาใหญ่ และในร่างตัณหานี้ พึงทรงจำภิกษุนั้นว่า เป็นผู้เข้าไปแล้ว
อยากอยู่ภายใน ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้. คำที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น
แล.
จบอรรถกถามหาตัณหาสังขยสูตรที่ ๘

204
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 205 (เล่ม 19)

๙. มหาอัสสปุรสูตร
[๔๕๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่อัสสปุรนิคมของหมู่
เจ้าอังคะในอังคชนบท ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประชุมชนย่อม
รู้จักพวกเธอว่าสมณะๆ ก็แหละพวกเธอ เมื่อเขาถามว่า ท่านทั้งหลายเป็น
อะไร ก็ปฏิญญา (รับ) ว่า พวกเราเป็นสมณะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวก
เธอนั้น มีชื่ออย่างนี้มีปฏิญญาอย่างนี้แล้ว ก็ควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้ง
หลายจักสมาทานประพฤติกรรม ทำความเป็นสมณะด้วย ทำความเป็น
พราหมณ์ด้วย เมื่อพวกเราปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ชื่อและปฏิญญานี้ของพวกเรา
ก็จักเป็นความจริงแท้ ใช่แต่เท่านั้น พวกเราบริโภค จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของทายกเหล่าใด สักการะทั้งหลาย
นั้น ของทายกเหล่านั้น ก็จักมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ในเพราะพวกเรา
อีกอย่างหนึ่งเล่า บรรพชานี้ของพวกเรา ก็จักไม่เป็นหมันจักมีผล มีกำไร.
[๔๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมทำความเป็นสมณะและทำ
ความเป็นพราหมณ์ เป็นอย่างไร พวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้ง
หลายจักเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ บางทีพวกเธอจะมีความดำริ
ว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะแล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้
พอละพวกเราทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะประโยชน์ของความเป็นสมณะ
(มรรค ผล นิพพาน) พวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้น

205
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 206 (เล่ม 19)

ไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้ง
หลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลายเมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญ
ญัตถะที่พวกเธอปรารถนา อย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.
[๔๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร
พวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักมีกายสมาจารบริสุทธิ์
ปรากฏ เปิดเผย ไม่มีช่องและคอยระวัง จักไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความ
เป็นผู้มีกายสมาจารอันบริสุทธิ์นั้น บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า พวกเรา
เป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจารบริสุทธิ์แล้ว ด้วยกิจเพียง
เท่านี้ พอละ พวกเราทำเสร็จเเล้วสามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลำ
ดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียง
เท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้งหลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทำ
ให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสีย
เลย.
[๔๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร
พวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักมีวจีสมาจารบริสุทธิ์
ปรากฏ เปิดเผย ไม่มีช่องและคอยระวัง จักไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความ
เป็นผู้มีวจีสมาจารบริสุทธิ์นั้น บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า พวกเราเป็น
ผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจาร และวจีสมาจารบริสุทธิ์
แล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้พอละ พวกเราทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึง
แล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดี
ด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้งหลายขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย
เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้
เสื่อมไปเสียเลย.

206
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 207 (เล่ม 19)

[๔๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร
พวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักมีมโนสมาจารบริสุทธิ์
ปรากฏ เปิดเผย ไม่มีช่องและคอยระวัง จักไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วย
ความ เป็นผู้มีมโนสมาจารบริสุทธิ์นั้น บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า
พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจาร วจีสมา
จาร และมโนสมาจารบริสุทธิ์แล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้พอละพวกเราทำเสร็จ
แล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปมิ
ได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้ง
หลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญ
ญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.
[๔๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร
พวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักมีอาชีวะบริสุทธิ์ ปรากฏ
เปิดเผย ไม่มีช่องและคอยระวัง จักไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความเป็นผู้มีอาชีวะ
บริสุทธิ์นั้น บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริ
และโอตตัปปะ มีกายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร และอาชีวะบริสุทธิ์
แล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้ พอละ พวกเราทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึง
แล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดี
ด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้งหลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย
เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้
เสื่อมไปเสียเลย.
[๔๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร
พวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักมีทวารอันคุ้มครองแล้วในอิน
ทรีย์ทั้งหลาย เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญ-

207
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 208 (เล่ม 19)

ชนะ จักปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้
อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌา และโทมนัสครอบงำได้ชื่อว่ารักษาจัก-
ขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ได้ยินเสียงดสต...ดมกลิ่นด้วยฆานะ..
ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ
แล้ว, จักไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ จักปฏิบัติเพื่อสำรวมมนิน-
ทรีย์ ที่เมื่อสำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและ
โทมนัสครอบงำได้ ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์
บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัป-
ปะ มีกายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร อาชีวะบริสุทธิ์แล้ว และเป็นผู้
มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ด้วยกิจเพียงเท่านี้พอละ พวกเรา
ทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้
ยิ่งขึ้นไป ได้มีพวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอ
ทั้งหลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญ
ญัตตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.
[๔๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร
พวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักรู้จักประมาณในโภชนะ
จักพิจารณาโดยแยบคายแล้วกลืนอาหาร จักไม่กลืนเพื่อเล่น เพื่อมัวเมา
เพื่อตบแต่ง เพื่อประดับ จักกลืนเพียงเพื่อให้กายนี้ตั้งอยู่ เป็นไป ห่างไกลจา
ความเบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์เท่านั้น และจะบำบัดเวทนา
เก่า ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น และจักให้อัตภาพดำเนินไป ไม่มีโทษ
อยู่สบายด้วยประการฉะนี้ บางทีพวกเธอจะมีความดำเนินไป ไม่มีโทษ
เป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจารวจีสมาจาร มโนสมา-
จาร อาชีวะบริสุทธิ์ เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย และรู้
จักประมาณในโภชนะแล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้ พอละพวกเราทำเสร็จ

208
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 209 (เล่ม 19)

และ สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปมิ
ได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกแก่เธอทั้ง
หลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญ
ญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.
[๔๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปเป็นอย่างไร
พวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักเป็นผู้ประกอบเนือง ๆ ในความ
เป็นผู้ตื่น จักชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมอันเป็นเครื่องกีดกั้น (นิวรณ์) ด้วย
การจงกรม และการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี จักสำเร็จการนอนดังราชสีห์
โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำไว้ในใจถึงความ
สำคัญในอันลุกขึ้น ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี กลับลุกขึ้นแล้ว จักชำระจิตให้
บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกีดกั้น (นิวรณ์) ด้วยการจงกรม และการนั่งตลอด
ปัจฉิมยามแห่งราตรี บางทีพวกเธอจะมีความดำริว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบ
ด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมาจาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร อาชีวะบริสุทธิ์
แล้ว เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย และรู้จักประมาณใน
โภชนะ ประกอบเนือง ๆ ในความเป็นผู้ตื่นแล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้ พอละ
พวกเราทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจอะไรๆ
ที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น
เราขอบอกแก่เธอทั้งหลาย ขอเตือนเธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้น
ไปยังมีอยู่ สามัญญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.
[๔๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปอย่างไร
พวกเธอควรศึกษาอยู่อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักประกอบด้วยสติสัมปชัญ-
ญะ ทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ใน
การคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในการ

209
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 210 (เล่ม 19)

ฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ทำความรู้สึกตัว
ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง บางทีพวก
เธอจะมีความดำริว่า พวกเราเป็นผู้ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ มีกายสมา
จาร วจีสมาจาร มโนสมาจาร อาชีวะบริสุทธิ์แล้ว เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครอง
แล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ ประกอบเนือง ๆ ในความเป็น
ผู้ตื่น และประกอบด้วยสติสัมปชัญญะแล้ว ด้วยกิจเพียงเท่านี้ พอละ พวกเรา
ทำเสร็จแล้ว สามัญญัตถะพวกเราถึงแล้วโดยลำดับ กิจอะไร ๆ ที่ควรทำให้
ยิ่งขึ้นไปมิได้มี พวกเธอถึงความยินดีด้วยกิจเพียงเท่านั้น เราขอบอกเก่เธอ
ทั้งหลาย ขอเตือนแก่เธอทั้งหลาย เมื่อกิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่ สามัญ-
ญัตถะที่พวกเธอปรารถนาอย่าได้เสื่อมไปเสียเลย.
[๔๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กิจที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปอย่างไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ
ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจาก
บิณฑบาตในกาลภายหลังภัตแล้ว นั่งขัดสมาธิตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะ
หน้า เธอละความเพ่งเล็งในโลกแล้ว มีใจปราศจากความเพ่งเล็งอยู่ ย่อมชำระ
จิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้ ละความประทุษร้ายคือพยาบาทแล้ว
ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณาหวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิต
ให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือพยาบาทได้ ละถีนมิทธะได้แล้ว เป็น
ผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความสำคัญหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะ
อยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว เป็นผู้
ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ
ได้ ละวิจิกิจฉาได้แล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศล
ธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้.

210
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 211 (เล่ม 19)

[๔๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงกู้หนี้ไประ
กอบการงาน การงานเหล่านั้นของเราจะพึงสำเร็จผล เขาจะพึงใช้หนี้ที่เป็น
ต้นทุนเดิมให้หมดสิ้น และทรัพย์ที่เป็นกำไรของเขาจะพึงมีเหลืออยู่สำหรับ
เลี้ยงภรรยา เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเรากู้หนี้ไปประกอบ
การงาน บัดนี้ การงานของเราสำเร็จผลแล้ว เราได้ใช้หนี้ที่เป็นต้นทุนเดิม
ให้หมดสิ้นแล้ว และทรัพย์ที่เป็นกำไรของเรายังมีเหลืออยู่สำหรับเลี้ยงภรรยา
ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ถึงความโสมนัส มีความไม่มีหนี้นั้นเป็น
เหตุ ฉันใด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็นผู้มีอาพาธ ถึง
ความลำบาก เจ็บหนัก บริโภคอาหารไม่ได้ ละไม่มีกำลังกาย สมัยต่อ
มา เขาพึงหายจากอาพาธนั้น บริโภคอาหารได้ และมีกำลังกาย เขาจะพึง
มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อน เราเป็นผู้มีอาพาธ ถึงความลำบาก เจ็บ
หนัก บริโภคอาหารไม่ได้และไม่มีกำลังกาย บัดนี้ เราหายจากอาพาธนั้น
แล้ว บริโภคอาหารได้สละมีกำลังกาย ดังนี้ เขาจะพึงได้ความปรา
โมทย์ ถึงความโสมนัส มีความไม่มีโรคนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงถูกจองจำอยู่ในเรือน
จำ สมัยต่อมา เขาพึงพ้นจากเรือนจำนั้นโดยสวัสดี ไม่มีภัยและไม่ต้องเสีย
ทรัพย์อะไรๆ เลย เขาจะพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อก่อน เราถูกจองจำอยู่
ในเรือนจำ บัดนี้เราพ้นจากเรือนจำนั้นโดยสวัสดีไม่มีภัยแล้ว และไม่ต้องเสีย
ทรัพย์อะไรๆ เลย ดังนี้เขาจะพึงได้ความปราโมทย์ ถึงความโสมนัส มีการ
พ้นจากเรือนจำนั้นเป็นเหตุ ฉันใด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงเป็นทาส พึ่งตัวเองไม่
ได้ ต้องพึ่งผู้อื่น ไปไหนตามความพอใจไม่ได้ สมัยต่อมา เขาพึงพ้นจากความ

211