No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 162 (เล่ม 19)

กรณียกิจของเทวดาทั้งหลายชั้นดาวดึงส์นี้ หมายเอาคำที่กล่าวแล้วนั้น อีก
อย่างหนึ่ง แม้กิจคือการเล่นในอุทยานเห็นปานนี้ก็เป็นกรณียกิจของท้าว
สักกะเหมือนกัน.
บทว่า ยนฺโน ขิปฺปเมว อนฺตรธายติ ความว่า คำใดที่ข้าพเจ้าฟัง
แล้ว คำนั้นหายไปแล้วเร็วพลัน เหมือนรูปไม่ปรากฏในที่มืด คือว่า ท้าว
สักกะจอมเทพนั้น ย่อมแสดงว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าย่อมกำหนดไม่ได้ถึง
การแก้ปัญหานั้น ด้วยบทว่า ยนฺโน ขิปฺปเมว อนุตรธายติ นี้. พระเถระ
พิจารณาอยู่ว่า เพราะเหตุไรหนอ ท้าวสักกะนี้จักแสดงถึงความที่ตนเป็นผู้กำ
หนดไม่ได้ ทราบว่า จะรักษาประโยชน์อันเป็นส่วนข้างตนไว้ ขึ้นชื่อว่า
พวกเทพย่อมเป็นผู้หลงลืม ถูกอารมณ์อันเป็นไปในทวารทั้ง ๖ บีบคั้น
อยู่ ย่อมไม่รู้แม้ความที่ตนเป็นผู้บริโภคแล้วหรือยังไม่บริโภค ย่อมไม่รู้
แม้ความที่ตนเป็นผู้ดื่มแล้วหรือยังไม่ได้ดื่ม จักหลงลืมกิจอันตนกระทำแล้ว
ในที่นี้ ดังนี้.
ก็อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระเถระเป็นผู้ควรเคารพ ควรยกย่อง
ของท้าวสักกะ เพราะฉะนั้น ท้าวเธอจึงตรัสอย่างนั้น ด้วยเกรงกลัวพระเถระ
จะพึงคุกคามเราอย่างนี้ว่า บัดนี้ ท้าวสักกะเรียนปัญหาในสำนักของบุคคลผู้
เลิศในโลกมาแล้ว บัดนี้ก็เข้าไปสู่ระหว่างนางฟ้อนรำทั้งหลาย ดังนี้. ก็ขึ้นชื่อ
ว่า ความพิศวงอย่างนี้ มีอยู่. ชื่อว่า ความพิศวง เห็นปานนี้ของพระอริยสาวก
ย่อมไม่มี. เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ท้าวสักกะจอมเทพนั้น กำหนด
ไม่ได้สลัวด้วยความเป็นผู้หลงลืม. ถามว่า เพราะเหตุไร ในภายหลังจึงกำหนด
ได้เล่า. ตอบว่า เพราะพระเถระได้ยังความโสมนัส และความสังเวชให้เกิดแก่
ท้าวเธอแล้วนำควานมืดออกไป จึงกำหนดได้.
บัดนี้ ท้าวสักกะเพื่อจะบอกเหตุอันน่าพิศวงอย่างหนึ่งของตนในกาล
ก่อนแก่พระเถระ จึงตรัสคำว่า ภูตปุพพํ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บท

162
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 163 (เล่ม 19)

ว่า สมุปพฺยฺฬโห แปลว่า ประชิดกันแล้ว คือเป็นกองทัพ. บทว่า อสุรา
ปรายึสุ ได้แก่ พวกอสูรถึงความปราชัย. ถามว่า ก็พวกอสูรเหล่านั้น ถึง
ความปราชัยในกาลไร. ตอบว่า ในกาลที่ท้าวสักกะทรงอุบัติขึ้น.
ได้ยินว่า ท้าวสักกะได้เป็นมาณพ เป็นบัณฑิต เป็นผู้เฉียบแหลม
ชื่อว่า มาฆะในบ้าน อจลคาม ในมคธรัฐ ในอัตตภาพถัดไป ความประพฤติ
ของเขาได้เหมือนความประพฤติของพระโพธิสัตว์. นายมฆะมาณพ
นั้นพาเอาบุรุษ ๓๓ คนให้สร้างความดี. วันหนึ่งเขาใคร่ครวญด้วยปัญญา
ของตนแล้วขนขยะทั้งสองข้างในที่มหาชนประชุมกัน ในท่ามกลาง
บ้านออกไป ได้กระทำที่นั้นให้เป็นที่รื่นรมย์ ได้สร้างมณฑปในที่นั้นนั่นแหละ
อีก เมื่อกาลผ่านไปก็สร้างศาลาอีก เขาออกจากบ้านเที่ยวไปพร้อมกับ
สหายเหล่านั้น ได้กระทำที่อันไม่เสมอกันให้เสมอกัน มีประมาณคาวุตหนึ่ง
บ้าง ครึ่งโยชน์บ้าง สามคาวุตบ้าง หนึ่งโยชน์บ้าง ชนทั้งหมดแม้เหล่า
นั้น มีฉันทะเป็นอันเดียวกัน เมื่อจะสร้างสะพานในที่ควรสร้างสะพาน
สร้างมณฑปเป็นต้น ในที่ควรแก่มณฑป ศาลา สระโบกขรณีและปลูก
ไม้ดอก ไม้กอเป็นต้น ได้กระทำบุญเป็นอันมาก. นายมฆะมาณพได้บำเพ็ญ
วัตตบท ๗ ประการ ครั้นถึงแก่กรรมย่อมไปบังเกิดในภพดาวดึงส์พร้อมกับ
สหาย. ในกาลนั้น พวกอสูรอาศัยอยู่ในดาวดึงส์เทวโลก. พวกอสูรเหล่านั้น
ทั้งหมดมีอายุและวรรณะเสมอเทพทั้งหลาย พวกเขาเห็นท้าวสักกะพร้อมทั้ง
บริษัทเพิ่งเกิดขึ้น จึงคิดว่า พวกเทวบุตรใหม่มาแล้ว จึงจัดแจงน้ำมหาปานะ
มาต้อนรับ. ท้าวสักกะได้ให้สัญญาคือบอกอุบายแก่เทวบุตรทั้งหลายว่า
พวกเรากระทำกุศล แต่ไม่ได้กระทำกุศลทั่วไปร่วมกับชนเหล่าอื่น พวกท่าน
อย่าดื่มน้ำ คัณฑบาน จงทำเพียงดื่มเท่านั้นดังนี้. พวกเขาได้กระทำเหมือน
อย่างนั้น พวกอสูรโง่พากันดื่มน้ำคัณฑบานเมาแล้วหลับไป. ท้าวสักกะให้
สัญญาแก่พวกเทพแล้วพากันจับเท้าพวกอสูรขว้างไปยังเชิงเขาสิเนรุ. เพราะ

163
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 164 (เล่ม 19)

ว่า พิภพของอสูรมีอยู่ ณ พื้นภายใต้แห่งเขาสิเนรุ มีประมาณเท่าดาวดึงส์
เทวโลกทีเดียว. พวกอสูรอยู่ในที่นั้น มีต้นไม้ของพวกอสูร ชื่อว่า จิตตปาฏลิ
(ต้นไม้ประจำอสูรพิภพ). พวกอสูรเหล่านั้น ย่อมรู้ได้ในเวลาที่ต้นจิตตปาฏลิ
บานว่า ต้นไม้นี้ไม่ใช่ต้นไม้ประจำภพดาวดึงส์ พวกเราถูกท้าวสักกะลวง
แล้ว. พวกเขากล่าว่า พวกท่านจงจับท้าวสักกะนั้น ดังนี้ แล้วคุ้มครองรักษา
เขาสิเนรุอยู่ ครั้นเมื่อฝนตกแล้ว ก็พากันขึ้นไปเหมือนตัวปลวกออก
ไปจากจอมปลวก. ในการรบกันนั้น บางคราวพวกเทพชนะ บางคราวพวก
อสูรชนะ. เมื่อใดพวกเทพชนะ พวกเขาก็จะติดตามพวกอสูรไปจนถึงหลัง
สมุทร. เมื่อใด พวกอสูรชนะ พวกเขาก็จะติดตามพวกเทพไปจนถึงชาน
ชาลา(คือนอกกำแพงเมือง).แต่ว่าในการรบนั้น พวกเทพชนะ .พวกเทพจึง
ตามพวกอสูรไปจนถึงหลังสมุทร. ท้าวสักกะยังพวกอสูรให้หนีไปแล้ว
จึงตั้งอารักขาไว้ในที่ ๕ แห่ง. ได้ให้อารักขาอย่างนี้ ทรงตั้งรูปเหมือนพระอินทร์
มีมือถือวชิระ ณ เชิงชาน. อสูรทั้งหลายยกกันมาทีไร ก็เห็นรูปเปรียบ
พระอินทร์นั้น จึงพากันกลับแต่ที่นั้นนั่นแหละ. ด้วยสำคัญว่า ท้าวสักกะ.
ไม่ประมาทประทับยืนอยู่ดังนี้.
บทว่า ตโต ปฏินิวตฺติตฺวา ได้แก่ กลับจากที่อันท้าวสักกะนั้นชนะ
แล้ว. บทว่า ปริจาริกาโย แปลว่า นางอัปสรทั้งหลาย ได้แก่ นางผู้ทำกิจการ
งานทั้งหลาย มีการทำพวงดอกไม้และของหอมเป็นต้น. บทว่า เวสฺสวโณ
จ มหาราช ความว่า ได้ยินว่า ท้าวเวสสวัณนั้นเป็นที่โปรดปราน เป็นผู้
คุ้นเคยมากของท้าวสักกะ. เพราะฉะนั้น จึงได้ไปกับท้าวสักกะ.
บทว่า ปุรกฺขตฺวา คือ กระทำไว้ข้างหน้า. บทว่า ปวิสึสุ ความ
ว่า ก็เทพธิดาผู้บำเรอท้าวสักกะเหล่านั้น เข้าไปสู่ห้องแล้วปิดประตูไว้ครึ่ง
หนึ่ง ยืนแลดูอยู่. บทว่า อิทมฺปิ มาริส โมคฺคลฺลาน ปสฺส เวชยนฺตปา-
สาทสฺส รามเณยฺยกํ ความว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ขอท่าน

164
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 165 (เล่ม 19)

จงดูสถานที่เป็นที่น่ารื่นรมย์แห่งเวชยันตปราสาทแม้นี้ คือว่า จงดูรูปสัตว์ร้าย
ที่เสาทอง เสาเงิน เสาแก้วมณี เสาแก้วประพาฬ เสาแก้วทับทิม เสาแก้ว
ลาย เสาแก้วมุกดา เสารัตนะ ๗ ประการเป็นแท่งอันสำเร็จด้วยทองเป็น
ต้น ของเสาเหล่านั้นทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อจะแสดง
สถานที่อันเป็นที่น่ารื่นรมย์กระทำถ่องแถวแห่งเสาด้วยอาการอย่างนี้ให้เป็น
ต้น จึงตรัสอย่างนั้น.
บทว่า ยถาตํ ปุพฺเพ กตปุญฺญสฺส อธิบายว่า สถานที่ของบุคคลผู้มี
บุญอันกระทำไว้ในกาลก่อน พึงงามด้วยการตั้งไว้ซึ่งเครื่องอุปโภค ฉัน
ใด ของท้าวสักกะก็ย่อมงามฉันนั้นเหมือนกัน.บทว่า อติพาฬฺหํ โข อยํ
ยกฺโข ปมตฺโต วิหรติ ความว่า ท้าวสักกะนี้ มัวเมายิ่งนักด้วยปราสาท
ด้วยนักฟ้อนเป็นบริวาร ด้วยสมบัติ ด้วยยศของตน. บทว่า อิทฺธาภิสํขารํ
อภิสํขาเรติ คือว่า ได้กระทำอิทธิ. อธิบายว่า พระมหาโมคคัลลานะเถระเข้า
อาโปกสิณแล้วอธิฐานว่า ขอโอกาสอันเป็นที่ตั้งเฉพาะปราสาท จงเป็นน้ำ
แล้วเอาหัวแม่เท้ากดลงที่ช่อฟ้าปราสาท. ปราสาทนั้น สั่นสะท้านหวั่นไหว
ไปมา เหมือนบาตรตั้งไว้บนหลังน้ำ เอานิ้วเคาะที่ขอบบาตรก็หวั่นไหว
ไปมา ตั้งอยู่ไม่ได้ ฉะนั้น. วัตถุทั้งหลาย มีหลังเสาเขื่อน ช่อฟ้า จันทันเป็นต้นส่ง
เสียงดังกระกระ ราวกะเริ่มเพื่อจะตกไป. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
สํกมฺเปสิ สมฺปกมฺเปสิ สมฺปเวเธสิ ดังนี้.
บทว่า อจฺฉริยพฺภูตจิตฺตชาตา ได้แก่ มีความอัศจรรย์ไม่เคยมี เกิดขึ้น
อย่างนี้ว่า โอหนอ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมา และมีความยินดี คือมีโสมนัส
ที่มีกำลังเกิดขึ้นแล้ว. บทว่า สํวิคฺคํ ได้แก่ ตกใจกลัวแล้ว คือหวั่นไหว
แล้ว. บทว่า โลมหฏฐชาตํ ได้แก่ ขนชูชันขึ้น คือ มีสรีระสะพรั่งด้วยขนทั้ง
หลายตั้งขึ้นไปเบื้องบน เหมือนขอแขวนแก้วมณีที่เขาติดตั้งไว้ที่ฝาเรือน

165
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 166 (เล่ม 19)

ทอง. อนึ่ง ชื่อว่า ขนชูชันนี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยโสมนัสบ้าง ด้วยโทมนัสบ้าง.
แต่ในที่นี้ เกิดขึ้นด้วยความโสมนัส. นัยว่า พระเถระได้ทำปาฏิหาริย์นั้น
เพื่อให้ท้าวสักกะเกิดความสังเวชด้วยความโสมนัสและความสลดใจ.เพราะ
ฉะนั้น พึงทราบอรรถว่า พระมหาโมคคัลลานเถระนั้นรู้ว่าท้าวสักกะจอม
เทพนั้น มีความสลดจิตขนลุกแล้ว ด้วยความโสมนัสและความสลดใจ ดัง
นี้.
บทว่า อิธาหํ มาริส ความว่า บัดนี้ พระเถระยังโสมนัสและความ
สลดจิตของท้าวสักกะให้เกิดขึ้น ทำลายความมืดได้แล้ว เพราะฉะนั้น
กำหนดได้แล้ว จึงกล่าวอย่างนี้.
บทว่า เอโส นุ เต มาริส โส ภควา สตฺถา ความว่า เมื่อนาง
เทพอัปสรทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์เสด็จไปไหน ท้าวสักกะ
ตรัสตอบว่า ไปสำนักของพระศาสนาของเรา พระองค์ตรัสอย่างนี้
ราวกะที่นั้นตั้งอยู่พื้นเดียวกันกับเทวโลกนี้. ทูลถามอีกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
นิรทุกข์ พระสมณะนั้นเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ศาสนาของพระองค์หรือ
หนอ. ในบทว่า สพฺรหฺมจารี เม เอโส นี้ ความว่า พระเถระเป็น
บรรพชิต เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอภินิหาร เป็นพระอัครสาวก แต่ท้าวสักกะเป็น
ผู้ครองเรือน แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านทั้งสองก็เป็นพรหมจารีด้วยอำนาจ
แห่งมรรคพรหมจรรย์ เพราะฉะนั้น ท้าวสักกะจึงตรัสอย่างนั้น. บทว่า
อโห นูน เต โส ภควา สตฺถา ความว่า สพรหมจารีของพระองค์มีฤทธิ์มากถึง
อย่างนี้. พวกนางปริจาริกา ได้กล่าวถึงการเกิดขึ้นในการเห็นอิทธิปาฏิหาริย์
ของพระศาสดา จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ก็พระเถระนั้นเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้
ศาสดาของพระองค์ น่าจะมีฤทธิ์มากแน่. บทว่า ญาตญฺญตรสฺส ความ
ว่า ผู้ใดผู้หนึ่งที่ปรากฏ จริงอยู่บรรดาผู้ที่ปรากฏมีชื่อเสียงทั้งหลาย ท้าวสัก-

166
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 167 (เล่ม 19)

กะเป็นผู้หนึ่ง. คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ปรากฏชัดเจนแล้ว พระผู้มีพระภาค
เจ้า ทรงยังเทศนาให้จบลงตามอนุสนธิ ดังนี้แล.
จบอรรถกถาจูฬตัณหาสังขยสูตรที่ ๗

167
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 168 (เล่ม 19)

๘. มหาตัณหาสังขยสูตร
[๔๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวันอาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุชื่อสาติผู้
เกวัฏฏบุตร (บุตรชาวประมง) มีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้
ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่น
แหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น.
ภิกษุมากด้วยกันได้ฟังว่า ภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร มีทิฏฐิอันลามก
เห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไปไม่ใช่อื่น จึงเข้าไปหา
สาติภิกษุแล้วถามว่า ดูก่อนท่านสาติ ได้ยินว่าท่านมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้
เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า
วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ.
เธอตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตาม
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่น
ไป มิใช่อื่น ดังนี้จริง.
ภิกษุเหล่านั้นปรารถนาจะปลดเปลื้องภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตรจากทิฏฐิ
นั้น จึงซักไซ้ ไล่เลียงสอบสวนว่า ดูก่อนท่านสาติ ท่านอย่ากล่าวอย่าง
นี้ ท่านอย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสอย่างนี้เลย ดูก่อนท่านสาติ
วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดย
ปริยาย เป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัยมิได้มี.

168
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 169 (เล่ม 19)

ภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร อันภิกษุเหล่านั้น ซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวน
อยู่อย่างนี้ ก็ยังยึดมั่นถือทิฏฐิอันลามกนั้นรุนแรง และกล่าวอยู่ว่า ดูก่อน
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยวแล่นไปไม่ใช่อื่น ดังนี้.
ว่าด้วยสาติภิกษุมีทิฏฐิลามก
[๔๔๑] เมื่อภิกษุเหล่านั้น ไม่อาจปลดเปลื้องสาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร
จากทิฏฐิลามกนั้นได้ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทแล้วนั่ง
อยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาติภิกษุมีทิฏฐิ
อันลามกเห็นปานนี้ เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค
เจ้าทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ครั้ง
นั้นพวกข้าพระองค์เข้าไปหาสาติภิกษุ แล้วถามว่า ดูก่อนท่านสาติ ได้ยิน
ว่า ท่านมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้
มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยวไป แล่น
ไป มิใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ เมื่อพวกข้าพระองค์ถามอย่างนี้ สาติภิกษุ
ได้บอกพวกข้าพระองค์ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึง
ธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่อง
เที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้จริง ในลำดับนั้น พวกข้าพระองค์ปรารถนาจะ
ปลดเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิอันลามกนั้น จึงซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวน
ว่า ดูก่อนท่านสาติ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ท่านอย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค
เจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า
มิได้ตรัสอย่างนี้เลย ดูก่อนท่านสาติ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิด
ขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ
เว้นจากปัจจัยมิได้มี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาติภิกษุอันพวกข้าพระองค์ซัก

169
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 170 (เล่ม 19)

ไซ้ไล่เลียงสอบสวน อยู่แม้อย่างนี้ ก็ยังยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอันลามกนั้นรุน
แรง และกล่าวอยู่ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรม
ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละย่อมท่อง
เที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้ จริง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพวกข้าพระองค์
ไม่อาจปลดเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิอันลามกนั้น จึงมากราบทูลเรื่องนี้
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
[๔๔๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่ง มาแล้ว
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุเธอจงมา เธอจงเรียกสาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร ตามคำของ
เราว่า ดูก่อนท่านสาติ พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน ภิกษุนั้นทูลรับพระผู้
มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงเข้าไปหาสาติภิกษุ แล้วบอกว่า ดูก่อนท่านสาติ พระ
ศาสดารับสั่งให้หาท่าน.
สาติภิกษุรับคำภิกษุนั้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง
ที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว จึงนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนสาติ ได้ยินว่า เธอมีทิฏฐิอัน
ลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค
เจ้าทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยวแล่นไป ไม่ใช่อื่น ดัง
นี้ จริงหรือ.
สาติภิกษุทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงธรรม
ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่อง
เที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนสาติ วิญญาณนั้นเป็นอย่าง
ไร.

170
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 171 (เล่ม 19)

สาติภิกษุทูลว่า สภาวะที่พูดได้ รับรู้ได้ ย่อมเสวยวิบากของกรรมทั้ง
หลาย ทั้งส่วนดีทั้งส่วนชั่วในที่นั้น ๆ นั่นเป็นวิญญาณ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอรู้ธรรมอย่างนี้ที่เรา
แสดงแก่ใครเล่า ดูก่อนโมฆบุรุษ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิด
ขึ้น เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนกมิใช่หรือ ความเกิดแห่งวิญญาณ
เว้นจากปัจจัย มิได้มี ดูก่อนโมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นดังนั้น เธอกล่าวตู่เราด้วยขุด
ตนเสียด้วย จะประสบบาปมิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว
ดูก่อนโมฆบุรุษ ก็ความเห็นนั้นของเธอจักเป็นไปเพื่อโทษไม่เป็นประ
โยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน.
ตรัสสอบถามเรื่องสาติภิกษุผู้มีความเห็นผิดนั้น
[๔๔๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความนั้นเป็นไฉน สาติภิกษุผู้เกวัฏฏ-
บุตร จะเป็นผู้ทำความเจริญในพระธรรมวินัยนี้บ้างหรือไม่.
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้มีได้อย่างไร ข้อนี้มีไม่ได้เลย
พระพุทธเจ้าข้า.
เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลอย่างนี้แล้ว สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร นั่งนิ่ง
กระดาก คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏ-
บุตร มีความเป็นดังนั้นแล้วจึงตรัสกะเธอว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอจัก
ปรากฏด้วยทิฏฐิอันลามกของตนนั้น เราจักสอบถามภิกษุทั้งหลายในที่นี้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย พวกเธอย่อมรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเหมือนสาติภิกษุ กล่าวตู่เรา

171