No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 283 (เล่ม 18)

อันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอรู้ถึง
ธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ แก่ใครเล่า ธรรมทั้งหลายเรากล่าวว่าเป็นธรรม
กระทำซึ่งอันตรายโดยอเนกปริยายมิใช่หรือ ก็แหละ ธรรมเหล่านั้นสามารถ
ทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง เรากล่าวกามทั้งหลายซึ่งมีความยินดีน้อย
มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง เรากล่าวกาม
ทั้งหลายมีอุปมาด้วยร่างกระดูก...มีอุปมาด้วยชิ้นเนื้อ. . . มีอุปมาด้วยคบหญ้า...
มีอุปมาด้วยหลุมถ่านเพลิง... มีอุปมาด้วยความฝัน... มีอุปมาด้วยของขอยืม...
มีอุปมาด้วยผลไม้... มีอุปมาด้วยเขียงหั่นเนื้อ... มีอุปมาด้วยหอกและหลาว... มี
อุปมาด้วยศีรษะงูพิษ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมิอยู่
อย่างยิ่ง โมฆบุรุษ เธอกล่าวตู่เรา ขุดตนเองและประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก
ด้วยทิฐิอันชั่ว อันตนถือเอาชั่วแล้ว กรรมนั้นแลจักมีแก่เธอเพื่อสิ่งไม่เป็น
ประโยชน์เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้นนั้นเป็นไฉน เออ
ก็อริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งนี้ เเม้จะกระทำญาณให้สูงขึ้นในพระ-
ธรรมวินัยนี้ได้หรือ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความสูง
ขึ้นแห่งญาณอะไรเล่า จะพึงมีได้ ก็ความสูงขึ้นแห่งญาณนั้นจักมีไม่ได้เลย.
เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลอย่างนี้แล้ว อริฏฐภิกษุเป็นผู้นิ่งเก้อเขินนั่งคอตกก้ม
หน้าซบเซา หมดปฏิภาณ.
[๒๗๗] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า อริฏฐภิกษุ
เป็นผู้นิ่งเก้อเขินคอตกก้มหน้าซบเซาหมดปฏิภาณ จงได้ตรัสกะอริฏฐภิกษุว่า
ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอจักปรากฏด้วยทิฏฐิอันชั่วของตนนั้นเองแล เราจักสอบ
ถามภิกษุทั้งหลายในที่นี้ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาว่า ภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลายรู้ถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ โดย

283
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 284 (เล่ม 18)

ประการที่อริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งนี้ กล่าวตู่เรา ขุดตนเองและ
ประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยทิฎฐิอันชั่ว อันตนถือเอาชั่วแล้วดังนี้ หรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้อนั้นไม่เป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า ด้วยว่าธรรม
ทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย โดยอันเนกปริยาย
ว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย ก็แหละ ธรรมเหล่านั้น สามารถทำอันตราย
แก่ผู้ส้องเสพได้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลาย มีความยินดีน้อย
มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลาย มีอุปมาด้วยร่างกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับ
แค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกาม
ทั้งหลายมีอุปมาด้วยศีรษะงูพิษ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกาม
เหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายรู้ถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่เรากล่าว
แล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตรายแก่ท่านทั้งหลายโดยอเนกปริยาย ก็แหละ
ธรรมเหล่านั้นสามารถทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง เรากล่าวกามทั้งหลายมี
ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่
โดยยิ่ง เรากล่าวกามทั้งหลายมีอุปมาด้วยร่างกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับ
แค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง ฯลฯ เรากล่าวกามทั้งหลายมีอุปมา
ด้วยศีรษะงูพิษ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่
อย่างยิ่ง เออก็แล อริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งนี้ กล่าวตู่เรา
ขุดตนเอง และประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยทิฏฐิอันชั่ว อันตนถือ
เอาชั่วแล้ว กรรมนั้นแลจักมีแก่เธอผู้เป็นโมฆบุรุษ เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์
เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน ภิกษุทั้งหลาย เธอจักเสพกามทั้งหลาย นอกจากกาม
นอกจากกามสัญญา นอกจากกามวิตก ข้อนั้นไม่เป็นฐานะจะมีได้.

284
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 285 (เล่ม 18)

[๒๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษ บางพวกในพระธรรม
วินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน
อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ โมฆบุรุษเหล่านั้น เล่าเรียนธรรม
นั้นแล้ว ย่อมไม่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา ธรรมเหล่า
นั้น ย่อมไม่ควรซึ่งการเพ่งแห่งโมฆบุรุษเหล่านั้น ผู้ไม่ไตร่ตรองเนื้อความ
ด้วยปัญญา โมฆบุรุษเหล่านั้น ข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์ หมายเปลื้องคำกล่าว
ร้ายของผู้อื่นเป็นอานิสงส์ จึงเล่าเรียนธรรม ก็กุลบุตรทั้งหลาย ย่อมเล่าเรียน
ธรรมเพื่อประโยชน์อันใด โมฆบุรุษเหล่านั้น ย่อมไม่ได้เสวยประโยชน์นั้น
แห่งธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้น อันโมฆบุรุษเหล่านั้นเรียนไม่ดีแล้ว ย่อมเป็น
ไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน ข้อนั้นเป็นเพราะอะไร
เพราะธรรมทั้งหลายอันตนเรียนไม่ดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษ
ผู้มีความต้องการด้วยงูพิษ เสาะหางูพิษ เที่ยวแสวงหางูพิษ เขาพึงพบงูพิษ
ตัวใหญ่ พึงจับงูพิษนั้นที่ขนดหรือที่หาง งูพิษนั้นพึงแว้งกัดเขาที่มือ ที่แขน
หรือที่อวัยวะใหญ่น้อยแห่งใดแห่งหนึ่ง เขาพึงถึงความตายหรือความทุกข์ปาง
ตาย มีการกัดนั้นเป็นเหตุ ข้อนั้นเป็นเหตุเพราะอะไร เพราะงูพิษตนจับไม่ดีแล้ว
แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย พวกโมฆบุรุษ บางพวกในพระธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้น
นั่นแล ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ...อัพภูตธรรม อวทัลละ โมฆ
บุรุษเหล่านั้น เล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรม
เหล่านั้น ด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้นย่อมไม่ควรซึ่งการเพ่งแห่งโมฆะบุรุษเหล่า
นั้น ผู้ไม่ไตร่ตรองเนื้อความด้วยปัญญา โมฆบุรุษเหล่านั้น หมายข่มผู้อื่น
เป็นอานิสงส์ หมายเปลื้องคำกล่าวร้ายผู้อื่นเป็นอานิสงส์ จึงเล่าเรียนธรรม
ก็กุลบุตรทั้งหลาย ย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์อันใด โมฆบุรุษเหล่านั้น
ย่อมไม่ได้เสวยประโยชน์นั้นแห่งธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้น อันโมฆบุรุษเหล่า

285
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 286 (เล่ม 18)

นั้นเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะธรรมทั้งหลายอันตนเรียนไม่ดีแล้ว.
[๒๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางพวกในพระธรรมวินัยนี้
ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ. . . อัพภูตธรรม เวทัลละ กุลบุตร
เหล่านั้น เล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้น
ด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้น ย่อมควรซึ่งการเพ่งแห่งกุลบุตรเหล่านั้น ผู้ไตร่-
ตรองซึ่งเนื้อความด้วยปัญญา กุลบุตรเหล่านั้นไม่มุ่งข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์
และไม่มุ่งเปลื้องคำกล่าวร้ายผู้อื่นเป็นอานิสงส์ ย่อมเล่าเรียนธรรม และกุลบุตร
เหล่านั้น ย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์ใด ย่อมได้เสวยประโยชน์นั้นแห่ง
ธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้นอันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ข้อนี้เป็นเพราะเหตุอะไร เพราะธรรม
ทั้งหลายอันตนเรียนดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการ
งูพิษ เสาะหางูพิษ เที่ยวแสวงหางูพิษ เขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่ พึงกดงูพิษนั้น
ไว้มั่นด้วยไม้มีสัณฐานเหมือนเท้าแพะ ครั้นกดไว้มั่นด้วยไม้มีสัญฐานเหมือน
เท้าแพะแล้วจับที่คอไว้มั่น ถึงแม้งูพิษนั้นพึงรัดมือ แขน หรืออวัยวะใหญ่
น้อยแห่งใดแห่งหนึ่ง ของบุรุษนั้นด้วยขนดก็จริง ถึงอย่างนั้น เขาไม่พึงถึง
ความตายหรือความทุกข์ปางตาย ซึ่งมีการพันนั้นเป็นเหตุ ข้อนั้นเป็นเพราะ
เหตุอะไร เพราะงูพิษอันตนจับไว้มั่นแล้ว แม้ฉันใด กุลบุตรบางพวกใน
ธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นนั่นแล ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยา-
กรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ กุลบุตร
เหล่านั้นเล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้นด้วย
ปัญญา ธรรมเหล่านั้น ย่อมควรซึ่งการเพ่งแห่งกุลบุตรเหล่านั้น ผู้ไตร่ตรอง
ซึ่งเนื้อความด้วยปัญญา กุลบุตรเหล่านั้น ไม่มุ่งข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์ และ

286
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 287 (เล่ม 18)

ไม่มุ่งเปลื้องคำกล่าวร้ายของผู้อื่นเป็นอานิสงส์ จึงเล่าเรียนธรรม และกุลบุตร
เหล่านั้นย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์ใด ย่อมได้เสวยประโยชน์นั้นแห่ง
ธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้น อันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะธรรม
ทั้งหลายอันตนเรียนดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงรู้ถึง
เนื้อความแห่งภาษิตของเราอย่างใด พึงทรงจำไว้อย่างนั้นเถิด ก็แล ท่าน
ทั้งหลาย ไม่พึงรู้ถึงเนื้อความแห่งภาษิตของเรา พึงสอบถามเราหรือถามภิกษุ
ผู้ฉลาดก็ได้ เราจักแสดงธรรมมีอุปมาด้วยทุ่นแก่ท่านทั้งหลาย เพื่อต้องการ
สลัดออก ไม่ใช่เพื่อต้องการจะยึดถือ ท่านทั้งหลายจงพึงธรรมนั้น จงใส่ใจ
ไว้ให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
[๒๘๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน
บุรุษผู้เดินทางไกล พบท้วงน้ำใหญ่ฝั่งข้างนี้ น่ารังเกียจ มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า
ฝั่งข้างโน้นเกษม ไม่มีภัย ก็แหละ เรือหรือสะพานสำหรับข้ามเพื่อจะไปสู่
ฝั่งโน้นไม่พึงมี บุรุษนั้นพึงดำริอย่างนี้ว่า ห้วงน้ำนี้ใหญ่แล ฝั่งข้างนี้น่า
รังเกียจ มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า ฝั่งข้างโน้นเกษม ไม่มีภัย ก็แหละเรือหรือ
สะพานสำหรับข้ามเพื่อจะไปสู่ฝั่งโน้นย่อมไม่มี ถ้ากระไร เราพึงรวบรวมหญ้า
ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้มาผูกเป็นทุ่น แล้วอาศัยทุ่นนั้น พยายามด้วยมือและเท้า
พึงข้ามถึงฝั่งได้โดยความสวัสดี ทีนั้นแล บุรุษนั้นรวบรวมหญ้า ไม้ กิ่งไม้
และใบไม้มาผูกเป็นทุ่น อาศัยทุ่นนั้น พยายามด้วยมือและเท้า พึงข้ามถึงฝั่ง
โดยความสวัสดี บุรุษนั้นข้ามไปสู่ฝั่งได้แล้ว พึงดำริอย่างนี้ว่า ทุ่นนี้มีอุปการะ
แก่เรามากแล เราอาศัยทุ่นนี้ พยายามอยู่ด้วยมือและเท้า ข้ามถึงฝั่งได้โดยความ
สวัสดี ถ้ากระไร เรายกทุ่นนี้ขึ้นบนศีรษะ หรือแบกที่บ่า แล้วพึงหลีกไป
ตามความปรารถนา ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

287
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 288 (เล่ม 18)

บุรุษนั้นผู้กระทำอย่างนี้ จะชื่อว่าถูกหน้าที่ในทุ่นนั้นบ้างหรือหนอ. ภิกษุทั้ง
หลายกราบทูลว่า ข้อนั้นชื่อว่าทำไม่ถูก พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษนั้นกระทำอย่างไรจึงจะชื่อว่าทำถูกหน้าที่ในทุ่นนั้น. ใน
ข้อนี้ บุรุษนั้นข้ามไปสู่ฝั่งแล้ว พึงดำริอย่างนี้ว่า ทุ่นนี้มีอุปการะแก่เรามากแล
เราอาศัยทุ่นนี้ พยายามอยู่ด้วยมือและเท้า จึงข้ามถึงฝั่งได้โดยความสวัสดี ถ้า
กระไร เราพึงยกทุ่นนี้ขึ้นวางไว้บนบก หรือให้ลอยอยู่ในน้ำแล้วพึงหลีกไป
ตามความปรารถนา ภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นกระทำอย่างนี้แล จึงจะชื่อว่ากระ
ทำถูกหน้าที่ในทุ่นนั้น แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เราแสดงธรรมมีอุปมาด้วยทุ่น
เพื่อต้องการสลัดออก ไม่ใช่เพื่อต้องการยึดถือฉันนั้นแล เธอทั้งหลายรู้ถึง
ธรรมมีอุปมาด้วยทุ่นที่เราแสดงแล้วแก่ท่านทั้งหลาย พึงละแม้ซึ่งธรรมทั้งหลาย
จะป่วยการกล่าวไปไยถึงอธรรมเล่า.
[๒๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งทิฐิ ๖ ประการเหล่านั้น ๖ ประ-
การเป็นไฉน ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาด
ในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่เห็นสัตบุรุษ
ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำแล้วในธรรมของสัตบุรุษ ย่อม
พิจารณาเห็นรูปว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา ย่อมพิจารณา
เห็นเวทนาว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็น
สัญญาว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นสังขาร
ทั้งหลายว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็น
รูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ฟังแล้ว กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบแล้ว อารมณ์ที่
รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วยใจว่า นั่นของเรา เราเป็น
นั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นเหตุแห่งทิฐิว่า นั้นโลก นั้นอัตตา
ในปรโลก เรานั้นจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
จักตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น

288
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 289 (เล่ม 18)

อัตตาของเรา ภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยาสาวกผู้สดับแล้ว ผู้เห็นพระอริยะทั้งหลาย
ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้รับแนะนำดีแล้วในธรรมของพระอริยะ เห็น
สัตบุรุษฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับแนะนำดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ
ย่อมพิจารณาเห็นรูปว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของ
เรา ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นสัญญาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นสังขารทั้งหลายว่า นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นรูปที่เห็นแล้ว เสียง
ที่ฟังแล้ว กลิ่น รส โผฐัพพะที่ทราบแล้ว อารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว
แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วยใจว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่น
ไม่ใช่อัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นเหตุแห่งทิฐิว่า นั่นโลก นั่นตน ใน
ปรโลก เรานั้นจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
จักตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้นว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่น
ไม่ใช่อัตตาของเรา พระอริยสาวกนั้นพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่สะดุ้ง ใน
เพราะสิ่งที่ไม่มีอยู่.
[๒๘๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อความพินาศแห่งบริขาร
ในภายนอก ไม่มี ความสะดุ้งพึงมีได้หรือหนอแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
พึงมีได้สิ ภิกษุ บางคนในโลกนี้มีความเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งนั้นได้มีแล้วแก่เราหนอ
สิ่งนั้นย่อมไม่มีแก่เราหนอ สิ่งนั้นพึงมีแก่เราหนอ เราไม่ได้สิ่งนั้นหนอ บุคคล
นั้นย่อมเศร้าโศก ลำบาก รำไร คร่ำครวญ ตีอก ถึงความลุ่มหลง ภิกษุ
เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายนอกไม่มี ความสะดุ้งย่อมมีได้ด้วยอาการอย่าง
นี้แล ภิกษุนั้นทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อความพินาศแห่งบริขาร

289
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 290 (เล่ม 18)

ในภายนอกไม่มี ความไม่สะดุ้งพึงมีหรือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พึงมีสิภิกษุ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่มีความเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งนั้นได้มีแล้วแก่เราหนอ
สิ่งนั้นย่อมไม่มีแก่เราหนอ สิ่งนั้นพึงมีแก่เราหนอ เราจะไม่ได้สิ่งนั้นหนอ
บุคคลนั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่คร่ำครวญ ตีอก ไม่ถึง
ความลุ่มหลง ดูก่อนภิกษุ เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายนอกไม่มี ความ
ไม่สะดุ้งย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุนั้นทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายในไม่มี ความสะดุ้งพึงมีหรือ. พระภาคเจ้าตรัส
ว่าพึงมีสิภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า นั้นโลก นั้นอัตตา
ในปรโลก เรานั้นจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
จักตั้งอยู่ เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้น บุคคลนั้นย่อมฟังต่อตถาคต หรือ
สาวกของตถาคตผู้แสดงธรรมอยู่ เพื่อถอนขึ้นซึ่งทิฐิ เหตุแห่งทิฐิ ความตั้ง
มั่นแห่งทิฐิ ความกลุ้มรุมด้วยทิฐิ และเชื้อแห่งความยึดมั่นทั้งหมด เพื่อระงับ
สังขารทั้งหมด เพื่อสละคืนอุปธิทั้งหมด เพื่อความสิ้นแห่งตัณหา เพื่อความ
สำรอก เพื่อความดับ เพื่อนิพพาน บุคคลนั้นมีความเห็นอย่างนี้ว่า เราจักขาด
สูญแน่แท้ จักฉิบหายแน่แท้ จักไม่มีแน่แท้ บุคคลนั้นย่อมเศร้าโศก ลำบาก
ร่ำไร คร่ำครวญ ตีอก ถึงความลุ่มหลง ภิกษุ เมื่อความพินาศแห่งบริขารใน
ภายในไม่มี ความสะดุ้งย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุนั้นทูลถามว่า ข้า
แต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายในไม่มี ความไม่สะดุ้ง
พึงมีได้หรือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พึงมีสิภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้
ไม่มีความเห็นอย่างนี้ว่า นั้นโลก นั้นอัตตา ในปรโลก เรานั้นจักเป็นผู้เที่ยง
ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยง
อย่างนั้น บุคคลนั้นย่อมฟังต่อตถาคต หรือต่อสาวกต่อตถาคตผู้แสดงธรรมอยู่
เพื่อถอนขึ้นซึ่งทิฐิ เหตุแห่งทิฐิ ความตั้งมั่นแห่งทิฐิ ความกลุ้นรุมด้วยทิฐิ และ

290
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 291 (เล่ม 18)

เชื้อแห่งความยึดมั่นทั้งหมด เพื่อระงับสังขารทั้งหมด เพื่อสละคืนอุปธิทั้งหมด
เพื่อความสิ้นแห่งตัณหา เพื่อความสำรอก เพื่อความดับ เพื่อนิพพาน บุคคลนั้น
ไม่มีความเห็นอย่างนี้ว่า เราจักขาดสูญแน่แท้ จักฉิบหายแน่แท้ จักไม่มีแน่
แท้ บุคคลนั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่คร่ำครวญตีอก ไม่
ถึงความลุ่มหลง เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายในไม่มี ความไม่สะดุ้งย่อม
มิได้ด้วยอาการอย่างนี้แล.
[๒๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงกำหนดถือเอาบริขาร
ที่หวงแหน ซึ่งเป็นของเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้น เธอทั้งหลายเห็นบริขารที่หวงแหน ซึ่งเป็น
ของเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ตั้งอยู่เสมอด้วยความ
เที่ยงอย่างนั้นหรือไม่. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เราก็ไม่พิจารณาเห็นบริขาร
ที่หวงแหน ซึ่งเป็นของเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้น. เธอทั้งหลายพึงเข้าไปยึดถืออัตตาทุปาทาน
ซึ่งเมื่อเธอยึดถืออยู่ จะพึง โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส เธอ
ทั้งหลายเห็นอัตตวาทุปาทาน ซึ่งเมื่อเธอยึดถืออยู่จะพึงไม่บังเกิด โสกะปริเทวะ
ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส หรือไม่.
ไม่เป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า.
ดีละ. ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่พิจารณาเห็นอัตตาทุปาทาน ซึ่งเมื่อ
บุคคลยึดถืออยู่จะไม่พึงบังเกิดโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทนนัส และอุปายาส
เธอทั้งหลายพึงอาศัยทิฐินิลัย ซึ่งเมื่อเธออาศัยยึดถืออยู่จะพึงไม่บังเกิดความโสกะ
ปริเทวะ ทุกขะ โทนนัส และอุปายาส เธอทั้งหลายเห็นทิฐินิสัย ซึ่งเมื่อเธอ

291
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 292 (เล่ม 18)

อาศัยยึดถือจะพึงไม่บังเกิดโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส หรือ
ไม่.
ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่พิจารณาเห็นทิฐินิสัย ซึ่งเมื่อบุคคล
อาศัยยึดถืออยู่จะพึงไม่บังเกิดโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส.
[๒๘๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อ
อัตตามีอยู่ บริขารที่เนื่องด้วยอัตตามีก็พึงมีว่าของเราหรือ.
ทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ตรัสว่า อนึ่ง เมื่อบริขารเนื่องด้วยอัตตามีอยู่ อัตตาพึงมีว่าของเรา
หรือ.
ทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ตรัสว่า เมื่ออัตตาและบริขารเนื่องด้วยอัตตาบุคคลถือเอาไม่ได้ โดย
ความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ คือเหตุแห่งทิฏฐิว่า นั้นโลก นั้น
อัตตา แม้ตายไปแล้ว เรานั้นจักเป็นผู้เที่ยงยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวน
เป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้น. นี้เป็นธรรมของคนเปล่า
บริบูรณ์สิ้นเชิงมิใช่หรือ.
ทูลว่า ข้อนี้ ไฉนจะไม่พึงเป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า เป็นธรรมของ
คนเปล่าบริบูรณ์สิ้นเชิงทีเดียว.
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็น
ไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

292