No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 253 (เล่ม 18)

บทว่า ยํ วิตกฺกํ อากงฺขิสฺสติ แปลว่า เธอจักจำนงวิตกใดนี้ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อแสดงถึงลักษณะของความเป็นผู้ชำนาญ. เพราะว่า
บุคคลนี้ ครั้งก่อน อยากจะตรึกวิตกใด ย่อมตรึกวิตกนั้นไม่ได้ ไม่ประสงค์
จะตรึกวิตกใด ย่อมตรึกวิตกนั้นได้ แต่บัดนี้ เพราะความเป็นผู้ชำนาญแล้ว
เธอเป็นผู้ใคร่เพื่อจะตรึกถึงวิตกใด ย่อมตรึกถึงวิตกนั้นได้ ไม่ต้องการตรึก
วิตกใด ก็ไม่ต้องตรึกวิตกนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เธอจักจำนงวิตกใดก็จักตรึกวิตกนั้นได้ จักไม่จำนงวิตกโคก็จักไม่ตรึกวิตกนั้น
ได้ ดังนี้.
บทว่า อจฺเฉชฺชิ ตณฺหํ แปลว่า ตัดตัณหาได้แล้วเป็นต้นนี้ ได้
กล่าวไว้ในสัพพาสวสูตรแล้ว แล.
จบอรรถกถาวิตักกสัณฐานสูตรที่ ๑๐
จบอรรถกถาวรรคที่ ๒
รวมพระสูตรในเล่มนี้
๑. จูฬสีหนาทสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
๒. มหาสีหนาทสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
๓. มหาทุกขักขันธสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
๔. จูฬทุกขักขันธสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
๕. อนุมานสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
๖. เจโตขีลสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
๗. วนปัตถสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
๘. มธุปิณฑิกสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
๙. เทวธาวิตักกสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา
๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

253
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 254 (เล่ม 18)

โอปัมมวรรค
๑. กกจูปมสูตร
[๒๖๓] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี สมัยนั้นท่านพระโมลิยผัคคุนะ
อยู่คลุกคลีกับภิกษุณีทั้งหลายเกินขอบเขต ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับ
ภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้ ถ้าภิกษุรูปไรติเตียนภิกษุณีเหล่านั้นต่อหน้าท่านพระ-
โมลิยผัคคุนะ ท่านก็โกรธขัดใจ ถึงกระทำให้เป็นอธิกรณ์ก็มี. อนึ่ง ถ้าภิกษุ
รูปไรติเตียนท่านพระโมลิยผัคคุนะต่อหน้าภิกษุณีเหล่านั้น พวกภิกษุณีก็พากัน
โกรธขัดใจ ถึงกระทำให้เป็นอธิกรณ์ก็มี ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับ
ภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้ ครั้งนั้นภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับพวกภิกษุณีเกิน
ขอบเขต ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับพวกภิกษุณีเช่นนี้ ถ้าภิกษุรูปไร
ติเตียนภิกษุณีเหล่านั้นต่อหน้าท่านพระโมลิยผัคคุนะ ท่านก็โกรธ ขัดใจ ถึง
กระทำให้เป็นอธิกรณ์ก็มี อนึ่ง ถ้าภิกษุรูปไรติเตียนท่านพระโมลิยผัคคุนะต่อ
หน้าภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีเหล่านั้นก็โกรธ ขัดใจ ถึงกระทำให้เป็นอธิกรณ์
ก็มี ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับพวกภิกษุณีเช่นนี้.
[๒๖๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่ง มา
ตรัสสั่งว่า มานี่ภิกษุ เธอจงบอกโมลิยผัคคุนะภิกษุ ตามคำของเราว่า พระ

254
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 255 (เล่ม 18)

ศาสดารับสั่งให้หาท่าน. ภิกษุรูปนั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้ว เข้าไปหาท่านพระโมลิยผัคคุนะถึงที่อยู่ แล้วกล่าวว่า ท่านโมลิยผัคคุนะ
พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน. ท่านพระโมลิยผัคคุนะ รับคำภิกษุรูปนั้นแล้วก็
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านพระโมลิยผัคคุนะว่า ดูก่อนผัคคุนะ ได้
ทราบว่าเธออยู่คลุกคลีกับพวกภิกษุณีจนเกินขอบเขต ดูก่อนผัคคุนะ. เธออยู่
คลุกคลีกับพวกภิกษุณีเช่นนั้น ถ้าภิกษุรูปไรติเตียนภิกษุณีเหล่านั้นต่อหน้าเธอ
เธอก็โกรธ ขัดใจ ถึงกระทำให้เป็นอธิการณ์ก็มี อนึ่ง ถ้าภิกษุรูปไรติเตียน
เธอต่อหน้าภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีเหล่านั้นก็โกรธ ขัดใจ ถึงกระทำให้เป็น
อธิกรณ์ก็มี ผัคคุนะ เธออยู่คลุกคลีกับภิกษุณีทั้งหลายเช่นนี้จริงหรือ พระ-
โมลิยผัคคุนะทูลรับว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสถามต่อไปว่า ผัคคุนะ เธอเป็น
กุลบุตรออกจากเรือนไม่มีเรือนบวชด้วยศรัทธามิใช่หรือ
โม. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ผัคคุนะ การที่เธออยู่คลุกคลีกับพวกภิกษุณีจนเกินขอบเขต ไม่
สมควรแก่เธอผู้เป็นกุลบุตรออกจากเรือนไม่มีเรือนบวชด้วยศรัทธาเลย ผัคคุนะ
เพราะฉะนั้น ถ้าแม้ภิกษุรูปไรติเตียนภิกษุณีเหล่านั้นต่อหน้าเธอ แม้ในข้อนั้น
เธอพึงละความพอใจ และวิตกอันอาศัยเรือนเสีย แม้ในข้อนั้น เธอพึงศึกษา
อย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน และเราจักไม่เปล่งวาจาที่ชั่ว จัก
อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์อยู่ แลจักเป็นผู้มีเมตตาจิต ไม่มีโทสะภายใน เธอ
พึงศึกษาอย่างนี้แล ผัคคุนะ เพราะฉะนั้น ถ้าใคร ๆ ประหารภิกษุณีเหล่านั้น
ด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนดิน ด้วยท่อนไม้ ด้วยศาสตราต่อหน้าเธอ แม้ในข้อนั้น
เธอพึงละความพอใจและวิตกอันอาศัยเรือนเสีย แม้ในข้อนั้น เธอพึงศึกษา
อย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน และเราจักไม่เปล่งวาจาที่ชั่วจักอนุ-

255
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 256 (เล่ม 18)

เคราะห์ด้วยประโยชน์อยู่ แลจักเป็นผู้มีเมตตาจิตไม่มีโทสะภายใน เธอพึง
ศึกษาอย่างนี้แล ผัคคุนะ เพราะฉะนั้น ถ้าใคร ๆ ติเตียนตัวเธอเอง ต่อหน้า
เธอ แม้ในข้อนั้น เธอพึงละความพอใจ และวิตกอันอาศัยเรือนเสีย ผัคคุนะ
แม้ในข้อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน และเราจัก
ไม่เปล่งวาจาที่ชั่ว จักอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์อยู่ แลจักเป็นผู้มีเมตตาจิต
ไม่มีโทสะภายใน เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ผัคคุนะ เพราะฉะนั้น ถ้าใคร ๆ
ประหารเธอด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนดิน ด้วยท่อนไม้ ด้วยศาสตรา ผัคคุนะ แม้
ในข้อนั้น เธอพึงละความพอใจ และวิตกอันอาศัยเรือนเสีย แม้ในข้อนั้น
เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน และเราจักไม่เปล่งวาจาที่ชั่ว
จักอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์ แลจักเป็นผู้มีเมตตาจิต ไม่มีโทสะภายใน ผัคคุนะ
เธอพึงศึกษาอย่างนี้ดังนี้แล.
[๒๖๕] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง พวกภิกษุได้ทำจิตของเราให้ยินดีเป็นอันมาก
เราขอเตือนภิกษุทั้งหลายไว้ในที่นี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เราฉันอาหารหนเดียว
เมื่อเราฉันอาหารหนเดียวอยู่แล รู้สึกว่ามีอาพาธน้อย ลำบากกายน้อย เบากาย
มีกำลัง และอยู่อย่างผาสุก ภิกษุทั้งหลาย ถึงพวกเธอก็จงฉันอาหารหนเดียว
เถิด แม้พวกเธอฉันอาหารหนเดียว ก็จะรู้สึกว่ามีอาพาธน้อย ลำบากกายน้อย
เบากาย มีกำลัง และอยู่อย่างผาสุก ภิกษุทั้งหลาย เราไม่ต้องพร่ำสอนภิกษุ
เหล่านั้น มีกิจแต่จะทำสติให้เกิดในภิกษุเหล่านั้นเท่านั้น ภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนรถที่เทียมด้วยม้าอาชาไนย ม้าที่ได้รับการฝึกมาดีแล้ว ก็เดิน
ไปตามพื้นที่เรียบ หรือเดินไปตามหนทางใหญ่ ๔ แพร่ง ไม่ต้องใช้แส้เพียง
แต่นายสารถีผู้ฝึกหัดที่ฉลาดขึ้นรถ แล้วจับสายบังเหียนด้วยมือซ้าย จับแส้ด้วย

256
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 257 (เล่ม 18)

มือขวาแล้วก็เตือนให้ม้าวิ่งตรงไปบ้าง ทั้งเลี้ยวกลับไปตามความปรารถนาบ้าง
ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เราไม่ต้องพร่ำสอนภิกษุทั้งหลายเนือง ๆ ฉันนั้นเหมือนกัน
มีแต่กิจที่จะการทำสติให้เกิดในภิกษุเหล่านั้นเท่านั้น ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น
แม้พวกเธอก็จงละอกุศลธรรมเสีย จงทำความพากเพียรแต่ในกุศลธรรมทั้งหลาย
เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้พวกเธอก็จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนป่าไม้สาละป่าใหญ่ ใกล้บ้านหรือนิคม และป่านั้น
ปกคลุมไปด้วยเหล่าต้นละหุ่ง ชายไร ๆ พึงหวังดีหวังประโยชน์และหวังความ
ปลอดภัยของต้นสาละนั้น เขาจึงตัดต้นรังเล็ก ๆ ที่คดที่ต้นละหุ่ง คอยแย่ง
โอชาออกนำไปทิ้งเสียภายนอก แผ้วถางภายในป่าให้สะอาดเรียบร้อยแล้ว คอย
บำรุงรักษาต้นรังเล็ก ๆ ที่ต้นตรงขึ้นแรงดีไว้ได้โดยชอบ ภิกษุทั้งหลาย ด้วย
การกระทำดังที่กล่าวมานี้ สมัยต่อมา ป่าไม้รังนั้นก็เจริญงอกงามไพบูลย์ขึ้น
โดยลำดับ ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย แม้พวกเธอก็จงละอกุศลธรรมเสีย จงทำ
ความพากเพียรอยู่แต่ในกุศลธรรมทั้งหลาย ฉันนั้นเถิด เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้
พวกเธอ ก็จักเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้ถ่ายเดียว.
[๒๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ที่กรุงสาวัตถีนี้แหละ
มีแม่บ้านคนหนึ่งชื่อว่าเวเทหิกา เกียรติศัพท์อันงามของแม่บ้านเวเทหิกาขจร
ไปแล้วอย่างนี้ว่า แม่บ้านเวเทหิกา เป็นคนเสงี่ยม เจียมตน เยือกเย็น
ภิกษุทั้งหลาย ก็แม่บ้านเวเทหิกา มีทาสีชื่อกาลี เป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้าน
จัดการงานดี ต่อมานางกาลีได้คิดอย่างนี้ว่า เกียรติศัพท์อันงามของนายหญิง
ของเราขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม่บ้านเวเทหิกา เป็นคนเสงี่ยม เจียมตน
เยือกเย็น ดังนี้ นายหญิงของเราไม่ทำความโกรธที่มีอยู่ภายในให้ปรากฏ หรือ
ไม่มีความโกรธอยู่เลย หรือว่านายหญิงของเราไม่ทำความโกรธที่มีอยู่ในภายใน
ให้ปรากฏ ก็เพราะเราจัดการงานทั้งหลายเรียบร้อยดี ไม่ใช่ไม่มีความโกรธ

257
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 258 (เล่ม 18)

อย่ากระนั้นเลย จำเราจะต้องทดลองนายหญิงดู วันรุ่งขึ้นนางกาลีทาสี ก็แสร้ง
ลุกขึ้นสาย ภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายแม่บ้านเวเทหิกา ก็ได้ตวาดนางกาลีทาสีขึ้นว่า
เฮ้ย อีคนใช้กาลี นางกาลีจึงขานรับว่า อะไรเจ้าข้า.
เว. เฮ้ย ทำไมเองจึงลุกจนสาย.
กา. ไม่เป็นอะไรดอก เจ้าค่ะแม่นาย
นางจึงกล่าวอีกว่า อีคนชั่วร้าย ก็เมื่อไม่เป็นอะไร ทำไมเองจึงลุกขึ้น
จนสาย ดังนี้แล้ว โกรธ ขัดใจ ก็หน้านิ่วคิ้วขมวด.
ภิกษุทั้งหลาย ที่นั้นนางกาลีทาสีจึงคิดว่า นายหญิงของเราไม่ทำ
ความโกรธที่มีอยู่ในภายในให้ปรากฏเท่านั้น ไม่ใช่ไม่มีความโกรธ ที่ไม่ทำ
ความโกรธที่มีอยู่ในภายในให้ปรากฏ ก็เพราะเราจัดการงานทั้งหลายเรียบร้อยดี
ไม่ใช่ไม่มีความโกรธ อย่ากระนั้นเลย เราจะต้องทดลองนายหญิงให้ยิ่งขึ้นไป
ภิกษุทั้งหลาย ถัดจากวันนั้นมา นางกาลีทาสี จึงลุกขึ้นสายกว่านั้นอีก ครั้งนั้น
แม่บ้านเวเทหิกา ก็ตวาดนางกาลีทาสีอีกว่า เฮ้ย อีกาลี.
กา. อะไร เจ้าขาแม่นาย.
เว. เช้ ทำไมเองจึงนอนตื่นสาย.
กา. ไม่เป็นอะไรดอก เจ้าค่ะ.
นางจึงกล่าวอีกว่า เฮ้ย อีตัวร้าย ก็เมื่อไม่เป็นอะไร ทำไมเองจึง
นอนตื่นสายเล่า ดังนี้แล้ว โกรธ ขัดใจ ก็แผดเสียงวาจาที่ขัดใจ ภิกษุทั้งหลาย
ทีนั้น นางกาลีทาสีจึงคิดว่า นายหญิงของเรา ไม่ทำความโกรธที่มีอยู่ในภายใน
ให้ปรากฏเท่านั้น ไม่ใช่ไม่มีความโกรธ ที่ไม่ทำความโกรธที่มีอยู่ในภายใน
ให้ปรากฏ ก็เพราะเราจัดการงานทั้งหลายให้เรียบร้อยดี ไม่ใช่ไม่มีความโกรธ
อย่ากระนั้นเลย เราจะต้องทดลองให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก ดังนี้ แต่นั้นมา
นางกาลีทาสีก็ลุกขึ้นสายกว่าทุกวัน ครั้งนั้น แม่บ้านเวเทหิกาผู้นาย ก็ร้อง

258
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 259 (เล่ม 18)

ด่ากราด โกรธจัด จึงคว้าลิ่มประตูปาศีรษะ ด้วยหมายจะทำศีรษะทาสีให้แตก
ภิกษุทั้งหลาย คราวนั้น นางกาลีทาสีศรีษะแตก โลหิตไหลโซม จึงเที่ยว
โพนทะนา แก่คนบ้านใกล้เคียงว่า แม่พ่อทั้งหลาย เชิญดูการกระทำของ
คนเสงี่ยม เจียมตัว เยือกเย็นเอาเถิด ทำไมจึงทำแก่ทาสีคนเดียวอย่างนี้เล่า
เพราะโกรธว่านอนตื่นสหาย จึงคว้าลิ่มประตูปาเอาศรีษะ ด้วยหมายจะทำลาย
หัวข้า ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย แต่นั้นมา เกียรติศัพท์อันชั่วของแม่บ้านเวเทหิกา
ก็ขจรไปอย่างนี้ว่า แม่เรือนเวเทหิกา เป็นคนดูร้าย ไม่เจียมตัว ไม่เยือกเย็น
แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น เป็นคน
สงบเสงี่ยมจัด เป็นคนเจียมตัวจัด เป็นคนเยือกเย็นจัด ได้ก็เพียงชั่วเวลาที่ยัง
ไม่ได้กระทบถ้อยคำอันไม่เป็นที่พอใจเท่านั้น ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดเธอ
กระทบถอยคำอันไม่เป็นที่พอใจเข้า ก็ยังเป็นคนสงบเสงี่ยม เจียมตัว เยือกเย็น
อยู่ได้ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้นแหละควรทราบว่า เธอเป็นคนสงบเสงี่ยม
เป็นคนเจียมตัว เป็นคนเยือกเย็นจริง ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เรียกภิกษุรูปที่
เป็นคนว่าง่าย ถึงความเป็นคนว่าง่าย เพราะเหตุได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
แลคิลานปัจจยเภสัชบริขารว่า เป็นคนว่าง่ายเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
ภิกษุรูปนั้น เมื่อไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัช
บริขารนั้น ก็จะไม่เป็นคนว่าง่าย จะไม่ถึงความเป็นคนว่าง่ายได้ ภิกษุทั้งหลาย
อนึ่ง ภิกษุรูปใดแล มาสักการะเคารพ นอบน้อมพระธรรมอยู่ เป็นคนว่าง่าย
ถึงความเป็นคนว่าง่าย เราเรียกภิกษุรูปนั้นว่า เป็นคนว่าง่าย ดังนี้ เพราะ
ฉะนั้นแหละ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้สักการะ
เคารพ นอบน้อมพระธรรม จักเป็นผู้ว่าง่าย จักถึงความเป็นคนว่าง่าย ดังนี้.
[๒๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าว
กะท่านมีอยู่ ๕ ประการ คือ กล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควร ๑ กล่าว

259
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 260 (เล่ม 18)

ด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริง ๑ กล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือคำหยาบคาย ๑ กล่าว
ด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ มีจิตเมตตาหรือ
มีโทสะในภายในกล่าว ๑ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลอื่นจะกล่าวโดยกาลอัน
สมควรหรือไม่สมควรก็ตาม จะกล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริงก็ตาม จะกล่าว
ถ้อยคำอ่อนหวานหรือหยาบคายก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำประกอบด้วยประโยชน์
หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ก็ตาม จะมีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าว
ก็ตาม แม้ในข้อนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน
เราจักไม่เปล่งวาจาชั่ว เราจักอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์ เราจักมีจิตเมตตา
ไม่มีโทสะในภายใน เราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น และเราจักแผ่เมตตา
จิตอันไพบูลย์ ใหญ่ยิ่ง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปตลอดโลก
ทุกทิศทุกทาง ซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้น ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
พึงศึกษาด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล.
[๒๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษถือเอาจอบและ
ตะกร้ามาแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า เราจักกระทำแผ่นดินอันใหญ่นี้ไม่ให้เป็นแผ่นดิน
ดังนี้ เขาขุดลงตรงที่นั้น ๆ โกยขี้ดินทิ้งในที่นั้น ๆ บ้วนน้ำลายลงในที่นั้น ๆ
แล้วสำทับว่าเองอย่าเป็นแผ่นดิน ๆ ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญ
ความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจักทำแผ่นดินอันใหญ่นี้ไม่ให้เป็นแผ่นดินได้
หรือไม่. ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่ได้ พระเจ้าข้า. ข้อนั้น เพราะเหตุไร.
เพราะเหตุว่าแผ่นดินอันใหญ่นี้ ลึกหาประมาณมิได้ เขาจะทำแผ่นดินอันใหญ่นี้
ไม่ให้เป็นแผ่นดินไม่ได้ง่ายเลย ก็แลบุรุษนั้นจะต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากเสียเปล่า
เป็นแน่แท้ ดังนี้ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่น
จะพึงกล่าวกะท่านมีอยู่ ๕ ประการ คือ กล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่
สมควร ๑ กล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริง ๑ กล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือคำ

260
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 261 (เล่ม 18)

หยาบคาย ๑ กล่าวด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์
๑ มีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าว ๑ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อบุคคล
อื่นจะกล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควรก็ตาม จะกล่าวด้วยเรื่องจริงหรือ
ไม่จริงก็ตาม จะกล่าวด้วยถ้อยคำอ่อนหวานหรือหยาบคายก็ตาม จะกล่าว
ถ้อยคำประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ก็ตาม จะมีจิต
เมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าวก็ตาม แม้ในข้อนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
จิตของเราจักไม่แปรปรวนเราจักไม่เปล่งวาจาที่ชั่ว เราจักอนุเคราะห์ด้วยประ-
โยชน์ เราจักมีจิตเมตตา ไม่มีโทสะภายใน เราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคล
นั้น และเราจักแผ่เมตตาจิตอันเสมอด้วยแผ่นดิน ไพบูลย์ ใหญ่ยิ่ง หาประมาณ
มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทาง ซึ่งเป็นอารมณ์ของ
จิตนั้น ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล.
[๒๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบบุรุษถือเอาครั้งก็ตาม สีเหลือง
สีเขียว หรือสีแดงอ่อนก็ตาม มาแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า เราจักเขียนรูปต่าง ๆ
ในอากาศนี้ กระทำให้รูปปรากฏชัด ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญ
ความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะเขียนรูปต่างๆ ในอากาศนี้ กระทำให้รูปปรากฏ
ชัดได้หรือไม่. ไม่ได้พระเจ้าข้า. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร. เพราะธรรมดาอากาศ
นี้ย่อมเป็นของไม่มีรูปร่าง ชี้ให้เห็นไม่ได้ เขาจะเขียนรูปในอากาศนั้น ทำ
ให้รูปเด่นปรากฏชัดไม่ได้ง่ายเลย ก็แหละบุรุษนั้นจะต้องเหน็ดเหนื่อยลำบาก
เสียเปล่าเป็นแน่แท้ ดังนี้ แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคล
อื่นจะพึงกล่าวกะท่าน มีอยู่ ๕ ประการ คือ กล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่
สมควร ๑ กล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริง กล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือคำหยาบ
คาย ๑ กล่าวด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ มี
จิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าว ๑ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย เมื่อ

261
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 262 (เล่ม 18)

บุคคลอื่นจะกล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควรก็ตาม จะกล่าวด้วยเรื่องจริง
หรือไม่จริงก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำอ่อนหวานหรือหยาบคายก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำ
ประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ก็ตาม จะมีจิตเมตตาหรือ
มีโทสะในภายในกล่าวก็ตาม แม้ในข้อนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิต
ของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่เปล่งวาจาชั่ว เราจักอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์
เราจักมีจิตเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน เราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น
และเราจะแผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ ใหญ่ยิ่ง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มี
พยาบาท ไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทาง ซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้น ดังนี้ ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาด้วยอาการดังกล่าวมานี้แล.
[๒๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษ ถือเอาคบหญ้าที่
จุดไฟมาแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักทำแม่น้ำคงคาให้ร้อนจัด ให้เดือดเป็นควัน
พลุ่ง ด้วยคบหญ้าที่จุดไฟแล้วนี้ ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความ
ข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจักทำแม่น้ำคงคาให้ร้อนจัด ให้เดือดเป็นควันพลุ่ง
ด้วยคบหญ้าคบที่จุดไฟแล้วได้หรือไม่. ไม่ได้พระเจ้าข้า. ข้อนั้นเพราะเหตุไร.
เพราะแม่น้ำคงคาเป็นแม่น้ำที่ลึก สุดที่จะประมาณ เขาจะทำแม่คงคานั้นให้
ร้อนจัด ให้เดือดเป็นควันพลุ่ง ด้วยคบหญ้าที่จุดไฟเเล้วไม่ได้ง่ายเลย ก็แล
บุรุษนั้นจะต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากเสียเปล่าเป็นแน่แท้ ดังนี้ แม้ฉันใด ภิกษุ
ทั้งหลาย ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวกะท่านมีอยู่ ๕ ประการ คือ
กล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควร ๑ กล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริง ๑
กล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือหยาบคาย กล่าวด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์
หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ มีจิตเมตตาหรือมีโทสะะในภายในกล่าว ๑
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลอื่นจะกล่าวโดยกาลอันสมควร
หรือไม่สมควรก็ตาม เขาจะกล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริงก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำ

262