No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 243 (เล่ม 18)

เมื่อโทสะเกิดขึ้นในเพราะวัตถุทั้งหลายมีการกระทบกับตอ หนาม ใบไม้ที่
แหลมคมเป็นต้น เธอก็พึงมนสิการถึงธาตุโดยนัยเป็นต้นว่า ท่านย่อมโกรธ
ใคร ย่อมโกรธปฐวีธาตุหรือ หรือว่าอาโปธาตุเป็นต้น เมื่อมนสิการธาตุอยู่
อย่างนี้ เธอย่อมละโทสะได้ เพราะเหตุนั้น การมนสิการถึงธาตุอยู่ จึงชื่อว่า
นิมิตอื่น.
เมื่อโมหะเกิดขึ้นในธรรมใด เธออาศัยธรรม ๕ เหล่านี้ คือ
๑. การอยู่ร่วมกับครู
๒. การเรียนธรรม (อุทเทส)
๓. การสอบถามธรรม
๔. การฟังธรรมตามกาลอันควร
๕. การวินิจฉัยธรรมที่เป็นฐานะและอฐานะ
ก็ย่อมละโมหะได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุควรอาศัยธรรม ๕ เหล่านี้.
เพราะว่า เมื่อเธออาศัยอาจารย์ผู้ควรแก่การเคารพ อาจารย์ย่อมลงทัณฑกรรม
แก่เธอมีการให้ตักน้ำสักร้อยหม้อ เพราะไม่ถามถึงการเข้าสู่บ้าน หรือไม่ทำวัตร
ในกาลอันควรเป็นต้น ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นผู้อันอาจารย์พยายามตกแต่งแล้ว
เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอก็ย่อมละโมหะในธรรมนั้นได้.
แม้เมื่อเรียนธรรม (อุทเทส) อาจารย์ย่อมลงทัณฑกรรมแก่เธอผู้ไม่
เรียนในเวลาอันสมควร หรือสาธยายไม่ดี หรือไม่สาธยาย เป็นต้น เธอย่อม
เป็นผู้อันอาจารย์พยายามตกแต่งแล้ว แม้เช่นนี้ เธอก็ย่อมละโมหะธรรมนั้น
ได้.
ภิกษุเข้าไปหาภิกษุผู้ควรเคารพแล้ว สอบถามว่า ท่านขอรับ ข้อนี้
เป็นอย่างไร อรรถของธรรมนี้เป็นอย่างไร เป็นต้น เธอย่อมกำจัดความสงสัย
ได้ แม้ด้วยอาการอย่างนี้ เธอก็ย่อมละโมหะในธรรมนั้นได้.

243
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 244 (เล่ม 18)

แม้เมื่อภิกษุไปสู่ที่เป็นที่ฟังธรรมดามกาลเวลาอันควร ฟังอยู่โดยเคารพ
อรรถธรรมในที่นั้น ๆ ย่อมจะแจ่มแจ้งแก่เธอ แม้ด้วยอาการอย่างนี้ เธอก็
ย่อมละโมหะในธรรมนั้นได้.
บุคคลผู้ฉลาดในการวินิจฉัยในสิ่งที่เป็นฐาน คือสิ่งที่เป็นไปได้ และ
อฐานะ คือสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ว่า นี้เป็นเหตุของสิ่งนี้ นี้ไม่ใช่เหตุของสิ่งนี้
ดังนี้เป็นต้น แม้ด้วยอาการอย่างนี้ เธอก็ย่อมละโมหะในธรรมนั้นได้. เพราะ
เหตุนั้น การอาศัยธรรม ๕ ของเธอนั้น จึงชื่อว่า เป็นนิมิตอื่น.
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อภิกษุเจริญกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๓๘ เธอ
ย่อมละอกุศลวิตกเหล่านี้ได้ เพราะนิมิต ๕ ที่มีลักษณะอย่างนี้ เป็นข้าศึกและ
ปฎิปักษ์โดยตรงต่อกิเลสทั้งหลายนีราคะเป็นต้น กิเลสที่มีราคะเป็นต้นที่ละได้
ด้วยนิมิต ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นการละอย่างดี. เหมือนอย่างว่า บุคคลผู้ดับไฟ
โดยใช้ไม้สดโบยบ้าง ฝุ่นบ้าง กิ่งไม้อื่น ๆ บ้าง ย่อมทำให้ดับ แต่น้ำซึ่ง
เป็นข้าศึกโดยตรงของไฟ เมื่อเขาดับไฟด้วยน้ำซึ่งเป็นข้าศึกโดยตรง ย่อมเป็น
การดับดีแล้ว ฉันใด กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นที่ละได้ด้วยนิมิต ๕ เหล่านี้
ชื่อว่า เป็นการละอย่างดี ฉันนั้น. เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบคำเหล่านี้
ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว.
บทว่า กุสลูปสญฺหิตํ คือว่า อาศัยกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล.
บทว่า อชฺฌตฺตเมว คือว่า เป็นอารมณ์ภายนั่นแล.
บทว่า ปลคณฺโฑ แปลว่า นายช่างไม้.
บทว่า สุขุมาย อาณิยา ความว่า นายช่างไม้ หรือลูกมือของ
นายช่างไม้ผู้ฉลาดต้องการจะนำลิ่มอันใดออก ก็ตอกด้วยลิ่มไม้อันแข็งกว่าลิ่ม
อันนั้นเข้าไป.

244
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 245 (เล่ม 18)

บทว่า โอฬาริกํ อาณึ ได้แก่ สิ่มที่ไม่เสมอกันที่นายช่างตอกเข้า
ไปในแผ่นกระดานไม้จันทน์ หรือกระดานไม้เนื้อแข็ง.
บทว่า อภิหเนยฺย คือว่า เมื่อตอกด้วยไม้ค้อนแล้วก็นำออกมา.
บทว่า อภินีหเนยฺย คือว่า เมื่อโยกอยู่อย่างนั้น ก็พึงนำลิ่มออก
จากแผ่นกระดานได้.
บทว่า อภินิวฏฺเฎยฺย ความว่า บัดนี้ เมื่อนายช่างรู้ว่าลิ่มเป็นอัน
มากเหล่านี้เขยื้อนออกแล้ว จึงเอามือจับคลอนไปมาแล้วดึงออก.
บัณฑิตพึงทราบความในที่นี้ว่า จิตเหมือนแผ่นกระดาน. อกุศลวิตก
เปรียบเหมือนลิ่มที่ทำให้แผ่นกระดานไม่เสมอกัน. กุศลนิมิตมีการเจริญอสุภะ
คือความไม่งามเป็นต้นเปรียบเหมือนลิ่มเล็ก. การนำอกุศลวิตกเหล่านั้นออก
ด้วยกุศลนิมิตทั้งหลายมีการเจริญอสุภะเป็นต้น เปรียบเหมือน การตอก โยก
ถอนลิ่มใหญ่ออกได้ด้วยลิ่มอันเล็กที่แข็งกว่าฉะนั้น.
บทว่า อหิกุณเปน เป็นอาทิ แปลว่า ซากงูเป็นต้นนี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อแสดงถึงซากศพทั้งหลายว่าล้วนเป็นของปฏิกูล น่า
รังเกียจอย่างยิ่ง.
บทว่า กณฺเฐ อาลคฺเคน คือว่า นำเอาซากศพ ที่ใดที่หนึ่งซึ่ง
หาประโยชน์มิได้มาผูก คือมาสวมใส่ไว้ที่คอ.
บทว่า อฏฺฏิเยยฺย ได้แก่ ความละอาย.
บทว่า ชิคุจฺเฉยฺย คือว่า พึงรังเกียจอันเกิดขึ้นเอง.
บทว่า ปหียนฺติ ความว่า เมื่อเธอรังเกียจด้วยเหตุแม้นี้แล้ว ใคร่
ครวญด้วยกำลังปัญญาของตนว่า อกุศลธรรมเหล่านี้มีโทษ มีทุกข์เป็นวิบาก
ก็จะละเสียได้ เปรียบเหมือนหญิงสาวหรือชายหนุ่ม รังเกียจซากงูเป็นต้น

245
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 246 (เล่ม 18)

ฉะนั้น. ก็เมื่อภิกษุใด ไม่อาจเพื่อจะใคร่ครวญด้วยกำลังปัญญาของตนได้
เธอพึงเข้าไปหาอาจารย์หรืออุปัชฌาย์ หรือเพื่อนพรหมจรรย์ผู้ควรแก่การเคารพ
หรือพระสังฆเถระ รูปใดรูปหนึ่ง แล้วตีระฆังให้ภิกษุมาประชุมกันบอกให้ทราบ
ถึงเหตุนั้น เพราะว่ามนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตคนหนึ่งจักมีในที่ประชุมนั้น ก็บัณฑิต
นี้จักบอกว่า ท่านพึงเห็นโทษในอกุศลวิตกอย่างนี้ ๆ หรือว่า จักข่มอกุศลวิตก
เหล่านั้น ด้วยกถาทั้งหลาย มีกายวิจฉินทนียกถาเป็นต้น.
บทว่า อสติมนสิกาโร อาปชฺชิตพฺโพ ได้แก่ ภิกษุนั้นไม่พึง
นึก ไม่พึงใส่ใจถึงอกุศลวิตกเหล่านั้น พึงเป็นผู้ส่งใจไปในอารมณ์อื่น ๆ
เหมือนบุคคลผู้ไม่ประสงค์จะเห็นรูป พึงหลับตาทั้งสอง ฉันใด ภิกษุผู้ถือมูล
กรรมฐานมานั่งแล้ว เมื่อวิตกเกิดขึ้นในจิต ก็พึงเป็นผู้ส่งใจไปในอารมณ์อื่น
ฉันนั้น. ภิกษุนั้น ย่อมละอกุศลวิตกได้ด้วยอาการอย่างนี้ เมื่อเธอประสงค์จะ
ละก็พึงถือเอากรรมฐานมาแล้วนั่งลงเถิด. ก็ถ้าเธอยังละไม่ได้ ก็ควรสาธยาย
พระบาลีธรรมกถาที่เรียนมาด้วยเสียงอันดัง. ถ้าเธอใส่ใจไปในอารมณ์อื่นอย่าง
นี้ยังละไม่ได้ ก็จงหยิบสมุดเปล่าออกจากย่ามเขียนพรรณนาความดีของพระ-
พุทธเจ้าข้อใดข้องหนึ่ง เธอพึงเป็นผู้นำอกุศลวิตกนั้นออกด้วยการส่งใจไปใน
อารมณ์อื่น อย่างนี้.
ถ้าแม้ด้วยอาการอย่างนี้แล้วก็ยังละอกุศลวิตกนั้นไม่ได้ ก็พึงหยิบไม้สี
ไฟออกมาจากย่ามแล้วพิจารณา หรือส่งใจไปในอารมณ์อื่นว่า นี้ไม้สีไฟอันบน
นี้ไม้สีไฟอันล่าง ดังนี้. ถ้าอย่างนี้แล้วก็ยังละอกุศลวิตกไม่ได้ ก็พึงเอากล่อง
เล็กออกมารวมบริขารไว้ หรือส่งใจไปในอารมณ์อื่นว่า อันนี้ ชื่อว่า กล่องเข็ม
อันนี้ ชื่อว่า มีดเล็ก อันนี้ ชื่อว่า เครื่องตัดเล็บ อันนี้ ชื่อว่า เข็ม เป็นต้น
เธอก็จะพึงละอกุศลวิตกนั้นได้. ถ้าอย่างนี้แล้วก็ยังละอกุศลวิตกนั้นไม่ได้พึงหยิบ
เอาเข็มมาเย็บจีวรที่ขาด เพื่อส่งใจไปในอารมณ์อื่น ตราบใดที่เธอยังละอกุศล

246
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 247 (เล่ม 18)

วิตกไม่ได้ ก็พึงส่งใจไปในอารมณ์อื่น โดยการทำกุศลกรรมนั้น ๆ ก็เมื่อเธอ
ละอกุศลวิตกได้แล้ว ก็พึงถือเอามูลกรรมฐานมานั่งลง ไม่พึงเป็นผู้เริ่มนว-
กรรม (การก่อสร้าง).
ถามว่า เพราะเหตุไร
ตอบว่า เพราะว่า เธอทำลายอกุศลวิตกยังไม่ได้ ก็ไม่มีโอกาสมน-
สิการกรรมฐานได้. แม้บัณฑิตในกาลก่อนจะทำนวกรรม ก็ต้องทำลายอกุศล
จิตก่อน. ในข้อนี้นั้น มีเรื่องเป็นอุทาหรณ์ ดังต่อไปนี้.-
เรื่องติสสสามเณร
ได้ยินว่า พระอุปัชฌาย์ของสามเณรอาศัยอยู่ในมหาวิหารชื่อว่า ติสสะ
สามเณรกล่าวกับท่านอุปัชฌาย์ว่า ท่านขอรับ กระผมกระวนกระวาย (อยาก
ลาสิกขาบท). ครั้งนั้น พระเถระได้กล่าวกะสามเณรว่า ในวิหารนี้หาน้ำ
อาบได้ยาก เธอจงพาเราไปที่จิตตลดาบรรพต. สามเณรได้กระทำเหมือน
อย่างนั้น. พระเถระกล่าวกะสามเณรในที่นั้นว่า วิหารนี้เป็นของเฉพาะสงฆ์
เธอจงทำ (สร้างที่อยู่ใหม่) ให้เป็นที่อาศัยอยู่เฉพาะบุคคลคนหนึ่ง. สามเณร
รับคำว่า ดีแล้วขอรับ แล้วสามเณรก็เริ่มสิ่งทั้งสามพร้อม ๆ กัน คือ การ
เรียนคัมภีร์สังยุตตนิกายตั้งแต่ต้น การชำระพื้นที่ที่เงื้อมเชา และการบริกรรม
เตโชกสิณและได้ยังกรรมฐานนั้นให้ถึงอัปปนา ยังการเรียนสังยุตตนิกายให้
จบลงแล้วเริ่มนวกรรมในถ้ำ เธอได้ทำกิจนวกรรมทั้งปวงสำเร็จแล้ว จึงได้
แจ้งให้พระอุปัชฌาย์ทราบ. พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า สามเณร ที่อยู่เฉพาะบุคคล
คนหนึ่งเธอทำสำเร็จในวันนี้ได้โดยลำบาก เธอนั่นแหละจงอยู่ ดังนี้.
สามเณรนั้น เมื่ออยู่ในถ้ำตลอดราตรี ได้อุตุสัปปายะ จึงยังวิปัสสนา
ให้เจริญแล้วบรรลุพระอรหัต ปรินิพพานแล้วในถ้ำนั้นนั่นแหละ. ชนทั้ง

247
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 248 (เล่ม 18)

หลายถือเอาธาตุของสามเณรก่อสร้างพระเจดีย์ไว้. เจดีย์ของพระติสสะเถระได้
ปรากฏมาจนทุกวันนี้แล.
บัพพะ (ข้อที่ควรกำหนด) นี้ ชื่อว่า อสติบัพพะ (แปลว่าข้อกำหนด
ว่าด้วยการระลึกไม่ได้).
ว่าด้วยข้อทำลายมูลราก
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะแสดงการทำลายมูลรากของอกุศลวิตกว่า
เมื่อภิกษุตั้งอยู่ในข้อนี้ (คืออสติบัพพะ) แล้วยังไม่อาจข่มอกุศลวิตกได้ ก็ต้อง
ตั้งอยู่ในข้อที่ทำลายมูลรากของอกุศลวิตกนี้ ดังนี้ แล้วตรัสคำว่า ตสฺส เจ
ภิกฺขเว เป็นต้น แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นถึง
ความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้นอยู่ เป็นต้น.
ในข้อนี้ พึงทราบวิเคราะห์คำว่า สังขาร ในคำว่า พึงมนสิการ
สัณฐานสังขารของตน นั้นว่า สภาวะใด ย่อมปรุงแต่ง เหตุนั้น สภาวะนั้น
จึงเชื่อว่า สังขาร. อธิบายว่า เป็นปัจจัย (คือเป็นเหตุเครื่องอาศัย) เป็น
การณะ (คือเป็นเหตุกระทำ) เป็นมูล (คือเป็นราก).
ชื่อว่า สัณฐาน เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า เป็นที่ตั้งอยู่ดี. สัณฐานของ
วิตกสังขาร ชื่อว่า วิตักกสังขารสัณฐาน. ภิกษุพึงมนสิการสัณฐานอันนั้น.
คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอธิบายไว้ว่า ภิกษุพึงมนสิการถึงเหตุและมิใช่เหตุ
ของวิตกทั้งหลายว่า วิตกนี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นปัจจัย เพราะเหตุไร
จึงเกิดขึ้น ดังนี้.
บทว่า กึ นุ โข อหึ สีฆํ คจฺฉามิ ความว่า บุรุษผู้เดิน
เร็วนั้นย่อมคิดว่า ประโยชน์อะไรด้วยการเดินเร็วของเรานี้ เราจักค่อย ๆ ไป
ดังนี้.

248
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 249 (เล่ม 18)

บทว่า โส สนิกํ คจฺเฉยฺย คือว่า ครั้นเขาคิดอย่างนั้นแล้ว
จึงค่อย ๆ เดิน. ในคำทั้งปวงก็นัยนี้แหละ.
บัณฑิตพึงทราบความในข้อนั้นว่า เวลาเกิดขึ้นแห่งวิตกของภิกษุนี้
เปรียบเหมือนการเดินเร็วของบุรุษ. เวลากำหนดการเที่ยวไปแห่งวิตกของภิกษุ
นี้ เปรียบเหมือน การค่อย ๆ เดินไปในที่นั้น. กาลที่ภิกษุนี้กำหนดการเที่ยว
ไปของวิตกได้แล้ว นำวิตกมาสู่มูลกรรมฐาน เปรียบเหมือการตรึกของบุรุษ
นั้น. กาลที่ภิกษุนี้ ยังวิปัสสนาให้เจริญแล้วบรรลุพระอรหัต เปรียบเหมือน
กาลที่บุรุษนั้นนั่งลงแล้ว. กาลที่ภิกษุนี้ให้เวลาผ่านไปตลอดวันด้วยผลสมาบัติ
ซึ่งมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ เปรียบเหมือน กาลที่บุรุษนั้นนอนแล้ว.
ในข้อว่า วิตกเหล่านี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นปัจจัย ความว่า
การเที่ยวไปของวิตก ย่อมเป็นของเบาบางแล้วแก่ผู้ถึงเหตุและมิใช่เหตุของวิตก
ทั้งหลาย เมื่อวิตกนั้นเป็นของเบาบางถึงที่สุดแล้ว ก็ย่อมดับไปโดยประการทั้ง
ปวง. บัณฑิตพึงแสดงข้อความนี้ด้วยทุททุภชาดก (คือเรื่องกระต่ายตื่นตูม).
เรื่องกระต่ายตื่นตูม
ได้ยินว่า กระต่ายตัวหนึ่งนอนหลับอยู่ที่ใกล้ต้นมะตูม ลูกมะตูมสุก
หลุดจากขั้วหล่นลงมาใกล้หูของกระต่าย. กระต่ายนั้นก็ผลุดลุกขึ้นหนีไปโดย
เร็วด้วยสำคัญว่า แผ่นดินถล่ม เพราะเสียงดังของลูกมะตูมนั้น. สัตว์จตุ-
บาท (๔ เท้า) ทั้งหลายแม้อื่น ๆ ข้างหน้าเห็นกระต่ายวิ่งมาโดยเร็ว ก็พากัน
วิ่งหนีไปด้วย. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเราเกิดเป็นราชสีห์. ราชสีห์นั้น
คิดว่า ธรรมดาว่าแผ่นดินนี้จะถล่มพินาศไปก็เพราะกัปพินาศ ชื่อว่าการที่
แผ่นดินนี้จะแตกทำลายไปในระหว่างมิได้มี เราจะต้องไปสืบดูต้นเหตุให้ได้
ดังนี้. ราชสีห์ จึงเริ่มถามสัตว์ทั้งหลายตั้งแต่ช้างใหญ่ไปจนถึงกระต่ายตัวนั้น

249
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 250 (เล่ม 18)

ว่า เจ้าเห็นแผ่นดินถล่มหรือ ดังนี้ กระต่ายกล่าวว่า ข้าแต่นายผู้เป็นใหญ่
ข้าพเจ้าเห็น. ราชสีห์จึงกล่าวว่า เจ้าจงพาเราไปดู. กระต่ายกล่าวว่า ข้าพเจ้า
ไม่อาจ. ราชสีห์จึงตวาดว่า เฮ้ยเจ้ากระต่าย จงพาเราไปเจ้าอย่ากลัว แล้วก็
ปลอบใจกระต่ายด้วยคำสุภาพเรียบร้อยแล้วก็พากระต่ายไป. กระต่ายยืนอยู่ในที่
ไม่ไกลของต้นมะตูมแล้วได้กล่าว เป็นคาถาว่า
ข้าแต่ท่านผู้สง่างาม ข้าพเจ้าอยู่
ในที่นั้น ได้ยินเสียงถล่ม ข้าพเจ้าไม่รู้จัก
สิ่งนั้นว่าเป็นเสียงอะไร.
พระโพธิสัตว์กล่าวกะกระต่ายว่า เจ้าจงยืนอยู่ในที่นี้แหละ แล้วก็ไปที่
โคนต้นมะตูม ได้เห็นที่เป็นที่นอนของกระต่าย และได้เห็นลูกมะตูมสุก จึง
แลดูข้างบนได้เห็นขั้วของมะตูม ครั้นเห็นแล้ว ก็รู้ว่า กระต่ายตัวนี้นอนที่นี้
กำลังหลับ เมื่อลูกมะตูมสุกนี้หล่นลงมาใกล้หู จึงมีความสำคัญว่า เสียงแผ่นดิน
ถล่ม จึงรีบหนีไปโดยเร็ว ดังนี้ แล้วจึงถามถึงเหตุนั้น. กระต่ายรับคำว่า
ถูกแล้วท่านผู้เป็นนาย. พระโพธิสัตว์ จึงกล่าวคำเป็นคาถาว่า
เวลฺวํ ปติตํ สุตฺวา ทุทฺทุภนฺติ สโส ชวิ
สสสฺส วจนํ สุตฺวา สนฺตตฺตา มิควาหนี
แปลว่า กระต่ายฟังเสียงลูกมะตูม
หล่นลง สำคัญว่าเสียงแผ่นดินถล่ม จึง
วิ่งไปโดยเร็ว พวกมฤคทั้งหลาย ปานดัง
กองทัพเป็นผู้เล่าร้อนแล้ว เพราะฟังถ้อย
คำของกระต่าย.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ จึงปลอบใจพวกมฤคทั้งหลายว่า พวกท่านอย่ากลัว
เลย ดังนี้.

250
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 251 (เล่ม 18)

เมื่อภิกษุค้นหาต้นเหตุของอกุศลวิตกทั้งหลายด้วยอาการอย่างนี้ ก็ย่อม
ละได้. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะแสดงการณะ (เหตุ) แม้นี้ว่า อันภิกษุผู้ดำรง
อยู่ในข้อทำลายมูลเหตุของอกุศลวิตกนี้แล้ว ก็ยังไม่อาจเพื่อข่มวิตกนั้นได้ ก็พึง
ข่มอย่างนี้ แล้วตรัสคำว่า ตสฺส เจ ภิกฺขเว เป็นอาทิ แปลว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นมนสิการถึงสัณฐานของวิตกดังนี้เป็นต้น.
บทว่า ทนฺเตภิ ทนฺตมาธาย ได้แก่ พึงกดฟันบนลงที่ฟันข้างล่าง.
บทว่า เจตสา จิตฺตํ ได้แก่ พึงป้องกันอกุศลจิต ด้วยกุศลจิต.
บทว่า พลวา ปุริโส เป็นต้น ความว่า เปรียบเหมือนบุรุษผู้
สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง มีกำลังมากจับบุรุษผู้มีกำลังน้อยกว่าแล้วบีบ กด เค้น
ที่ศีรษะ หรือที่ก้านคอไว้ให้แน่น พึงกระทำบุรุษนั้นให้เร่าร้อน ให้ลำบาก
ให้สยบ มีความตายเป็นที่สุด ฉันใด ภิกษุ ก็ฉันนั้นนั่นแหละ พึงเป็น
นักมวยปล้ำซึ่งเป็นคู่ต่อสู้กับอกุศลวิตกทั้งหลายว่า พวกเจ้าเป็นอะไร เราเป็น
อะไร ดังนี้ ครั้นครอบงำแล้ว พึงประคองความเพียรใหญ่อย่างนี้ว่า
กามํ ตโจ นหารู จ อฏฺฐิ จ อวสุสฺสตุ
อวสฺสิสฺสตุ เม สรีเร สพฺพนฺตํ มํสโลหิตํ
แปลว่า เนื้อและเลือดทั้งหมดใน
ร่างกายของเรานี้จะเหือดแห้งไป เหลือแต่
หนึ่งเอ็นกระดูก ก็ตามที.
เธอก็พึงข่มอกุศลวิตกทั้งหลายได้. เมื่อจะแสดงอย่างนี้ จึงตรัสคำอุปมาอัน
แสดงอรรถะนี้ว่า ยโต จ โข ภิกฺขเว เป็นต้น แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุอาศัยนิมิตใด แล้วมนสิการนิมิตใดอยู่ เป็นต้น. ข้อนี้ ชื่อว่ามริยาทภาชนีย์

251
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 252 (เล่ม 18)

(คือคำจำแนกเขตแดน). คำนั้น มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น. พึงทราบคำอุปมา
ต่อไปนี้.
เหมือนอย่างว่า อาจารย์ผู้ให้คำแนะนำสั่งสอนพระราชกุมารซึ่งมาจาก
แว่นแคว้นภายนอก ให้เรียนเอาซึ่งศิลปะว่าด้วยอาวุธ ๕ แล้วแสดงสิ่งที่ควร
กระทำด้วยอาวุธแม้ทั้ง ๕ อย่างนี้ว่า ท่านจงกลับไปครองราชสมบัติในแว่นแคว้น
ของตน ถ้าพวกโจรปรากฏในระหว่างทางแก่ท่าน ท่านจงใช้ธนูนี้ แล้วก็จงไป
ถ้าธนูของท่านหายหรือหัก จงใช้หอก หอกหัก จงใช้ดาบดังนี้เป็นต้นแล้วให้
กลับไป. พระราชกุมารนั้น ได้กระทำเหมือนอย่างนั้น ครั้นไปถึงแว่นแคว้น
ของตนแล้ว ได้ครองสิริราชสมบัติ ฉันใด ข้อนี้ก็ ฉันนั้นแหละ พระผู้มี-
พระภาคเจ้า เมื่อจะทรงส่งภิกษุผู้หมั่นประกอบอธิจิต เพื่อถือเอาซึ่งพระอรหัต
และทรงแสดงบัพพะ (ข้อที่ควรกำหนด) ๕ เหล่านี้ว่า
ถ้าว่า อกุศลจิตเกิดขึ้นแก่เธอในระหว่าง ก็ควรตั้งอยู่ในข้อว่าด้วยนิมิต
อื่น (เรียกว่า อัญญนิมิตตบัพพะ) ครั้นเธอข่มอกุศลวิตกทั้งหลายได้แล้ว ก็
จักยังวิปัสสนาให้เจริญ แล้วจักบรรลุพระอรหัต เมื่อไม่อาจในข้อนั้น (คือใน
อัญญนิมิตตบัพพะ) ก็จะตั้งอยู่ในข้อว่าด้วยอาทีนพ เมื่อไม่อาจในข้อนั้น ก็จะ
ตั้งอยู่ในข้อด้วยอสติบัพพะ เมื่อไม่อาจในข้อนี้ ก็ควรตั้งอยู่ในข้อว่าด้วยการ
ทำลายมูลเหตุของอกุศลวิตก เมื่อไม่อาจแม้ในข้อนี้ ก็จะตั้งอยู่ในชื่อว่าด้วยการ
ข่ม ครั้นข่มวิตกทั้งหลายเหล่านั้นได้แล้ว จักยังวิปัสสนาให้เจริญแล้วจักบรรลุ
พระอรหัต ดังนี้.
บทว่า วสี วิตกฺกปริยายปเถสุ แปลว่า ผู้ชำนาญในทางเดินของ
วิตก ได้แก่ ผู้ชำนาญตามที่ตนสั่งสมไว้แล้ว คือ เป็นผู้ชำนาญคล่องแคล่ว
ในทางเป็นไปของการตรึก.

252