No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 63 (เล่ม 18)

เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย ดังนี้.
คำนิคม
[๑๙๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระนาคสมาละ ถวายงานพัดอยู่ ณ
เบื้องปฤษฎางค์ ลำดับนั้น ท่านพระนาคสมาละได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริงไม่เคยมี อนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้ามี
โลมาอันพองเพราะฟังธรรมปริยายนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมปริยายนี้
ชื่ออะไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนนาคสมาละ เพราะเหตุนี้แหละ
เธอจงทรงจำธรรมปริยายนี้ไว้ว่า ชื่อว่า โลมหังสนปริยาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระนาคสมาละ
มีใจชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.
จบมหาสีหนาทสูตรที่ ๒

63
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 64 (เล่ม 18)

อรรถกถามหาสีหนาทสูตร
มหาสีหนาทสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับ ดังนี้ :-
ในมหาสีหนาทสูตรนั้น บทว่า เวสาลิยํ ความว่า ใกล้พระนคร
ซึ่งมีชื่ออย่างนั้น . ได้ยินว่า พระนครนั้น ถึงอันนับว่า เวสาลี เพราะเป็น
นครเจริญไพศาลบ่อย ๆ. ในมหาสีหนาทสูตรนั้น มีการกล่าวตามลำดับดังนี้.
ได้ยินว่า พระอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี ทรงพระครรภ์. พระนาง
ทรงทราบแล้ว ทูลให้พระราชาทรงทราบ. พระราชาได้พระราชทานเครื่อง
บริหารพระครรภ์. พระนางเมื่อทรงได้รับการบริหารโดยชอบ ก็เสด็จเข้าสู่
เรือนเป็นที่ทรงประสูติ ในกาลทรงมีพระครรภ์แก่. ในสมัยใกล้รุ่ง ผู้มีบุญ
ทั้งหลายก็ได้คลอดออกจากพระครรภ์. ก็พระนางนอกจากพระเทวีเหล่านั้น ทรง
ประสูติชิ้นเนื้อเป็นเช่นกับกลีบดอกชบาที่ไม่เหี่ยวแห้งในสมัยใกล้รุ่งนั้น. พระเทวี
เหล่าอื่นจากพระอัครมเหสีนั้น ทรงประสูติพระโอรสทั้งหลายเป็นเช่นกับ
พิมพ์ทอง. พระนางอัครมเหสีทรงรู้ว่าเป็นชิ้นเนื้อ จึงทรงดำริว่า ความอัปยศ
ของเรา พึงเกิดขึ้นเบื้องพระพักตร์ของพระราชา ดังนี้ เพราะความทรงกลัว
ต่อความอัปยศนั้น จึงทรงใส่ชิ้นเนื้อนั้นในภาชนะหนึ่ง ทรงปิด ทรงประทับ
ตราพระราชลัญจกร ทรงให้ทิ้งลงในกระแสน้ำคงคา. ครั้นเมื่อภาชนะนั้นสักว่า
มนุษย์ทิ้งแล้ว เทพดาทั้งหลายก็เตรียมการรักษา. ก็มนุษย์ทั้งหลายได้จารึก
แผ่นทองคำด้วยชาดสีแดง ผูกไว้ในภาชนะนั้นว่า ราชโอรสของพระอัครมเหสี
แห่งพระเจ้าพาราณสี. แต่นั้น ภาชนะนั้นไม่ถูกภัยทั้งหลายมีภัยแต่คลื่นเป็นต้น
เบียดเบียนเลย ได้ลอยไปตามกระแสน้ำคงคา. ก็โดยสมัยนั้น ยังมีดาบสตนหนึ่ง
อาศัยตระกูลผู้เลี้ยงโคอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา. ดาบสนั้นลงสู่แม่น้ำคงคาแต่เช้าตรู่

64
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 65 (เล่ม 18)

ได้เห็นภาชนะนั้นลอยมา จึงจับยกขึ้นด้วยสำคัญว่าเป็นบังสุกุล. ลำดับนั้น
ได้เห็นแผ่นอักษรและรอยพระราชลัญจกรนั้นในภาชนะนั้นแล้ว แก้ออกดูเห็น
ชิ้นเนื้อนั้น. ดาบสนั้นครั้นเห็นแล้วจึงคิดว่า พึงเป็นครรภ์. แต่ทำไมครรภ์นั้น
จึงไม่เหม็นและไม่เน่าเล่า จึงนำมาสู่อาศรมตั้งไว้ในโอกาสอันหมดจด. ลำดับ
นั้น โดยล่วงไปกึ่งเดือน ชิ้นเนื้อก็เป็นสองส่วน. ดาบสเห็นแล้วก็ตั้งไว้ในที่ดีกว่า.
โดยล่วงไปอีกกึ่งเดือนจากนั้น ชิ้นเนื้อแต่ละชิ้นก็แบ่งเป็นปมอย่างละห้าปม
เพื่อประโยชน์แก่มือเท้าและศีรษะ. ลำดับนั้น โดยล่วงไปกึ่งเดือนจากนั้น
ชิ้นเนื้อหนึ่งเป็นเด็กชายเช่นกับพิมพ์ทอง ชิ้นหนึ่งเป็นเด็กหญิง. ดาบสได้เกิด
ความรักดุจบุตรในเด็กเหล่านั้น. น้ำนมได้เกิดแม้แต่หัวแม่มือของดาบสนั้น.
ก็จำเดิมแต่นั้น ได้น้ำนมเป็นภัต. ดาบสนั้น บริโภคภัตแล้ว หยอดน้ำนมใน
ปากของทารกทั้งหลาย. สถานที่ซึ่งดาบสเข้าไปทั้งหมด ปรากฏแก่ทารก
เหล่านั้น เหมือนอยู่ในภาชนะแก้วมณี. ทารกทั้งสองปราศจากฉวีอย่างนี้ .
อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ทารกเหล่านั้น มีฉวีเร้นลับกันและกันดุจเย็บตั้งไว้.
ด้วยประการฉะนี้ ทารกเหล่านั้นจึงปรากฏว่า ลิจฉวี เพราะความที่ทารก
เหล่านั้น ปราศจากผิว หรือมีผิวเร้นลับ . ดาบสเลี้ยงดูทารกทั้งหลาย เข้าไปสู่
บ้านในกลางวันเพื่อภิกษา. กลับมาเมื่อสายมาก. คนเลี้ยงโคทั้งหลายรู้ความ
กังวลนั้นของดาบสนั้น จึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ การเลี้ยงดูทารกย่อม
เป็นกังวลแก่นักบวช ขอท่านจงให้ทารกเหล่านั้นแก่พวกผมเถิด พวกผมจัก
เลี้ยงดู. ท่านจงทำการงานของตนเถิด. ดาบสรับว่า ดีแล้ว. ในวันที่สอง
นายโคบาลทั้งหลายทำทางให้ราบเรียบ โปรยด้วยดอกไม้ทั้งหลาย ยกธงผ้า
มีดุริยางค์บรรเลง มาสู่ทางอันไม่ราบเรียบ. ดาบสกล่าวว่า ทารกเป็นผู้มีบุญมาก
ท่านทั้งหลายจงให้เจริญด้วยความไม่ประมาท และครั้นให้เจริญแล้ว จงทำ
อาวาหวิวาหะแก่กันและกัน ท่านทั้งหลายต้องให้พระราชาทรงพอพระทัยด้วย

65
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 66 (เล่ม 18)

ปัญจโครส จับจองพื้นที่สร้างนคร อภิเษกกุมารในนครนั้น ดังนี้แล้ว ได้ให้
ทารกทั้งหลาย. นายโคบาลเหล่านั้นรับว่า ดีละ นำทารกทั้งหลายไปเลี้ยงดู.
ทารกทั้งหลายอาศัยความเจริญ เล่นอยู่ก็ประหารเด็กนายโคบาลเหล่าอื่นด้วยมือ
บ้าง ด้วยเท้าบ้าง ในที่ทะเลาะกัน. ก็เด็กของนายโคบาลเหล่านั้นร้องไห้อยู่
ผู้อันบิดามารดาพูดว่า พวกเจ้าร้องไห้เพื่ออะไร จึงบอกว่า เด็กผู้ไม่มีบิดา
มารดาซึ่งดาบสเลี้ยงเหล่านี้ ประหารพวกผมเหลือเกิน. แต่นั้นบิดามารดาของเด็ก
เหล่านั้น จึงกล่าวว่า เด็กสองคนนี้ ยังเด็กพวกอื่นให้พินาศ ให้ถึงความทุกข์
พวกเราไม่พึงสงเคราะห์เด็กเหล่านี้ ควรไล่เด็กเหล่านี้ออกไปเสีย ดังนี้. ได้ยิน
ว่า จำเดิมแต่กาลนั้น ประเทศนั้น จึงเรียกว่า วัชชี. ลำดับนั้น นายโคบาล
ทั้งหลายยังพระราชาทรงพอพระทัยแล้ว ได้รับประเทศนั้นโดยปริมาณหนึ่งร้อย
โยชน์. และได้สร้างนครในประเทศนั้นแล้ว อภิเษกกุมาร ซึ่งมีอายุได้สิบหกปี
ให้เป็นพระราชา. ได้ให้พระราชานั้นทรงทำวิวาหะกับเด็กหญิงแม้นั้นแล้ว
ทำกติกาว่า พวกเราไม่พึงนำเด็กหญิงมาจากภายนอก ไม่พึงให้เด็กชายจาก
ตระกูลนี้แก่ใคร ดังนี้. ด้วยการอยู่ร่วมกันครั้งแรก เขาทั้งสองคนนั้นมีบุตร
แฝดสองคน คือ ธิดา ๑ บุตร ๑ โดยประการฉะนี้ จึงมีบุตรแฝดถึงสิบหกครั้ง.
ต่อแต่นั้น ทารกเหล่านั้นเจริญขึ้นตามลำดับ จึงขยายนครซึ่งไม่เพียงพอ เพื่อ
เอาเป็นอารามอุทยานสถานที่อยู่ และบริวารสมบัติ ถึง ๓ ครั้ง โดยห่างกัน
ครั้งละหนึ่งคาวุต. นครนั้นจึงมีชื่อว่า เวสาลี เพราะความเป็นนครที่มีความ
เจริญกว้างขวางบ่อย ๆ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เวสาลิยํ ความว่า
ใกล้พระนครที่มีชื่ออย่างนั้น.
บทว่า พหินคเร ความว่า ในภายนอกแห่งพระนคร คือไม่ใช่
ภายในพระนครเหมือนอัมพปาลีวัน. ก็นี้คือ ราวป่าภายนอกพระนคร เหมือน
ชีวกัมพวัน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ในภายนอกพระนคร. บทว่า

66
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 67 (เล่ม 18)

อปรปุเร ความว่า ตรงกันข้ามกับทิศตะวันออก คือ ในทิศตะวันตก. บทว่า
วนสณฺเฑ ความว่า ได้ยินว่า ราวป่านั้นอยู่ในที่ประมาณหนึ่งคาวุต ในทิศ
ตะวันตกแห่งพระนคร. ในราวป่านั้น มนุษย์ทั้งหลายทำพระคันธกุฏิถวายแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ล้อมพระคันธกุฏินั้น ตั้งที่พักกลางคืน ที่พักกลางวัน
ที่จงกรม ที่เร้น กุฏิ มณฑปเป็นต้น. ถวายแด่พระภิกษุทั้งหลาย. พระผู้มี
พระภาคเจ้าประทับอยู่ในราวป่านั้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าในราวป่า
ด้านตรงกันข้ามกับทิศตะวันออก. คำว่า สุนักขัตตะ นั้นเป็นชื่อของเขา
ก็สุนักขัตตะนั้นเรียกว่า ลิจฉวีบุตร เพราะความที่เขาเป็นบุตรของลิจฉวีทั้ง
หลาย. บทว่า อจิรปุกฺกนโต ความว่า สึกออกมาเป็นคฤหัสถ์หลีกไปไม่
นาน. บทว่า ปริสติ ได้แก่ ในท่ามกลางบริษัท. กุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่า
มนุษยธรรม ในบทนี้ว่า อุตฺตริมนุสฺสธมฺมา สุนักขัตตะไม่อาจเพื่อจะ
ปฏิเสธกุศลกรรมบถ ๑๐ เหล่านั้น. เพราะเหตุไร. เพราะกลัวแต่คำตำหนิ.
ด้วยว่า ในเมืองเวสาลี มนุษย์จำนวนมากเลื่อมใสแล้วในพระรัตนตรัย นับถือ
พระพุทธเจ้า นับถือพระธรรม นับถือพระสงฆ์ มนุษย์เหล่านั้น ครั้นเมื่อ
สุนักขัตตะกล่าวว่า แม้สักว่า กุศลกรรมบถสิบของพระสมณโคดมไม่มี ดังนี้
ก็จะกล่าวคำเป็นต้นว่า ท่านได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฆ่าสัตว์ในที่ไหน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาของที่ไม่ได้ให้ในที่ไหน แล้วพึงกล่าวว่า ท่าน
ไม่รู้ประมาณของตน ท่านกินหินและก้อนกรวด ด้วยคิดว่าฟันทั้งหลายของ
เรามีหรือ ท่านพยายามเพื่อจะจับหางงู ท่านปรารถนาเพื่อจะเล่นพวงดอกไม้
ในฟันเลื่อย พวกเราจักยังฟันทั้งหลายของท่านให้หลุดร่วงจากปาก ดังนี้.
เขาไม่อาจเพื่อจะกล่าวอย่างนี้เพราะกลัวแต่การตำหนินั้น. ก็เขาเมื่อจะปฏิเสธ
การบรรลุคุณพิเศษนอกจากอุตตริมนุษยธรรมนั้น จึงกล่าวว่า ญาณทัสสนะ
พิเศษอันควรเป็นพระอริยเจ้านอกจากมนุษยธรรม ดังนี้. ในบทนั้น ชื่อว่า

67
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 68 (เล่ม 18)

อลมริยะ เพราะควรเพื่อรู้อริยะ อธิบายว่า อันสามารถเพื่อความเป็นพระอริย
เจ้า. ญาณทัสสนะนั้นเทียว ชื่อว่า ญาณทัสสนะวิเศษ ญาณทัสสนวิเสส
นั้นด้วย เป็นอันควรแก่พระอริยเจ้าด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อ อลมริยญาณ.
ทัสสนวิเสส ทิพยจักษุก็ดี วิปัสสนาก็ดี มรรคก็ดี ผลก็ดี ปัจจเวกขณ
ญาณก็ดี สัพพัญญุตญาณก็ดี เรียกว่า ญาณทัสสนะ. จริงอยู่ ทิพยจักษุ
ชื่อว่า ญาณทัสสนะ ในบทนี้ว่า เป็นผู้ไม่ประมาทแล้วย่อมบรรลุญาณทัสสนะ.
ก็วิปัสสนาญาณ ชื่อว่า ญาณทัสสนะ ในบทนี้ว่า นำไปเฉพาะ น้อมไป
เฉพาะซึ่งจิต เพื่อญาณทัสสนะ. มรรค ชื่อว่า ญาณทัสสนะ ในบทนี้ว่า
เขาเหล่านั้น ไม่ควรเพื่อญาณทัสสนะ เพื่อตรัสรู้อันยอดเยี่ยม. ผลญาณ
ชื่อว่า ญาณทัสสนะ ในบทนี้ว่า ญาณทัสสนะพิเศษอันควรแก่พระอริยเจ้า
นอกจากอุตริมนุษยธรรมนี้ อันเป็นการอยู่ผาสุก ได้บรรลุแล้วกระมัง.
ปัจจเวกขณญาณ ชื่อว่า ญาณทัสสนะ ในบทนี้ว่า ก็ญาณทัสสนะได้เกิดขึ้น
แก่เราแล้ว วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.
สัพพัญญุตญาณ ชื่อว่า ญาณทัสสนะ ในบทนี้ว่า ก็ญาณทัสสนะของเราได้
เกิดขึ้นแล้ว อาฬารดาบส กาฬามโคตร ได้ถึงแก่กรรมแล้ว ๗ วัน. ส่วน
โลกุตตรมรรค ท่านประสงค์เอาในที่นี้. ก็สุนักขัตตะนั้นปฏิเสธโลกุตตรมรรค
แม้นั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ห้ามอาจารย์ด้วยบทนี้ว่า ตกฺกปริยาหตํ.
นัยว่า เขามีปริวิตกอย่างนี้ ธรรมดาพระสมณโคดมทรงเข้าหาอาจารย์ทั้งหลาย
แล้ว ถือเอาลำดับธรรมอันละเอียดไม่มี ก็พระสมณโคดม ทรงแสดงธรรม
ยึดความตรึก คือ ทรงตรึก ทรงตรองแล้ว แสดงธรรมยึดความตรึกว่าจัก
เป็นอย่างนี้ จักมีอย่างนั้น ดังนี้. ย่อมรับรู้โลกิยปัญญาของพระสมณโคดมนั้น
ด้วยบทนี้ว่า วีมํสานุจริตํ. พระสมณโคดมทรงมีพระปัญญา. พระสมณ
โคดมนั้น ทรงยังพระวิมังสาอันเปรียบเหมือนอินทวิเชียร กล่าวคือปัญญานั้น

68
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 69 (เล่ม 18)

ให้เที่ยวไปข้างนั่นและข้างนี้ว่า จักเป็นไปอย่างนั้น จักเป็นไปอย่างนี้ ย่อม
ทรงแสดงธรรมคล้อยตามพระวิมังสา. ห้ามความที่พระสมณโคดมนั้น ทรง
ประจักษ์ในธรรมทั้งหลาย ด้วยบทนี้ว่า สยํ ปฏิภานํ. ก็สุนักขัตตะนั้นมีความ
คิดอย่างนี้ว่าวิปัสสนา หรือมรรค หรือผล อันเป็นลำดับแห่งธรรมอันละเอียด
ของพระสมณโคดมนั้น ชื่อว่า ประจักษ์ย่อมไม่มี ก็สมณโคดมนี้ ทรงได้
บริษัท วรรณ ๔ ย่อมแวดล้อมพระองค์เหมือนพระจักรพรรดิ ก็ไรพระทนต์
ของพระองค์เรียบสนิท พระชิวหาอ่อน พวะสุรเสียงอ่อนหวาน พระวาจา
ไม่มีโทษ พระองค์ทรงถือเอาสิ่งที่ปรากฏแก่เทพแล้ว ตรัสพระดำรัสตาม
ไหวพริบของพระองค์ทรงยังมหาชนให้ยินดี. บทว่า ยสฺส จ ขฺวสฺส อตฺถาย
ธมฺโม เทสิโต ความว่า ก็ธรรมนี้พระองค์ทรงแสดง เพื่อประโยชน์แก่
บุคคลใดแล. อย่างไร. คือ อสุภกรรมฐาน เพื่อประโยชน์แก่การกำจัดราคะ
เมตตาภาวนา เพื่อประโยชน์แก่การกำจัดโทสะ ธรรม ๕ ประการ เพื่อ
ประโยชน์แก่การกำจัดโมหะ อานาปานัสสติ เพื่อตัดวิตก. บทว่า โส นิยฺยาติ
ตกฺกรสฺส สมฺมาทุกฺขกฺขยาย ความว่า สุนักขัตตะแสดงว่า ธรรมนั้น
ย่อมนำออก คือ ไป เพื่อความสิ้นไปแห่งวัฏฏทุกข์โดยชอบ คือ โดยเหตุ
โดยนัย โดยการณ์ แก่ผู้ปฏิบัติตามธรรมที่ทรงแสดงนั้น คือ ยังประโยชน์นั้น
ให้สำเร็จ. แก่สุนักขัตตะไม่กล่าวถึงเนื้อความนี้นั้น ด้วยอัธยาศัยของตน.
จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ก็ธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นเครื่องไม่นำออกจาก
ทุกข์ ดังนี้. แต่ไม่สามารถจะกล่าวได้. เพราะเหตุไร. เพราะกลัวแต่การถูก
ตำหนิ. จริงอยู่ ในเมืองเวสาลี มีอุบาสกเป็นโสดาบัน สกทาคามีและอนาคามี
จำนวนมาก. อุบาสกเหล่านั้น พึงกล่าวอย่างนี้ว่า แนะสุนักขัตตะ ท่านกล่าวว่า
ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ ดังนี้
ผิว่า ธรรมนี้ไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ไซร้ เพราะเหตุไร ในนครนี้

69
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 70 (เล่ม 18)

อุบาสกเหล่านี้ เป็นโสดาบันประมาณเท่านี้ เป็นสกทาคามีประมาณเท่านี้ เป็น
อนาคามีประมาณเท่านี้เล่า. อุบาสกเหล่านั้น พึงกระทำการคัดค้าน โดยนัยที่
กล่าวแล้วในบทก่อน. สุนักขัตตะนั้น เมื่อไม่อาจเพื่อจะกล่าวว่า ธรรมนี้ไม่
เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ เพราะกลัวถูกตำหนินี้ จึงกล่าวว่า ธรรมของ
พระสมณโคดมนั้น ไม่เป็นโมฆะ ย่อมนำสัตว์ออกจากทุกข์ได้ เหมือนท่อนไม้
ที่เขาทิ้งไว้โดยไม่ถูกเผา แต่พระสมณโคดมนั้น ไม่มีอะไรในภายในเลย ดังนี้.
บทว่า อสฺโสสิ โข ความว่า เมื่อ สุนักขัตตะกล่าวอย่างนี้ ในท่ามกลาง
บริษัทนั้น ๆ ในตระกูลทั้งหลายมีตระกูลพราหมณ์และตระกูลเศรษฐีเป็นต้น
ในพระนครเวสาลี ท่านพระสารีบุตรได้ฟังคำพูดนั้นแล้ว ไม่คัดค้าน. เพราะ
เหตุไร. เพราะท่านมีความกรุณา. นัยว่า ท่านพระสารีบุตรนั้น มีความดำริ
อย่างนี้ว่า สุนักขัตตะนี้ กระเสือกกระสนด้วยอำนาจแห่งความโกรธ เหมือน
ไม้ไผ่ถูกเผา และเหมือนเกลือที่ถูกใส่ในเตาไฟ ก็สุนักขัตตะถูกเราคัดค้าน
แล้ว จักผูกความอาฆาตแม้ในเรา เมื่อเป็นอย่างนี้ สุนักขัตตะนั้น ก็จัดผูก
อาฆาตเป็นภาระอย่างยิ่ง ในชนทั้งสอง คือ ในพระตถาคตและในเรา เพราะ
ฉะนั้น จึงไม่คัดค้านเพราะท่านมีความกรุณา. อนึ่ง ท่านพระสารีบุตรนั้น
มีความดำริอย่างนี้ว่า ธรรมดาการกล่าวตำหนิพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็เป็นเช่น
กับโปรยโทษในพระจันทร์เต็มดวงฉะนั้น ใครเล่าจักถือเอาถ้อยคำของสุนักขัตตะนี้
เขาเองนั้นแหละ ครั้นหมดน้ำลาย ปากแห้งแล้วจักงดการกล่าวตำหนิ เพราะ
ฉะนั้น ท่านพระสารีบุตรจึงไม่คัดค้าน เพราะความกรุณานี้. บทว่า ปิณฺฑ-
ปาตปฏิกฺกนฺโต ความว่า กลับจากการแสวงหาบิณฑบาตแล้ว. บทว่า
โกธโน คือ เป็นผู้ดุร้าย คือ เป็นผู้หยาบคาย. บทว่า โมฆปุริโส ความว่า
บุรุษเปล่า จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเรียกบุรุษผู้ไม่มีอุปนิสัยแห่งมรรค
และผลในอัตภาพนั้นว่าโมฆบุรุษ. ครั้นเมื่ออุปนิสัยแม้มีอยู่ แต่มรรคหรือผล

70
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 71 (เล่ม 18)

ไม่มีในขณะนั้น ก็เรียกว่า โมฆบุรุษเหมือนกัน. แต่สุนักขัตตะนี้ ได้ตัดขาด
อุปนิสัยแห่งมรรคและผลทั้งหลายแล้วในอัตภาพนั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสเรียกสุนักขัตตะนั้นว่า โมฆบุรุษ. บทว่า โกธา จ ปนสฺส
เอสา วาจา ภาสิตา ความว่า ก็วาจาของสุนักขัตตะนั้นนั่นและ ได้กล่าว
แล้วด้วยความโกรธ.
ก็เพราะเหตุไร สุนักขัตตะนั้นจึงโกรธพระผู้มีพระภาคเจ้า. เพราะใน
กาลก่อน สุนักขัตตะนี้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทูลถามถึงการบริกรรม
ทิพยจักษ . ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสแก่สุนักขัตตะนั้นแล้ว. สุนัก
ขัตตะนั้น ยังทิพยจักษุให้เกิดขึ้น เจริญอาโลกสัญญา เมื่อมองดูเทวโลก ก็ได้
เห็นเทพบุตรทั้งหลาย และเทพธิดาทั้งหลาย ซึ่งกำลังเสวยทิพยสมบัติในนันทน-
วัน จิตตลดาวัน ปารุสกวัน และมิสสกวัน เป็นผู้ประสงค์จะฟังเสียงของ
เทพบุตรและเทพธิดาเหล่านั้น ที่ดำรงอยู่ในอัตภาพสมบัติเห็นปานนั้นว่า จักมี
เสียงอ่อนหวานอย่างไรหนอแล จึงเข้าไปเฝ้าพระทศพลแล้วทูลถามการบริกรรม
ทิพยโสตธาตุ. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ว่า สุนักขัตตะนั้น ไม่มีอุปนิสัย
แห่งทิพยโสตธาตุ จึงไม่ตรัสบอกการบริกรรมแก่เขา. เพราะพุทธเจ้าทั้งหลาย
ย่อมไม่ตรัสบริกรรมแก่ผู้เว้นจากอุปนิสสัย. เขาได้ผูกอาฆาตในพระผู้มีพระภาค
เจ้าแล้ว คิดว่า เราได้ทูลถามการบริกรรมถึงทิพยจักษุครั้งแรกกะพระสมณโค-
ดม พระองค์ได้ตรัสแก่เราว่า ทิพยจักษุบริกรรมนั้น จงสำเร็จ หรือว่าจง
อย่าสำเร็จ แต่เรายังทิพยจักษุบริกรรมนั้นเกิดขึ้นด้วยการทำของบุรุษจำเพาะ
ตนแล้ว จึงถามถึงการบริกรรมโสตธาตุ พระองค์ไม่ตรัสบอกการบริกรรรม
โสตธาตุนั้นแก่เรา ชะรอยพระองค์จะมีพระดำริอย่างนี้ว่า สุนักขัตตะนี้บวช
จากราชตระกูล ยังทิพยจักษุญาณให้เกิดขึ้นแล้ว ยังทิพยโสตธาตุญาณให้เกิด
ยังเจโตปริยญาณให้เกิด ยังญาณในความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายให้เกิดแล้ว

71
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 72 (เล่ม 18)

จักทัดเทียมเราแน่แท้ พระองค์จึงไม่ตรัสบอกแก่เราด้วยอำนาจแห่งความ
ริษยาและความตระหนี่ ดังนี้. สุนักขัตตะผูกอาฆาตโดยประมาณยิ่งแล้ว ทิ้งผ้า
กาสายะทั้งหลายแล้วแม้ถึงความเป็นคฤหัสถ์ ก็ยังไม่นิ่งเที่ยวไป. แต่เขากล่าว
ตู่พระทศพล ด้วยความเปล่าไม่เป็นจริงเที่ยวไป. เพราะเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วาจานั้นเขากล่าวเพราะความโกรธ ดังนี้. บทว่า
วณฺโณ เหโส สารีปฺตฺต ความว่า ดูกรสารีบุตร ตถาคตบำเพ็ญบารมี
ทั้งหลายอยู่สิ้นสื่อสงไขย ยิ่งด้วยแสนกัป ได้กระทำความพยายามเพื่อประโยชน์
แห่งบารมีเหล่านั้น เทศนาธรรมของเราจักเป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ได้
เพราะฉะนั้น ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ ผู้นั้นชื่อว่า กล่าวสรรเสริญตถาคตนั่นเทียว.
พระองค์ทรงแสดงว่า ดูก่อนสารีบุตร ก็การสรรเสริญนั้นเป็นคุณ นั้นเป็นคุณ
ของตถาคต. ทรงแสดงอะไรด้วยบทเป็นต้นว่า อยํปิ หิ นาม สารีปุตฺต
ดังนี้. ทรงแสดงความที่อุตตริมนุษยธรรม ที่สุนักขัตตะปฏิเสธมีอยู่ในพระองค์.
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภเทศนานี้ โดยนัยว่า อยํปิ หิ นาม
สารีปุตฺต เป็นต้น เพื่อทรงแสดงอรรถนั้นว่า ดูก่อนสารีบุตร สุนักขัตตะนี้
เป็นโมฆบุรุษ ย่อมกล่าวว่า อุตตริมนุษยธรรมของพระตถาคตไม่มี ดังนี้
ก็เรามีสัพพัญญุตญาณ มีอิทธิวิธญาณ มีทิพยโสตธาตุญาณ มีเจโตปริยญาณ
มีทศพลญาณ มีจตุเวสารัชชญาณ มีญาณที่ไม่ครั้นคร้ามในบริษัทแปด
มีญาณกำหนดกำเนิดสี่ มีญาณกำหนดคติห้า ก็ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมด
ก็คือ อุตตริมนุษยธรรมนั้นเทียว ก็ธรรมดา แม้สักว่า ความคล้อยตาม
ธรรมที่สามารถรู้อุตตริมนุษยธรรมแม้ข้อหนึ่งในบรรดาอุตตริมนุษยธรรมเห็น
ปานนี้ จักไม่มีแก่โมฆบุรุษนั้น ดังนี้. ในบทเหล่านั้น ชื่อว่า อันวยะ
เพราะอรรถว่า คล้อยตาม อธิบายว่ารู้คือรู้ตาม ความคล้อยตามธรรม ชื่อ
ธัมมันวยะ. นั้นเป็นชื่อของปัญญาเป็นเครื่องรู้ธรรมมีสัพพัญญุตญาณ
เป็นต้นนั้น ๆ. ทรงแสดงว่า แม้ธัมมันวยะ จักไม่มีแก่โมฆบุรุษนั้น เพื่อ

72