No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 208 (เล่ม 2)

กถาว่าด้วยผู้รับของฝาก
ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้รับของฝาก เพราะอรรถว่า รักษาทรัพย์ที่เขานำมา
ฝากไว้. ภิกษุรูปใด อันชนอื่น กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ! ช่วยดูแลทรัพย์นี้
สักครู่ จนกว่ากระผมจะทำกิจชื่อนี้ แล้วกลับมา ได้รักษาทรัพย์ที่เขานำมา
ในสถานที่อยู่ของตนไว้, คำว่า โอณิรกฺโข นั่น เป็นชื่อของภิกษุผู้รับของ
ฝากนั้น. เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ที่ชื่อว่า
ภิกษุผู้รับของฝาก ได้แก่ ภิกษุผู้รักษาทรัพย์ที่เขานำมาฝากไว้ ดังนี้.
ในเรือนนั้น ภิกษุผู้รับของฝาก ไม่ได้แก้ห่อสิ่งของที่เจ้าของเขาผูก
มัดตราสินออกเลย โดยส่วนมาก ตัดแต่กระสอบหรือห่อข้างล่างออกแล้ว
ถือเอาแต่เพียงเล็กน้อย ทำการเย็บเป็นต้น ให้เป็นปกติเดิมอีก สำหรับภิกษุ
ผู้คิดว่า เราจักถือเอาด้วยอาการอย่างนั้น แล้วทำการจับต้องเป็นต้น พึงทราบว่า
เป็นอาบัติตามสมควร ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยภิกษุผู้รับของฝาก

208
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 209 (เล่ม 2)

กถาว่าด้วยการชักชวนกันลัก
การชักชวนกันลัก ชื่อว่า สังวิธาวหาร. มีคำอธิบายว่า การลักที่ทำ
ด้วยความสมรู้ร่วมคิดกะกันและกัน.
บทว่า สํวิทหิตฺวา มีความว่า ปรึกษาหารือกัน ด้วยความเป็นผู้
ร่วมฉันทะกัน คือ ด้วยความเป็นผู้ร่วมอัธยาศัยกัน.
[ ภิกษุหลายรูปชวนกันไปลักทรัพย์ ต้องอาบัติหมดทุกรูป ]
วินิจฉัยในสังวิธาวหารนั้น ดังนี้ ภิกษุหลายรูปด้วยกัน ชักชวนกันว่า
พวกเราจักไปเรือน ชื่อโน้น จักทำลายหลังคา หรือฝา หรือจักตัดที่ต่อลัก
ของ. ในภิกษุเหล่านั้น รูปหนึ่งลักของได้, เป็นปาราชิกแก่ภิกษุทั้งหมด ใน
ขณะยกภัณฑะนั้นขึ้น. จริงอยู่ แม้ในคัมภีร์ปริวาร พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้
ตรัสคำนี้ว่า
๔ คน ได้ชวนกันลักครุภัณฑ์ ๓ คน
เป็นปาราชิก คนหนึ่งไม่เป็นปาราชิก
ปัญหานี้ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว*.
เนื้อความแห่งคำนั้น พึงทราบดังนี้ ๔ คน คือ อาจารย์กับอันเตวาสิก
เป็นผู้ใคร่จะลักครุภัณฑ์ ราคา ๖ มาสก. ใน ๔ คนนั้นอาจารย์สั่งว่า คุณจง
ลัก ๑ มาสก คุณจงลัก ๑ มาสก คุณจงลัก ๑ มาสก ฉันจักลัก ๓ มาสก.
ฝ่ายบรรดาอันเตวาสิกทั้งหลาย อันเตวาสิกรูปหนึ่ง กล่าวว่า ใต้เท้าจงลัก ๓
มาสก นะขอรับ ! คุณจงลัก ๑ มาสก คุณจงลัก ๑ มาสก ผมจักลัก ๑ มาสก
แม้อันเตวาสิก ๒ รูปนอกจากนี้ ก็ได้กล่าวอย่างนั้นเหมือนกัน. บรรดาชน
* วิ. ปริวาร. ๘/๕๓๐.

209
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 210 (เล่ม 2)

๔ คนนั้น มาสกหนึ่งของอันเตวาสิกคนหนึ่ง ๆ ในพวกอันเตวาสิก เป็นสาหัต-
ถิกอวหาร, เป็นอาบัติทุกกฏแก่อันเตวาสิกทั้ง ๓ คนนั้น ด้วยมาสกหนึ่งนั้น.
๕ มาสกเป็นอาณัตติกอวหาร, เป็นปาราชิกแก่อันเตวาสิกทั้ง ๓ คนด้วย ๕
มาสกนั้น. ส่วน ๓ มาสก ของอาจารย์ เป็นสาหัตถิกะ, เป็นถุลลัจจัยแก่
อาจารย์นั้น ด้วย ๓ มาสกนั้น. ๓ มาสกเป็นอาณัตติกะ. แม้ด้วย ๓ มาสกนั้น
ก็เป็นถุลลัจจัยเหมือนกัน. จริงอยู่ ในอทินนาทานสิกขาบทนี้ สาหัตถิกะไม่
เป็นองค์ของอาณัตติยะ หรืออาณัตติยะไม่เป็นองค์ของสาหัตถิกะ. แต่สาหัตถิยะ
พึงปรับรวมกับสาหัตถิยะด้วยกันได้. อาณัตติยะพึงปรับรวมกับอาณัตติยะด้วย
กันได้. เพราะเหตุนั้นแล ท่านจึงกล่าวว่า
๔ คน ได้ชวนกันลักครุภัณฑ์ ๓ คน
เป็นปาราชิก คนหนึ่งไม่เป็นปาราชิก ปัญหา
นี้ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว.*
อีกอย่างหนึ่ง เพื่อไม่ฉงนในสังวิธาวหาร พึงกำหนดจตุกกะแม้นี้
โดยใจความ คือ ของสิ่งเดียว มีฐานเดียว ของสิ่งเดียว มีหลายฐาน ของ
หลายสิ่ง มีฐานเดียว ของหลายสิ่ง มีหลายฐาน. ในจตุกกะนั้น ข้อว่า
ของสิ่งเดียว มีฐานเดียว นั้น คือ ภิกษุหลายรูป เห็นของมีราคา ๕ มาสก
ซึ่งเขาวางไว้ไม่มิดชิด ที่กระดานร้านตลาด ของสกุลหนึ่ง จึงบังคับภิกษุ
รูปหนึ่งว่า คุณจงไปลักของสิ่งนั้น เป็นปาราชิกแก่ภิกษุทั้งหมด ในขณะที่ยก
ภัณฑะขึ้นนั้น.
ข้อว่า ของสิ่งเดียว มีหลายฐาน นั้น คือ ภิกษุหลายรูปเห็นมาสก
ซึ่งเขาวางไว้ไม่มิดชิด บนกระดานร้านตลาดห้าแผ่น ๆ ละมาสก ของสกุลหนึ่ง
* วิ. ปริวาร. ๘/๕๓๐.

210
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 211 (เล่ม 2)

จึงสั่งบังคับภิกษุรูปหนึ่งว่า คุณจงไปลักมาสกเหล่านั้น เป็นปาราชิกแก่ทุกรูป
ในขณะที่ยกมาสกที่ ๕ ขึ้น.
อ้างว่า ของหลายสิ่ง มีฐานเดียว นั้น คือ ภิกษุหลายรูปเห็นของมี
ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก เป็นของ ๆ คนหลายคน ซึ่งวางไว้
ล่อแหลมในที่เดียวกัน จึงสั่งบังคับภิกษุรูปหนึ่งว่า คุณจงไปลักของนั้น เป็น
ปาราชิกแก่ทุกรูป ในขณะยกภัณฑะนั้นขึ้น.
ข้อว่า ของหลายสิ่ง มีหลายฐาน นั้น คือ ภิกษุหลายรูปเห็นมาสก
ของห้าสกุล ๆ ละหนึ่งมาสกซึ่งวางไว้ล่อแหลม บนกระดานร้านตลาดห้าแผ่น ๆ
ละหนึ่งมาสก จึงสั่งบังคับภิกษุรูปหนึ่งว่า คุณจงไปลักมาสกเหล่านั้น. เป็น
ปาราชิกแก่ทุกรูป ในขณะที่ยกมาสกที่ ๕ ขึ้น ด้วยประการฉะนี้.
จบกถาว่าด้วยการชักชวนกันลัก

211
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 212 (เล่ม 2)

กถาว่าด้วยการนัดหมาย
กรรมเป็นที่หมายรู้กัน ชื่อว่า สังเกตกรรม. อธิบายว่า การทำ
ความหมายรู้กัน ด้วยอำนาจกำหนดเวลา. ก็ในสังเกตกรรมนี้ เมื่อภิกษุผู้ใช้
สั่งว่า คุณจงลักในเวลาก่อนอาหาร ภิกษุผู้รับใช้จะลักในเวลาก่อนอาหารวันนี้
หรือพรุ่งนี้ หรือในปีหน้าก็ตามที, ความผิดสังเกตย่อมไม่มี, เป็นปาราชิก
แม้แก่เธอทั้ง ๒ รูป ตามนัยที่กล่าวแล้ว ในภิกษุผู้คอยกำหนดสั่งนั่นแล. แต่
เมื่อภิกษุผู้ใช้สั่งว่า คุณจงลักในเวลาก่อนอาหารวันนี้ ภิกษุผู้รับใช้ ลักในวัน
พรุ่งนี้, สิ่งของนั้น ย่อมเป็นอันภิกษุผู้รับใช้ลักมาภายหลัง ล่วงเลยกำหนด
หมายนั้น ที่ผู้ใช้กำหนดไว้ว่า วันนี้, ถ้าเมื่อภิกษุผู้ใช้สั่งว่า จงลักในเวลา
ก่อนอาหารพรุ่งนี้ ภิกษุผู้รับใช้ลักในเวลาก่อนอาหารวันนี้, สิ่งของนั้นย่อม
เป็นอันผู้รับใช้ลักมาเสียก่อน ยังไม่ทันถึงกำหนดหมายนั้น ที่ผู้ใช้กำหนดว่า
พรุ่งนี้, เป็นปาราชิก เฉพาะภิกษุผู้ลัก ซึ่งลักด้วยอวหารอย่างนั้นเท่านั้น,
ไม่เป็นอาบัติแก่ผู้ใช้ซึ่งเป็นต้นเหตุ ในเมื่อผู้ใช้สั่งว่า จงลักในเวลาก่อนอาหาร
พรุ่งนี้. ฝ่ายภิกษุผู้รับใช้ ลักในวันนั้นนั่นเอง หรือในเวลาหลังอาหารพรุ่งนี้
พึงทราบว่า ลักมาเสียก่อนและภายหลัง การนัดหมายนั้น. แม้ในเวลาหลัง
อาหารกลางคืนและกลางวัน ก็มีนัยเหมือนกันนี้. ก็ในสังเกตกรรมนั้น พึง
ทราบความถูกนัดหมาย และความผิดการนัดหมาย แม้ด้วยอำนาจแห่งเวลา
มีปุริมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม กาลปักข์ ชุณหปักข์ เดือน ฤดู และปี
เป็นต้น.

212
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 213 (เล่ม 2)

ถามว่า เมื่อภิกษุผู้ใช้สั่งว่า จงลักในเวลาก่อนอาหาร ภิกษุผู้รับใช้
พยายามอยู่ ด้วยอันคิดว่า จักลักในเวลาก่อนอาหารนั่นเอง และสิ่งของนั้น
ย่อมเป็นอันเธอลักมาได้ ในเวลาหลังอาหาร; ในอวหารข้อนี้ เป็นอย่างไร ?
แก้ว่า พระมหาสุมเถระ กล่าวไว้ก่อนว่า นั่นเป็นประโยคในเวลา
ก่อนอาหารแท้; เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้สั่งซึ่งเป็นต้นเหตุ ย่อมไม่พ้น. ส่วน
พระมหาปทุมเถระ กล่าวว่า ชื่อว่าผิดการนัดหมาย เพราะล่วงเลยกำหนดกาล
ไป; เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้สั่งซึ่งเป็นต้นเหตุจึงรอดตัวไป.
จบกถาว่าด้วยการนัดหมาย
กถาว่าด้วยการทำนิมิต
การทำนิมิตบางอย่าง เพื่อให้เกิดความหมายรู้ ชื่อว่า นิมิตกรรม.
นิมิตกรรมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ๓ อย่าง โคuนัยเป็นต้นว่า
เราจักขยิบตา ก็ดี. ก็การทำนิมิตแม้อย่างอื่น มีเป็นอเนกประการเป็นต้นว่า
แกว่งไกวมือ ปรบมือ ดีดนิ้วมือ เอียงคอลงไอ และกระแอม พึงสงเคราะห์
เข้าในนิมิตกรรมนี้ ส่วนคำที่เหลือในนิมิตกรรมนี้ มีนัยดังกล่าวแล้วในสังเกต-
กรรมนั้นทีเดียวแล.
จบกถาว่าด้วยการทำนิมิต

213
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 214 (เล่ม 2)

กถาว่าด้วยการสั่ง
บัดนี้ เพื่อความไม่ฉงนในสังเกตกรรม และนิมิตกรรมเหล่านี้นั่นเอง
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกฺขุ อาณาเปติ ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า โส ตํ มญฺญมาโน ความว่า
ภิกษุผู้ลุกนั้น เข้าใจทรัพย์ที่ภิกษุผู้สั่ง บอกทำนิมิตเครื่องหมายไว้ว่า เป็น
ทรัพย์นั้น จึงลักทรัพย์นั้นนั่นแล. เป็นปาราซิกทั้ง ๒ รูป.
หลายบทว่า โส ตํ มญฺญมาโน อญฺญํ ความว่า ภิกษุผู้ลักนั้น
เข้าใจทรัพย์ที่ภิกษุผู้สั่งๆ ให้ลัก ว่า เป็นทรัพย์นั่น แต่ลักทรัพย์อื่นที่เขาเก็บไว้
ในที่นั้นนั่นแล. ภิกษุผู้สั่งซึ่งเป็นต้นเหตุ ไม่เป็นอาบัติ.
หลายบทว่า อญฺญํ มญฺญมาโน ตํ ความว่า ภิกษุผู้ลักเข้าใจ
ทรัพย์อื่นที่ภิกษุผู้สั่ง ทำนิมิตเครื่องหมายบอกไว้อย่างนี้ว่า ทรัพย์นี้มีราคาน้อย,
แต่ทรัพย์อย่างอื่น ที่เขาเก็บไว้ในที่ใกล้ทรัพย์นั้นนั่นเอง เป็นทรัพย์ที่มีคุณค่า
ดังนี้ จึงลักทรัพย์นั้นนั่นเอง เป็นปาราชิก ทั้ง ๒ รูป
หลายบทว่า อญฺญํ มญฺญมาโน อญฺญํ ความว่า ภิกษุผู้ลักนั้น
ย่อมเข้าใจโดยนัยก่อนนั่นแลว่า ทรัพย์อย่างอื่นนี้. ที่เขาเก็บไว้ในที่ใกล้ทรัพย์
นั้นนั่นเอง เป็นทรัพย์ที่มีคุณค่า ดังนี้, ถ้าทรัพย์ที่ลักมานั้นเป็นทรัพย์อย่างอื่น
นั่นแล, เป็นปาราชิกแก่เธอผู้ลักเท่านั้น.
ในคำว่า อิตฺถนฺามสฺส ปาวท เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- พึงเห็น
อาจารย์รูปหนึ่ง อันเตวาสิก ๓ รูป มีชื่อว่า พุทธรักขิต ธรรมรักขิต และ
สังฆรักขิต.

214
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 215 (เล่ม 2)

บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า ภิกขุ ภิกขุํ อาณาเปติ ความว่า
อาจารย์กำหนดทรัพย์บางอย่าง ในสถานที่บางแห่ง แล้วสั่งพระพุทธรักขิต
เพื่อต้องการลักทรัพย์นั้น.
สองบทว่า อิตฺถนฺนามสฺส ปาวท ความว่า (อาจารย์สั่งว่า) ดูก่อน
พุทธรักขิต ! คุณจงไปบอกเนื้อความนั่นแก่พระธรรมรักขิต.
หลายบทว่า อิตฺถนฺนาโม อิตฺถนฺนามสฺส ปาวทตุ ความว่า
แม้พระธรรมรักขิต จงบอกแก่พระสังฆรักขิต.
พระธรรมรักขิตถูกท่านสั่งอย่างนี้ว่า ภิกษุชื่อนี้ จงลักสิ่งของชื่อนี้
แล้วสั่งพระสังฆรักขิตว่า จงลักสิ่งของชื่อนี้ ; แท้จริงบรรดาเราทั้งสอง ท่าน
สังฆรักขิต เป็นคนมีชาติกล้าหาญสามารถในกรรมนี้.
สองบทว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส ความว่า เป็นทุกกฏ แก่อาจารย์
ผู้สั่งอย่างนี้ก่อน. แต่ถ้าคำสั่งนั้น ดำเนินไปตามความประสงค์ ถุลลัจจัยท่าน
ปร้บไว้ข้างหน้านั่นแล ย่อมมีในขณะสั่ง, ถ้าสิ่งของนั้นจะต้องลักมาได้แน่นอน,
ปาราชิกที่ตรัสไว้ข้างหน้าว่า ทุกรูปต้องปาราชิก ดังนี้ ย่อมมีแก่อาจารย์นี้ใน
ขณะนั้นนั่นเอง เพราะดำรัสที่ตรัสไว้นั้น, ความยุกตินี้ บัณฑิตพึงทราบในที่
ทั้งปวง ด้วยประการอย่างนี้.
หลายบทว่า โส อิตรสฺส อาโรเจติ ความว่า ภิกษุผู้รับสั่งบอกว่า
พระพุทธรักขิต บอกพระธรรมรักขิต และพระธรรมรักขิต บอกพระสังฆ-
รักขิตว่า อาจารย์ของพวกเรา กล่าวอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า คุณจงลักทรัพย์ชื่อนี้
ได้ยินว่า บรรดาเราทั้ง ๒ ตัวท่านเป็นบุรุษผู้กล้าหาญ ดังนี้, เป็นทุกกฏ
แม้แก่เธอเหล่านั้น เพราะมีการบอกต่อกันไป ด้วยอาการอย่างนั้นเป็นปัจจัย.
สองบทว่า อวหารโก ปฏิคฺคณฺหาติ ความว่า พระสังฆรักขิต
รับว่า ดีละ ผมจักลัก.

215
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 216 (เล่ม 2)

หลายบทว่า มูลฏฺฐสฺส อาปตฺติ ถุลฺลจฺจยสฺส ความว่า พอ
พระสังฆรักขิตรับคำสั่ง เป็นถุลลัจจัย แก่อาจารย์, เพราะคนหลายคนถูก
อาจารย์นั้นชักชวนแล้ว ในบาปแล.
หลายบทว่า โส ตํ ภณฺฑํ ความว่า ถ้าภิกษุนั้น คือ พระสังฆรักขิต
ลักสิ่งของนั้นมาได้ไซร้, เป็นปาราชิกทั้งหมด คือ ทั้ง ๔ คน, และหาเป็น
ปาราชิกแก่ ๔ คน อย่างเดียวไม่, สมณะตั้งร้อย หรือสมณะตั้งพันก็ตาม
ที่สั่งโดยสืบต่อกันไป ไม่ทำให้ผิดการนัดหมาย โดยอุบายยอย่างนั้น เป็นปาราชิก
ด้วยกันทั้งหมดทีเดียว.
ในทุติยวาร พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :-
หลายบทว่า โส อญฺญํ อาณาเปติ ความว่า ภิกษุนั้น คือ
พระพุทธรักขิต อันอาจารย์สั่งไว้แล้ว แต่ไม่พบพระธรรมรักขิต หรือเป็นผู้
ไม่อยากจะบอก จึงเข้าไปหาพระสังฆรักขิตทีเดียว แล้วสั่งว่า อาจารย์ของ
พวกเราสั่งไว้อย่างนี้ว่า ได้ยินว่า คุณจงลักสิ่งของชื่อนี้มา.
สองบทว่า อาปตฺดิ ทุกฺกฏสฺส ความว่า พระพุทธรักขิต ชื่อว่า
เป็นทุกกฏ เพราะสั่งก่อน.
หลายบทว่า ปฏิคฺคณฺหาติ อาปตฺติ ทุกฺกฏฺสฺส ความว่า พึง
ทราบว่า เป็นทุกกฏ แก่ภิกษุผู้สั่ง ซึ่งเป็นต้นเติมทีเดียว ในเมื่อพระสังฆรักขิต
รับแล้ว. ก็ถ้าพระสังฆรักขิตนั้น ลักทรัพย์นั้นมาได้, เป็นปาราชิก แม้ทั้ง
สองรูป คือ พระพุทธรักขิตผู้สั่ง ๑ พระสังฆรักขิตผู้ลัก ๑. แต่สำหรับอาจารย์
ผู้สั่งซึ่งเป็นต้นเดิม ไม่เป็นอาบัติปาราชิก เพราะผิดสังเกต. ไม่เป็นอาบัติ
ทุกอย่าง แก่พระธรรมรักขิตเพราะไม่รู้. ส่วนพระพุทธรักขิตทำความสวัสดี
แก่ท่านทั้งสองรูปแล้ว ตนเองพินาศ.

216
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 217 (เล่ม 2)

บรรดาอาณัติวาร ทั้ง ๔ บท ถัดจากทุติยวารนี้ไป พึงทราบวินิจฉัย
ในอาณัติวารข้อแรกก่อน.
หลายบทว่า โส คนฺตวา ปุน ปจฺจาคจฺฉติ ความว่า ภิกษุผู้รับสั่ง
นั้น ไปยังทรัพย์ตั้งอยู่แล้ว เห็นมีการอารักขาไว้ ทั้งภายในและภายนอก
ไม่อาจลักเอาได้ จึงกลับมา.
หลายบทว่า ยทา สกฺโกสิ ตทา ความว่า ภิกษุผู้สั่งนั้น สั่งใหม่ว่า
ทรัพย์ที่ท่านลักมาแล้วในวันนี้เท่านั้นหรือ จึงเป็นอันลัก, ไปเถิดท่าน ท่าน
อาจจะลักมาได้ เมื่อใด, ก็จงลักทรัพย์นั้นมา เมื่อนั้น.
สองบทว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส ความว่า แม้เพราะสั่งอีกอย่างนั้น
ก็เป็นทุกกฏเท่านั้น. แต่ถ้าทรัพย์นั้น ย่อมเป็นของที่จะลักมาได้แน่นอน. ชื่อว่า
เจตนาที่ให้สำเร็จประโยชน์ ก็เป็นเช่นกับผลที่เกิดในลำดับแห่งมรรค; เพราะ
ฉะนั้น ภิกษุผู้สั่งนี้ เป็นปาราชิกในขณะสั่งทีเดียว. แม้ถ้าภิกษุผู้ลัก จะลัก
ทรัพย์นั้นมาได้ โดยล่วงไป ๖๐ ปี และภิกษุผู้สั่ง จะทำกาลกิริยา หรือสึก
ไปเสียในระหว่างนั่นเอง จักเป็นผู้ไม่ใช่สมณะเลย ทำกาลกิริยา หรือจักสึกไป,
แต่สำหรับภิกษุผู้ลัก ย่อมเป็นปาราชิกในขณะที่ลักนั่นเอง.
ในทุติยวาร เพราะภิกษุผู้สั่งซึ่งเป็นต้นเหตุพูดคำนั้นเบา ๆ ไม่ได้
ประกาศให้ได้ยิน หรือไม่ได้ประกาศให้ได้ยินคำสั่งนี้ว่า เธออย่าลัก เพราะ
เธอผู้เป็นต้นเหตุนั้น เป็นคนหูหนวก; ฉะนั้น ภิกษุผู้สั่งซึ่งเป็นต้นเหตุ จึง
ไม่พ้น. ส่วนในตติยวารชื่อพ้น เพราะท่านประกาศให้ได้ยิน. ในจตุตถวาร
แม้ทั้งสองรูปพ้นได้ เพราะภิกษุผู้สั่งซึ่งเป็นต้นเหตุนั้น ประกาศให้ได้ยิน และ
เพราะภิกษุผู้รับสั่งนอกนี้ รับคำว่า ดีละ แล้วก็งดเว้นเสีย ด้วยประการฉะนี้.
จบกถาว่าด้วยการสั่ง

217