No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 198 (เล่ม 2)

ถูกภยันตราย มีโจร ช้าง ราชสีห์ และเสือโคร่งเป็นต้น ลุกวิ่งไล่ติดตามไป
ก็ดี เห็นมหาเมฆตั้งเค้าขึ้นแล้ว ประสงค์จะเข้าไปยังศาลาข้างหน้าก็ดี ล่วงเลย
สถานที่นั้นไป; เป็นอันได้ข้ออ้างเหมือนกัน.
ในคำว่า ภิกษุหลบเลี่ยงภาษี นี้ ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถากุรุนที่ว่า
ถึงภิกษุก้าวลงสู่อุปจารแล้วหลบเลี่ยงไป ก็จริง ก็เป็นอวหารทีเดียว. แต่ใน
มหาอรรถกถา ท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อภิกษุเล็งเห็นโทษอย่างเดียวว่า พวกราช-
บุรุษ เบียดเบียนผู้หลบเลี่ยง ดังนี้ จึงก้าวลงสู่อุปจารแล้ว หลบเลี่ยงไปเป็น
ทุกกฏ, เมื่อไม่ได้ก้าวลงเลย แต่หลบเลี่ยงไป ไม่เป็นอาบัติ. คำในมหา
อรรถกถานี้ ย่อมสมด้วยพระบาลี. ในด่านภาษีนี้ ควรกำหนดอุปจารไว้ ๒
เลฑฑุบาต ฉะนั้นแล.
จบกถาว่าด้วยด่านภาษี

198
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 199 (เล่ม 2)

กถาว่าด้วยสัตว์มีชีวิต
ถัดจากกถาด่านภาษีนี้ไป พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงสัตว์
ที่มีชีวิต ซึ่งพอควรแก่อวหารโดยส่วนเดียว จึงตรัสว่า มนุสฺสปาโณ เป็นต้น.
เมื่อภิกษุลักมนุษย์ผู้ยังมีชีวิตแม้นั้น ซึ่งเป็นไทไป ย่อมไม่เป็นอวหาร. แม้
มนุษย์ผู้เป็นไทคนใด ถูกมารดาหรือบิดาเอาไปจำนำไว้ หรือตัวเองเอาตัว
เป็นประกันไว้ แล้วได้ถือเอาทรัพย์ ๕๐ หรือ ๖๐ กหาปณะไป, เมื่อภิกษุลัก
เอามนุษย์ผู้เป็นไทแม้คนนั้นไป ก็ไม่เป็นอวหาร. ส่วนทรัพย์ย่อมเพิ่มดอกเบี้ย
ขึ้นในสถานที่เขาไป. แต่เมื่อภิกษุลักทาสนั่นแล ต่างโดยเป็นทาสที่เกิดใน
เรือนเบี้ย ทาสสินไถ่และทาสที่ถูกนำมาเป็นเชลย ย่อมเป็นอวหาร. จริงอยู่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอาทาสผู้เกิดในเรือนเบี้ยเป็นต้น นั้นนั่นแล จึง
ตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ที่ชื่อว่าสัตว์มีชีวิต เราเรียกคนยังมีชีวิต ดังนี้.
[ บุคคลผู้เป็นทาส ๓ จำพวก ]
ก็บรรดาทาสเหล่านั้น ทาสที่เกิดในท้องของนางทาสี ในเรือนพึงทราบ
ว่า อันโตชาตกะ ทาสที่เกิดภายใน. ทาสที่ซื้อมาด้วยทรัพย์ พึงทราบว่า
ธนักกีตกะ ทาสที่ไถ่มาด้วยทรัพย์, บุคคลที่ถูกกวาดต้อนมาจากต่างประเทศ
แล้วเข้าถึงความเป็นทาส พึงทราบว่า กรมรานีตะ ทาสที่ถูกนำมาเป็นเชลย.
ภิกษุคิดว่า เราจักลักมนุษย์ที่มีชีวิตเห็นปานนี้ไป แล้วลูบคลำ ต้องทุกกฏ.
เมื่อเธอจับที่มือ หรือเท้ายกขึ้น ทำให้ไหว ต้องถุลลัจจัย. เธอใคร่จะยกหนีไป
ให้ล่วงเลยจากสถานที่ ๆ ยืนอยู่ แม้เพียงปลายเส้นผมไป ต้องปาราชิก. เธอ
จับที่ผมหรือที่แขนทั้งสอง ฉุดคร่าไป พึงปรับตามย่างเท้า. ภิกษุคิดว่า เราจัก

199
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 200 (เล่ม 2)

พาเดินไป ขู่หรือตี พลางพูดว่า แกจงไปจากที่นี้. เมื่อเขาไปยังทิศาภาค
ตามที่ภิกษุนั้นสั่ง เธอต้องปาราชิกในย่างเท้าที่ ๒. แม้ภิกษุเหล่าใด มีฉันทะ
ร่วมกับภิกษุนั้น เป็นปาราชิก ในขณะเดียวกันแก่ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด. ภิกษุ
เห็นทาสแล้ว ถามถึงสุขทุกข์ หรือไม่ถามก็ตาม พูดว่า แกจงไป จงหนีไป
อยู่เป็นสุขเถิด ถ้าทาสคนนั้นหนีไปไซร้ เธอต้องปาราชิกในย่างเท้าที่ ๒.
ภิกษุรูปอื่น พูดกะทาสคนนั้น ผู้เข้ามาสู่สำนักของตนว่า แกจงหนีไป. ถ้าภิกษุ
ตั้งร้อยรูป พูดกะทาสผู้เข้ามาสู่สำนักของตน ๆ ตามลำดับ, ก็เป็นปาราชิก
ด้วยกันทั้งหมด. ส่วนภิกษุรูปใด พูดกะทาสผู้กำลังวิ่งหนีไปนั่นเองว่า แกจง
หนีไป ตลอดเวลาที่เจ้าของยังจับแกไม่ได้, เธอรูปนั้นไม่ต้องอาบัติปาราชิก.
แต่ถ้าเธอพูดกะทาสค่อย ๆ เดินไป, และทาสคนนั้นรีบจ้ำเดินไป ตามคำ
ของภิกษุนั้น, เป็นปาราชิก, เมื่อภิกษุเห็นทาส ผู้หนีไปยังบ้านหรือประเทศอื่น
แล้วไล่ให้หนีไป แม้จากที่นั้น เป็นปาราชิกเหมือนกัน. ชื่อว่า อทินนาทาน
ย่อมพ้นได้โดยปริยาย.
จริงอยู่ ภิกษุรูปใด พูดอย่างนี้ว่า เธอทำอะไรอยู่ในที่นี้ ? เธอหนีไป
ไม่ควรหรือ? ก็ดี ว่า การที่เธอไปในที่ไหน ๆ แล้ว มีชีวิตอยู่อย่างสบาย
ไม่ควรหรือ? ก็ดี ว่า พวกทาสและสาวใช้พากันหนีไปยังประเทศชื่อโน้นแล้ว
ย่อมเป็นอยู่อย่างสบาย ก็ดี, และเขาได้ฟังคำพูดของภิกษุนั้นแล้ว ก็หนีไป,
ย่อมไม่เป็นอวหาร. ฝ่ายภิกษุใด พูดว่า พวกอาตมา จะไปยังประเทศชื่อโน้น,
ผู้ไปในประเทศนั้นแล้ว ย่อมเป็นอยู่อย่างสบาย และเมื่อพวกท่านไปพร้อม
กับพวกอาตมา จะไม่มีความลำบาก ด้วยเสบียงทางเป็นต้น แม้ในระหว่างทาง
ดังนี้แล้ว พาเอาทาสผู้มาพร้อมกับตนไป, ภิกษุรูปนั้น ไม่ต้องปาราชิกด้วย

200
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 201 (เล่ม 2)

ไถยจิต ทั้งอวหารก็ไม่มีเลย เพราะอำนาจแห่งการเดินทาง และเมื่อมีพวก
โจรดักอยู่ในระหว่างทาง แม้เมื่อภิกษุกล่าวว่า เฮ้ย ! พวกโจรซุ่มดักแล้ว,
แกจงรีบหนีไป จงรีบมาไป ดังนี้ พระอาจารย์ทั้งหลาย ก็ไม่ปรับเป็นอวหาร
เพราะเธอกล่าวเพื่อต้องการให้พ้นจากอันตรายแต่โจร ด้วย ประการฉะนี้.
จบกถาว่าด้วยสัตว์มีชีวิต
กถาว่าด้วยสัตว์ไม่มีเท้า
บรรดาสัตว์ไม่มีเท้าทั้งหลาย ที่ชื่อว่างู มีเจ้าของ คือ งูที่พวกหมองู
เป็นต้นจับไว้ เมื่อให้เล่น ย่อมได้ค่าดูกึ่งบาทบ้าง บาทหนึ่งบ้าง กหาปณะหนึ่ง
บ้าง, แม้เมื่อจะปล่อยออก ก็รับเอาเงินและทองแล้วแลจึงปล่อยออก. เจ้าของงู
เหล่านั้น ไปยังโอกาสที่ภิกษุบางรูปนั่งแล้ววางกล่องงูไว้ นอนหลับไป หรือ
ไปในที่ไหน ๆ เสีย. ถ้าภิกษุนั้นจับกล่องนั้นในสถานที่นั้น ด้วยไถยจิต ต้อง
ทุกกฏ. ทำให้ไหวต้องถุลลัจจัย, ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องปาราชิก. แต่ถ้าเธอ
เปิดกล่องออกแล้วจับงูที่คอ ต้องทุกกฏ, ยกงูขึ้นต้องถุลลัจจัย, เมื่อเธอยกขึ้น
ให้ตรง ๆ พอเมื่อหางงูพ้นจากพื้นกล่องเพียงปลายเส้นผม ก็ต้องปาราชิก. เมื่อ
เธอดึงครูดออกไป พอหางงูพ้นจากขอบปาก (กล่อง) ไป ต้องปาราชิก.

201
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 202 (เล่ม 2)

เธอเปิดปากกล่องออกนิดหน่อยแล้ว ตี หรือร้องเรียกออกชื่อว่า เฮ้ย ! จง
เลื้อยออกมา แล้วให้เลื้อยออก ต้องปาราชิก. เธอเปิดออกเหมือนอย่างนั้นแล้ว
จึงทำเสียงกบร้อง หรือเสียงหนูร้อง หรือโปรยข้าวตอกลงตาม แล้วร้องเรียก
ออกซึ่ง หรือดีดนิ้วมือก็ตาม แม้เมื่องูเลื้อยออกไป ด้วยกิริยาที่ทำเสียงเป็นต้น
อย่างนั้น ก็ต้องปาราชิก. เมื่อเธอไม่ได้เปิดปากออก แต่ได้ทำกิริยาอย่างนั้น
งูหิวจัด จึงชูศีรษะขึ้นดันฝากล่อง ทำช่องแล้วก็เลื้อยหนีไป เป็นปาราชิก
เหมือนกัน. แต่เมื่อเธอเปิดปากออกแล้ว งูเลื้อยออกหนีไปเสียเอง ย่อมเป็น
ภัณฑไทย. แม้ถ้าเธอเปิดปากออกก็ตาม ไม่ได้เปิดออกก็ตาม แต่ได้ทำเป็น
เสียงกบและเสียงหนูร้อง หรือโปรยข้าวตอกลงเท่านั้นอย่างเดียว ไม่ได้ร้อง
เรียกระบุชื่อ หรือไม่ได้ดีดนิ้วมือ, เพราะหิวจัด งูคิดว่า จักกินกบเป็นต้น
จึงเลื้อยออกหนีไป เป็นภัณฑไทยเหมือนกัน. ในอธิการนี้ ปลาอย่างเดียว
มาแล้วด้วย อปท ศัพท์. ก็คำที่จะพึงกล่าวในปลานี้ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้ว
ในภัณฑะตั้งอยู่ในน้ำนั่นเทียว ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยสัตว์ไม่มีเท้า

202
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 203 (เล่ม 2)

กถาว่าด้วยสัตว์ ๒ เท้า
บรรดาสัตว์สองเท้าทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดง
จำพวกสัตว์ ๒ เท้า ซึ่งใคร ๆ อาจลักเอาไปได้ จึงตรัสคำว่า มนุสฺสา
ปกฺขชาตา เป็นต้น. ส่วนพวกเทวดา ใคร ๆ ไม่อาจลักเอาไปได้. ที่ชื่อว่า
นก เพราะอรรถว่า สัตว์เหล่านั้นมีปีกเกิดแล้ว. สัตว์มีปีกเหล่านั้น มี ๓
จำพวก คือ มีขนเป็นปีกจำพวกหนึ่ง มีหนังเป็นปีกจำพวกหนึ่ง มีกระดูก
เป็นปีกจำพวกหนึ่ง, บรรดาสัตว์เหล่านั้น นกยูงและไก่เป็นต้น พึงทราบว่า
มีขนเป็นปีก, ค้างคาวเป็นต้น พึงทราบว่ามีหนังเป็นปีก, แมลงภู่เป็นต้น
พึงทราบว่า มีกระดูกเป็นปีก. ในอธิการนี้ มนุษย์และนกเหล่านั้นทั้งหมด
มาแล้วด้วยทวิปทศัพท์ล้วน ๆ. ส่วนคำที่จะพึงกล่าวในสัตว์ ๒ เท้านี้ ข้าพเจ้า
ได้กล่าวไว้แล้วในภัณฑะที่อยู่ในอากาศ และสัตว์มีชีวิตนั่นเทียว ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยสัตว์ ๒ เท้า

203
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 204 (เล่ม 2)

กถาว่าด้วยสัตว์ ๔ เท้า
พึงทราบวินิจฉัย ในสัตว์ ๔ เท้าต่อไป :- ชนิดแห่งสัตว์ ๔ เท้า
ทั้งหมด ที่เหลือจากที่มาในพระบาลี พึงทราบว่า ปศุสัตว์ สัตว์เลี้ยง. สัตว์
ทั้งหลายมีช้างเป็นต้น ปรากฏชัดแล้วแล. บรรดาสัตว์มีช้างเป็นต้นเหล่านั้น
เมื่อภิกษุลูบคลำช้างด้วยไถยจิต เป็นทุกกฏ. ทำให้ไหว เป็นถุลลัจจัย. ส่วน
ภิกษุรูปใด มีกำลังมาก ใช้ศีรษะทูนเอาลูกช้างตัวยังอ่อน ที่ต้นสะดือขึ้น
เพราะความเมากำลังให้เท้าทั้ง ๔ และงวงพ้นจากดินแม้เพียงปลายเส้นผม,
ภิกษุรูปนั้น ต้องปาราชิก. แต่ช้างบางเชือกเขาผูกขังไว้โนโรงช้าง, บางเชือก
ยืนอยู่ ไม่ได้ผูกเลย บางเชือกยืนอยู่ภายในที่อยู่, บางเชือกยืนอยู่ที่พระลาน
หลวง.
บรรดาช้างเหล่านั้น ช้างเชือกที่ผูกคอช้างไว้ในโรงช้าง มีฐาน ๕ คือ
เครื่องผูกที่คอ และเท้าทั้ง ๔. สำหรับช้างเชือกที่เขาเอาโซ่เหล็กผูกไว้ที่คอ
และที่เท้าข้างหนึ่ง มีฐาน ๖. ช้างเชือกที่เขาผูกไว้ที่คอและที่เท้าทั้ง ๒ มีฐาน ๗.
พึงทราบการทำให้ไหว และให้เคลื่อนจากฐาน ด้วยอำนาจแห่งฐานเหล่านั้น.
โรงช้างทั้งสิ้น เป็นฐานของช้างเชือกที่เขาไม่ได้ผูกไว้, เป็นปาราชิก ในเมื่อ
ให้ก้าวล่วงจากโรงช้างนั้นไป. พื้นที่ภายในที่อยู่ทั้งสิ้นนั่นแล เป็นฐานของ
ช้างเชือกยืนอยู่ภายในที่อยู่, เป็นปาราชิก ในเมื่อให้ล่วงเลยประตูที่อยู่ของช้าง
นั้นไป. พระนครทั้งสิ้นเป็นฐานของช้างเชือกที่ยืนอยู่ที่พระลานหลวง, เป็น
ปาราชิก ในเมื่อให้ช้างนั้นล่วงเลยประตูพระนครไป. สถานที่ยืนอยู่นั่นเอง
เป็นฐานของช้างเชือกที่ยืนอยู่ภายนอกพระนคร. ภิกษุเมื่อลักช้างนั้นไป พึง

204
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 205 (เล่ม 2)

ปรับด้วยอย่างเท้า. สำหรับช้างที่นอนอยู่ มีฐานเดียวเท่านั้น. เมื่อภิกษุไล่ให้
ช้างลุกขึ้น ด้วยไถยจิต พอช้างลุกขึ้นแล้ว เป็นปาราชิก, ถึงในม้า ก็มี
วินิจฉัยเหมือนกันนี้แล. แม้ถ้าม้านั้นถูกเขาล่ามไว้ที่เท้าทั้ง ๔ เทียว พึงทราบ
ว่ามีฐาน ๘. ถึงในอูฐก็มีนัยเช่นนี้. แม้โคบางตัวเป็นสัตว์ที่เขาผูกขังไว้ใกล้
เรือน. บางตัวยืนอยู่ไม่ได้ผูกไว้เลย, แต่บางตัว เขาผูกไว้ในคอก, บางตัว
ก็ยืนอยู่ไม่ได้ผูกไว้เลย.
บรรดาโคเหล่านั้น โคที่เขาผูกขังไว้ใกล้เรือน มีฐาน ๕ คือ เท้าทั้ง ๔
และเครื่องผูก. เรือนทั้งสิ้น เป็นฐานของโคที่ไม่ได้ผูก. โคที่เขาผูกไว้ในคอก
ก็มีฐาน ๕. คอกทั้งสิ้น เป็นฐานของโคที่ไม่ได้ผูก. ภิกษุให้โคนั้นล่วงเลย
ประตูคอกไป ต้องปาราชิก. เมื่อเธอทำลายคอกลักไปให้ล่วงเลยประตูคอกไป
เป็นปาราชิก เธอเปิดประตูออก หรือทำลายคอกแล้ว ยืนอยู่ข้างนอก แล้ว
ร้องเรียกออกชื่อ บังคับให้โคออกมา ต้องปาราชิก. แม้สำหรับภิกษุผู้แสดง
กิ่งไม้ที่หักได้ ให้โคเห็นแล้วเรียกมา ก็มีนัยเหมือนกันนั่นแหละ. เธอไม่ได้
เปิดประตู คอกก็ไม่ได้ทำลาย เป็นแต่สั่นกิ่งไม่ที่หักได้แล้วเรียกโคมา. โค
กระโดดออกมาเพราะความหิวจัด เป็นปาราชิกเหมือนกัน. แต่ถ้าเมื่อเธอเปิด
ประตูออก หรือทำลายคอกแล้ว โคก็ออกมาเสียเอง เป็นภัณฑไทย. เธอ
เปิดประตู หรือไม่ได้เปิดก็ตาม ทำลายคอก หรือไม่ได้ทำลายก็ตาม เป็น
แต่สั่นกิ่งไม่ที่หักได้อย่างเดียว ไม่ได้เรียกโค. โคเดินออกมาหรือกระโดดออก
มา เพราะความหิวจัด เป็นภัณฑไทยเหมือนกัน. โคที่เขาล่ามไว้กลางบ้าน
ยืนอยู่ตัวหนึ่ง นอนอยู่ตัวหนึ่ง. โคตัวที่ยืนอยู่มีฐาน ๕. ตัวที่นอนอยู่มีฐาน ๒.
พึงทราบการทำให้ไหว และให้เคลื่อนจากฐาน ด้วยอำนาจแห่งฐานเหล่านั้น.

205
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 206 (เล่ม 2)

ก็ภิกษุรูปใดไม่ได้ไล่ให้โคที่นอนอยู่ลุกขึ้น แต่ให้ฆ่าเสียในที่นั้นนั่นเอง เป็น
ภัณฑไทยแก่ภิกษุรูปนั้น. ก็บ้านทั้งสิ้น เป็นฐานของโคตัวยืนอยู่ในบ้านที่ได้
ประกอบประตูล้อมไว้เป็นอย่างดี สำหรับโคตัวที่ยืนอยู่ หรือที่เที่ยวไปในบ้าน
ซึ่งไม่ได้ล้อม สถานที่ ๆ เท้าทั้ง ๔ ย่ำไปย่ำมานั้น เอง เป็นฐาน. แม้ในสัตว์
ทั้งหลาย มีลา และปศุสัตว์เป็นต้น ก็มีวินิจฉัยเหมือนกันนี้นั่นแล.
จบกถาว่าด้วยสัตว์ ๔ เท้า
กถาว่าด้วยสัตว์มีเท้ามาก
พึงทราบวินิจฉัยในสัตว์มีเท้ามากต่อไป :- ถ้าวัตถุปาราชิกเต็มด้วย
ตะขาบตัวเดียว เมื่อภิกษุลักตะขาบตัวนั้นไปด้วยเท้า เป็นถุลลัจจัย ๙๙ ตัว,
เป็นปาราชิกตัวเดียว. คำที่เหลือ มีนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแล.
จบกถาว่าด้วยสัตว์มีเท้ามาก

206
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 207 (เล่ม 2)

กถาว่าด้วยภิกษุผู้สั่ง
ที่ชื่อว่าภิกษุผู้สั่ง เพราะอรรถว่า ประพฤติเลวทราม. ท่านกล่าว
อธิบายว่า ย่อมตามเข้าไปข้างใน ในสถานที่นั้น ๆ.
บทว่า โอจริตฺวา ความว่า คอยกำหนด คือ คอยตรวจดู.
บทว่า อาจิกฺขติ ความว่า ภิกษุแกล้งบอกทรัพย์ที่เก็บไว้ไม่ดี ใน
ตระกูลของชนอื่นหรือวิหารเป็นต้น ซึ่งมิได้จัดการอารักขาไว้แก่ภิกษุรูปอื่น
ผู้สามารถจะทำโจรกรรมได้.
หลายบทว่า อาปตฺติ อุภินฺนํ ปาราชิกสฺส ความว่า เธอทั้งสอง
รูป ต้องอาบัติปาราชิก อย่างนี้ คือ ในทรัพย์ที่จะต้องลักได้แน่นอน ภิกษุ
ผู้สั่ง เป็นในขณะสั่ง ภิกษุผู้รับสั่งนอกนี้ เป็นในขณะทำให้เคลื่อนจากฐาน
ส่วนภิกษุรูปใด ทำปริยายโดยนัยเป็นต้นว่า ในเรือนไม่มีผู้ชาย เขาเก็บทรัพย์
ชื่อโน้นไว้ในส่วนหนึ่ง ไม่ได้จัดการอารักขาไว้ ทั้งประตูก็ไม่ได้ปิด, อาจจะ
ลักเอาไปได้ตามทางที่ไปแล้วนั่นแหละ ชื่อว่าบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง ที่จะพึงไปลัก
เอาทรัพย์นั้น มาเลี้ยงชีวิตอย่างลูกผู้ชายไม่มี. และภิกษุรูปอื่นได้ฟังคำนั้นแล้ว
คิดว่า บัดนี้เราจักลักเอา (ทรัพย์นั้น) จึงเดินไปลัก, เป็นปาราชิกแก่ภิกษุรูป
นั้น ในขณะที่ทำให้เคลื่อนจากฐาน. ส่วนภิกษุรูปนี้ไม่เป็นอาบัติ. จริงอยู่
ภิกษุผู้ทำปริยายนั้น ย่อมพ้นจากอทินนาทานโดยปริยาย ฉะนั้นแล.
จบกถาว่าด้วยภิกษุผู้สั่ง

207