No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 486 (เล่ม 17)

ความถึงพร้อมด้วยปัญญา มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีปัญญา
ทราม.
ความเป็นผู้ไม่ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือมั่นคง และการสลัด
ทิ้งได้โดยง่ายดาย มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน
ยึดถือมั่นคง และสลัดทิ้งได้โดยยาก.
[๑๐๙] ดูก่อนจุนทะ เหตุแห่งสัลเลขธรรม เราได้แสดงแล้ว
เหตุแห่งจิตตุปบาท เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งการหลีกเลี่ยง เราได้แสดง
แล้ว เหตุแห่งภาวะเบื้องสูง เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งความดับทุกข์
เราได้แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
ดูก่อนจุนทะ กิจอันใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์ ผู้เอ็นดู
อนุเคราะห์เหล่าสาวกควรทำกิจนั้น เราตถาคตได้ทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย
ดูก่อนจุนทะ นั่นควงไม้ นั่นเรือนร้าง เธอทั้งหลายจงเพ่งดูเถิด อย่า
ประมาท. อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็นคำสอน
สำหรับเธอทั้งหลาย ฉะนั้นแล.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระมหา
จุนทะ ชื่นชม ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรม ๔๔ บท ทรงแสดงสนธิ
๕ อย่างไว้ พระสูตรนี้มีนามว่า สัลเลขสูตร เป็นพระสูตรที่ลึกซึ้ง
เทียบด้วยสาครก็ปานกันฉะนี้.
จบ สัลเลขสูตรที่ ๘

486
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 487 (เล่ม 17)

อรรถกถาสัลเลขสูตร
[๑๐๐] สัลเลขสูตรมีคำเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ (พระสูตรนี้
ข้าพเจ้า (พระอานนท์) ได้ฟังมาแล้วอย่างนี้) ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหาจุนทะ เป็นนามของพระเถระ
รูปนั้น.
บทว่า สายณฺหสมยํ ( ในสายัณหสมัย) คือในเพลาเย็น.
ที่หลบหลีก คือแอบหลบออกจากสัตว์และสังขารทั้งหลายเหล่านั้นๆ
ชื่อว่า ที่ซ่อนเร้น ในคำว่า ปฏิสลฺลานา วุฏฺฐิโต (ออกจากที่ซ่อนเร้น)
นี้ มีคำอธิบายไว้ว่า ได้แก่ความโดดเดี่ยว คือ ความสงัด. ผู้ที่ออก
จากที่นั้น ชื่อว่า เป็นผู้ออกจากที่เร้น. แต่ท่านจุนทเถระนี้ เพราะ
ออกจากผลสมาบัติที่สูงสุด กว่าการหลีกเร้น (ธรรมดา) เพราะฉะนั้น
ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวว่า ออกจากที่เร้นแล้ว.
บทว่า ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา (ครั้นถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้ว) ความว่า ครั้นไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้าโดยเคารพ ด้วยเศียรเกล้า
ประกอบกับการยกมือครบทั้ง ๑๐ นิ้วขึ้นประณมแล้ว หรือครั้นถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระองค์ทรงเปล่งพระดำรัสอย่างนี้ว่า จงเป็น
สุข ๆ เถิด จุนทะ.

487
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 488 (เล่ม 17)

ธรรมเนียมของพระพุทธเจ้า
ได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อมีผู้ถวายบังคม จะทรง
ชูพระศอซึ่งคล้ายกับกลองทองขึ้นแล้ว ทรงเปล่งพระสุระเสียง ดุจเสียง
พระพรหม ที่เสนาะโสต เป็นที่จับใจ คล้ายกับโสรจสรง ด้วยน้ำอมฤต
ตรัสระบุชื่อของผู้นั้น ๆ ว่า จงเป็นสุข ๆ เถิด ดังนี้ ข้อนี้เป็นธรรมเนียม
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
ในเรื่องนั้นมีพระสูตรที่ยกมาเป็นข้ออ้างอิงได้ ดังต่อไปนี้ (คือ
สักกปัญหสูตร) ว่า เมื่อปัญจสิขเทพบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ ท้าวสักกะจอมเทพ พร้อมด้วยเทพอำมาตย์ เทพบริวาร ขอถวาย
บังคมพระยุคลบาทของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า ดูก่อน
ปัญจสิขเทพบุตร ขอให้ท้าวสักกะจอมทวยเทพพร้อมด้วยเทพอำมาตย์
พร้อมด้วยเทพบริวาร จงทรงพระเกษมสำราญ เพราะว่าเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย อสูร นาค คนธรรพ์ และสัตว์เหล่าอื่น ที่มีกายหยาบ ปรารถนา
ความสุขกัน เพราะฉะนั้น ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย
จะทรงถวายพระพรเทพเจ้าประเภทนั้น ผู้มีศักดามาก ผู้ควรบูชาดังที่
กล่าวมาแล้วนั้น.
บทว่า ยา อิมา ความว่า ท่านพระจุนทะ ได้กล่าวถึงทิฏฐิที่
ต้องพูดถึง ในบัดนี้ เหมือนทำให้อยู่เฉพาะหน้า.
บทว่า อเนกวิหิตา (มีมากอย่าง) ได้แก่มีนานาประการ.
บทว่า ทิฏฺฐิโย (ทิฏฐิทั้งหลาย) ได้แก่มิจฉาทิฏฐิ.
บทว่า โลเก อุปฺปชฺชนฺติ (เกิดขึ้นในโลก) ความว่า ปรากฏอยู่
ในหมู่สัตวโลก.

488
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 489 (เล่ม 17)

บทว่า อตฺตวาทปฏิสํยุตฺตา ( ประกอบด้วยอัตตวาทะ) ความว่า
มิจฉาทิฏฐิเหล่านี้ที่ประกอบด้วยอัตตวาทะ. (ปรารภตน) เป็นไปแล้ว
โดยนัยมีอาทิว่า ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา มี ๒๐ อย่าง๑.
บทว่า โลกวาทปฏิสํยุตฺตา (ประกอบด้วยโลกวาทะ พูดปรารภ
โลก ) ความว่า เป็นไปแล้วโดยนัยมีอาทิว่า อัตตาและโลกเที่ยง.
มิจฉาทิฏฐิ ๘
มิจฉาทิฏฐิปรารภอัตตาและโลกนั้นมี ๘ ประการ ที่เป็นไปแล้ว
อย่างนี้ว่า
๑. อัตตาและโลกเที่ยง
๒. อัตตาและโลกไม่เที่ยง
๓. อัตตาและโลกเที่ยงก็ ไม่เที่ยงก็มี
๔. อัตตาและโลกเที่ยงก็ไม่ใช่ ไม่เที่ยงก็ไม่ใช่
๕. อัตตาและโลกมีที่สุด
๖. อัตตาและโลกไม่มีที่สุด
๗. อัตตาและโลกมีที่สุดก็มี ไม่มีที่สุดก็มี๒
๘. อัตตาและโลกมีที่สุดก็ไม่ใช่ ไม่มีที่สุดก็ไม่ใช่
ในคำมีอาทิว่า อาทิเมว ( เบื้องต้นนี้เท่านั้น) มีอรรถาธิบาย
อย่างนี้ว่า (พระจุนทเถระทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า) ว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ภิกษุมนสิการธรรมเบื้องต้นอย่างเดียว คือถึงจะยังไม่บรรลุโสดา-
๑. ปาฐะ เป็น พาวีสติ แต่ฉบับพม่าเป็น ตา วีสติ จึงแปลตามฉบับพม่า เพราะตรงตาม
ความจริง.
๒. ฉบับของไทยขาดหายไป ๑ ข้อ แต่ฉบับพม่ามีครบ จึงได้เติมตามนั้น.

489
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 490 (เล่ม 17)

ปัตติมรรค มนสิการเฉพาะมนสิการเบื้องต้นเท่านั้น ที่เจือด้วยวิปัสสนา
จะมีการละและการสลัดทิ้ง ทิฏฐิเหล่านี้อย่างนี้ คือ ทิฏฐิเหล่านี้ ด้วยอุบาย
เพียงเท่านี้เท่านั้นได้อย่างไร ? ก็พระเถระถึงแม้ตัวท่านจะไม่มีมานะยิ่ง
(สำคัญว่า ตัวได้บรรลุมรรคผล ) แต่ก็พึงทราบว่า เป็นเสมือนผู้มีมานะ
ยิ่ง ถามปัญหานี้เพื่อละมานะยิ่ง สำหรับภิกษุทั้งหลายผู้มีมานะยิ่ง.
ส่วนอาจารย์เหล่าอื่นกล่าวว่า อันเตวาสิกทั้งหลายของพระเถระ
ที่มีความเข้าใจอย่างนี้ว่า การละทิฏฐิทั้งหลายได้เด็ดขาด มีได้ด้วยมน-
สิการธรรมเบื้องต้นเท่านั้นก็มี ที่มีความเข้าใจว่ามีได้เพราะมีสมาบัติเป็น
วิหารธรรม คือมีธรรมะเครื่องขัดเกลา เป็นวิหารธรรมก็มี ท่านทูลถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อประโยชน์แก่อันเตวาสิกเหล่านั้น.
หน้าที่ของทิฏฐิ
[ ๑๐๑ ] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงอุบาย
สำหรับละทิฏฐิเหล่านั้นแก่ท่าน จึงได้ตรัสคำมีอาทิว่า ยา อิมา ( ทิฏฐิ)
เหล่านี้ใดไว้. ในคำเหล่านั้นมีความพิสดารว่า คำมีอาทิว่า ยตฺถ
เจตา ทิฏฺฐิโย อุปฺปชฺชนฺติ ( ทิฏฐิเหล่านั้นเกิดขึ้นในที่ใด) ดังนี้
พระองค์ตรัสหมายเอาเบญจขันธ์. อธิบายว่า ทิฏฐิเหล่านั้นเกิดขึ้นใน
เบญจขันธ์เหล่านั้น ดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะ
ยึดมั่นรูป เกิดทิฏฐิขึ้น อย่างนี้ว่า เราคืออัตตา และโลก ละโลกนี้ไป
แล้วจักยังมี ( เพราะว่า ) อัตตานั้น โลกนั้น เป็นของเที่ยง ยั่งยืน
ติดต่อกันไป มีความไม่แปรไปเป็นธรรมดา. แต่พระองค์ตรัสไว้เป็น
เอกพจน์ว่า ยตฺถ จ ( แปลว่า ในอารมณ์ใด ) ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์

490
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 491 (เล่ม 17)

มีอธิบายไว้ว่า ทิฏฐิทั้งหลายเกิดขึ้นในอารมณ์ใด. อนึ่ง ในคำว่า ยตฺถ จ
เป็นต้นนี้ ควรทราบถึงทิฏฐิเหล่านี้ ทำ (หน้าที่) ต่าง ๆ กัน อย่างนี้
คือ เกิดขึ้น ๑ นอนเนื่องอยู่ ๑ ฟุ้งขึ้น ๑ อธิบายว่า ทิฏฐิเหล่านี้มี
การทำ (หน้าที่) ต่างกันดังนี้ คือ ทิฏฐิทั้งหลายโดยชาติ (ของมัน)
ที่ยังไม่เกิดขึ้น.
เมื่อเกิดขึ้นพระองค์ตรัสเรียกว่า กำลังเกิดขึ้น, ที่เสพจนคุ้นบ่อยๆ
มีกำลัง ขจัดยังไม่ได้ พระองค์ตรัสเรียกว่า นอนเนื่องอยู่, ส่วนที่ประ
จวบ (ล่วงออกมาทาง ) กายทวาร และวจีทวาร พระองค์ตรัสเรียกว่า
ฟุ้งขึ้น.
ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ตํ เนตํ มม (สิ่งนี้นั้นไม่ใช่ของเรา)
ควรทราบอรรถาธิบายของบทอย่างนี้ก่อนว่า อารมณ์ที่แยกประเภทเป็น
เบญจขันธ์นี้นั้น ไม่ใช่ของ ๆ เรา ถึงเราก็ไม่ใช่สิ่งนั้น แม้สิ่งนั้นก็ไม่ใช่
อัตตาของเรา ภิกษุเห็นเบญจขันธ์นั้น ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญา
อันชอบอย่างนี้ (มีการละการสลัดทิ้งทิฏฐิเหล่านั้นได้).
แต่เพราะในการยึดถือ ๓ อย่างนี้ เมื่อยึดถือการยึดถือด้วยอำนาจ
ตัณหาว่านั่นของเรา ก็ชื่อว่า ยึดถือตัณหาเป็นเครื่องเนิ่นช้า แยกประเภท
ออกเป็นตัณหาวิปริต ๑๐๘ ประการ เมื่อยึดถือการยึดถือด้วยอำนาจมานะ
ว่า เราเป็นนั่น ชื่อว่ายึดถือมานะเป็นเครื่องเนิ่นช้า แยกประเภทออก
เป็นนานะ ๙ ประการ และเมื่อยึดถือการยึดถือด้วยอำนาจทิฏฐิว่า นั่น
ไม่ใช่อัตตาของเรา ชื่อว่า ยึดถือทิฏฐิเป็นเครื่องเนิ่นช้า แยกประเภท
ออกเป็นทิฏฐิ ๖๒ ประการ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัส
ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ก็ชื่อว่าทรงปฏิเสธตัณหาเครื่องเนิ่นช้า แยก

491
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 492 (เล่ม 17)

ประเภทคามที่กล่าวแล้ว เมื่อตรัสว่า เราไม่ใช่นั่น ก็ชื่อว่าทรงปฏิเสธ
นานะเป็นเครื่องเนิ่นช้า และเมื่อตรัสว่า นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ก็ชื่อว่า
ทรงปฏิเสธทิฏฐิเป็นเครื่องเนิ่นช้า. อนึ่ง ในเรื่องตัณหา มานะ ทิฏฐิ
ทั้ง ๓ อย่างนี้ ตัณหา และมานะ พึงทราบว่า ตั้งอยู่ในหมวดเดียวกัน
กับทิฏฐินั่นเอง.
บทว่า เอวเมตํ (เห็นสิ่งนั้นอย่างนี้) คือ เห็นเบญจขันธ์นั่น
โดยอาการมีอาทิว่า นั่นไม่ใช่ของเราอย่างนี้.
บทว่า ยถาภูตํ (ตามความเป็นจริง) คือ ตามสภาวะ มีคำ
อธิบายไว้ว่า ตามที่มีอยู่. อธิบายว่า ความจริง ขันธปัญจก (หมวด ๕
ของขันธ์) มีอยู่โดยอาการอย่างนั้นนั่นเอง แต่ขันธปัญจกที่ยึดถือโดยนัย
มีอาทิว่า ของเรา ย่อมไม่มีโดยอาการอย่างนั้นนั่นเอง.
บทว่า สมฺมปฺปญฺญาย (เห็นด้วยปัญญาอันชอบ) ความว่า
เห็นด้วยดี ด้วยวิปัสสนาปัญญา อันนีโสดาปัตติมรรคปัญญา เป็นปริโยสาน.๑
บทว่า เอวเมตาสํ (ละทิฏฐิเหล่านี้อย่างนี้) ได้แก่ (ละ)
ทิฏฐิเหล่านั้น ด้วยอุบายนี้. คำว่า การละการสลัดทิ้งทั้งคู่นี้ เป็นชื่อของ
การละกิเลสได้โดยเด็ดขาดทีเดียว.
[๑๐๒ ] พระผู้มีพระภาคเจ้า อันพระมหาจุนเถระ ถามปัญหา
ด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้มีมานะยิ่งว่า การละทิฏฐิทั้งหลาย มีได้ด้วยการ
มนสิการธรรม เบื้องต้นเท่านั้น หรือมีไม่ได้ ? ครั้นทรงแสดงการละ
ทิฏฐิด้วยโสดาปัตติมรรคแล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงจำแนกฌานของผู้มีมานะ
ยิ่งด้วยพระองค์เอง จึงได้ตรัสคำมีอาทิว่า ก็เหตุที่ตั้งแล. ผู้มีมานะยิ่ง
๑. ฉบับพม่าเป็น โสตาปตฺติมคฺคปญฺญาปริโยสานาย จึงได้แปลตามนั้น.

492
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 493 (เล่ม 17)

เกิดขึ้น ด้วยสำคัญว่า ได้บรรลุแล้วในธรรมที่คนยังไม่ได้บรรลุ ชื่อว่า
ผู้มีมานะยิ่ง ในคำว่า อธิมานิกานํ นั้น. ก็แต่ว่า อธิมานะ (มานะยิ่ง)
นี้ เมื่อจะเกิดขึ้น จะไม่เกิดขึ้นแก่พาลปุถุชนผู้รำลึกถึงโลกานุวัตรเนือง๑ ๆ
เลย และจะไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกทั้งหลาย. อธิบายว่า อธิมานะว่า
เราเป็นพระสกทาคามี จะไม่เกิดแก่พระโสดาบัน อธิมานะว่า เราเป็น
พระอนาคามี จะไม่เกิดแก่พระสกทาคามี อธิมานะว่า เราเป็นพระอรหันต์
จะไม่เกิดแก่พระอนาคามี แต่จะเกิดเฉพาะการกบุคคลเท่านั้น ผู้ข่มกิเลส
ไว้ได้ด้วยอำนาจสมถะ หรือด้วยอำนาจวิปัสสนา ผู้ปรารภวิปัสสนาแล้ว
ขะมักเขม้นเป็นนิจ. อันที่จริงการกบุคคลนั้น เมื่อไม่เห็นการฟุ้งขึ้นแห่ง
กิเลสที่ข่มไว้ได้ด้วยสมถะ หรือที่ข่มไว้ได้ด้วยวิปัสสนา อธิมานะว่า เรา
เป็นพระโสดาบันบ้าง เราเป็นพระสกทาคามีบ้าง เราเป็นพระอนาคามีบ้าง
เราเป็นพระอรหันต์บ้าง จะเกิดขึ้น เหมือนกับพระเถระทั้งหลาย ที่ท่าน
ธรรมทินนเถระผู้อาศัยอยู่ที่ตลังครติสสบรรพต ได้ตักเตือนแล้ว.
เรื่องพระธรรมทินนเถระตักเตือนศิษย์
ได้ทราบว่า ภิกษุหลายรูป ได้ตั้งตนอยู่ในโอวาทของพระเถระผู้
อุปสมบทแล้วไม่นานเลย ก็พากันบรรลุคุณวิเศษ. ภิกษุสงฆ์ชาวติสส-
มหาวิหาร ได้ทราบพฤติกรรมนั้นแล้ว ลงความเห็นว่าพระเถรูประกอบ
ในเรื่องที่เป็นรูปไม่ได้ ท่านทั้งหลายจงนำเอาพระเถระมา แล้วได้ส่ง
ภิกษุหลายรูปไป. ภิกษุเหล่านั้นไปถึงแล้ว ได้เรียนว่า ท่านธรรมทินนะ
ครับ ภิกษุสงฆ์เรียกหาท่าน. ท่านกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่าน
๑. ฉบับพม่าเป็น โลกานุวฏฺฏานุสารีนํ ผู้คล้อยตามและระลึกถึงเรื่องโลกบ่อยๆ.

493
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 494 (เล่ม 17)

ทั้งหลายจะแสวงหาตนหรือคนอื่น. ภิกษุทั้งหลายเรียนว่า ข้าแต่ท่าน
สัตบุรุษ เราทั้งหลายแสวงหาตน. พระเถระนั้นได้ให้กรรมฐานแก่ภิกษุ
เหล่านั้น. ภิกษุเหล่านั้นได้บรรลุอรหัตกันหมดทุกรูป. ภิกษุสงฆ์จึงได้
ส่งภิกษุจำพวกอื่นไปอีก. ภิกษุที่สงฆ์ส่งไปอย่างนี้ถึง ๓ ครั้ง ก็ได้บรรลุ
อรหัตเหมือนกันทั้งหมดแล้ว อยู่ (กับพระเถระนั้น). ต่อจากนั้นมา
พระสงฆ์เห็นว่า พระที่ไป ๆ แล้ว ไม่กลับนา จึงได้ส่งภิกษุหลวงตาอีก
รูปหนึ่งไป.
หลวงตานั้นครั้นไปถึงแล้ว ได้พูดว่า ข้าแต่ท่านธรรมทินนะ
ภิกษุสงฆ์สำนักติสสมหาวิหาร ส่งพระมาที่สำนักท่านถึง ๓ ครั้ง แต่ท่าน
เองไม่ทำความเคารพอาณัติสงฆ์ ไม่มา ( ไปตามคำสั่ง) พระเถระ
ตอบว่า นี่อะไรกัน ? แล้วให้หลวงตานั้นรับเอาบาตร และจีวรโดยไม่
ต้องเข้าบรรณศาลาแล้วออกไปในทันทีทันใดนั่นแหละ. ท่านได้แวะไปยัง
หังกนวิหาร๑ ในระหว่างทาง. และในหังกนวิหารนั้น มีมหาเถระรูปหนึ่ง
มีพรรษา ๖๐ ล่วงแล้ว ปฏิญาณตนเป็นพระอรหันต์ ด้วยมานะยิ่ง พระ
เถระเข้าไปหาท่านไหว้ กระทำปฏิสันถาร แล้วได้เรียนถามถึงคุณธรรม
ที่ได้บรรลุ. พระเถระกล่าวว่า เออ ท่านธรรมทินนะ กิจที่บรรพชิต
พึงทำ ผมได้ทำเสร็จนานแล้ว บัดนี้ ผมก็พรรษา ๖๐ ล่วงแล้ว. ท่าน
ธรรมทินนะ เรียนถามว่า ใต้เท้าครับ ได้เท้ายังใช้ฤทธิ์อยู่บ้างหรือไม่ ?
ท่านตอบว่าใช้อยู่ ท่านธรรมทินนะ. ท่านธรรมทินนะ เรียนว่า ดีแล้ว
ครับ ใต้เท้า ขอนิมนต์ใต้เท้าเนรมิตช้างกำลังเดินมาประจันหน้าใต้เท้า
(ให้ดู ) เถิด. พระเถระรับคำนิมนต์แล้ว ได้เนรมิตช้างเชือกใหญ่
๑. ฉบับพม่าเป็น ตงฺขณวิหารํ ที่อยู่ชั่วคราว.

494
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 495 (เล่ม 17)

เผือกผ่อง เป็นที่สถิตแห่งคชลักษณ์ ๗ ประการ ตกมันกล้า แกว่งหาง
สอดงวงเข้าปาก รี่มาประจันหน้าคล้ายกับจะเอางาทั้ง ๒ แทง ท่านเห็น
ช้างเชือกนั้นที่ตนเนรมิตขึ้นเอง กลัวเริ่มจะวิ่งหนี ในเวลานั้นเอง ท่าน
ก็รู้ตัวว่า เรายังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ จึงนั่งกระโหย่งลงแทบบาทมูลของ
ท่านธรรมทินนะ แล้วกล่าวว่า ขอท่านจงเป็นที่พึ่งแก่ผมเถิด ท่านขอรับ.
ท่านธรรมทินนะได้พูดเอาใจพระเถระว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านอย่าได้
เศร้าโศก อย่าได้เสียใจ มานะยิ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะการกบุคคลทั้งหลาย
เท่านั้น แล้วได้ให้กรรมฐาน ( แก่พระเถระ ). พระเถระดำรงอยู่ใน
โอวาทของท่านแล้วได้บรรลุพระอรหัต.
ถึงพระเถระ (อีกรูปหนึ่ง) ก็เช่นกัน อยู่ที่จิตตลดาบรรพต.
ท่านธรรมทินนะเข้าไปหาท่าน แล้วถามอย่างนั้นเหมือนกัน๑. ทั้งท่านก็
ได้พยากรณ์อย่างนั้นเหมือนกัน. ถัดจากนั้นท่านธรรมทินนะ ก็ได้กล่าว
กะท่านว่า ท่านได้ใช้ฤทธิ์บ้างหรือไม่ ? พระเถระตอบรับคำ. ท่าน
ธรรมทินนะ เรียนท่านว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดีแล้วขอรับ ขอให้ท่าน
เนรมิตสระโบกขรณีขึ้น ๑ สระเถิด. พระเถระได้เนรมิต (ตามที่ขอร้อง)
ท่านธรรมทินนะเรียนว่า ท่านขอรับ ขอให้ท่านเนรมิตกอบัวขึ้นในสระนี้
ด้วยเถิด. พระเถระก็เนรมิตกอบัวขึ้น (ตามที่ขอร้อง ). ท่านธรรมทินนะ
ขอร้องว่า ขอให้ท่านเนรมิตร่างหญิงคนหนึ่ง ยืนร้อง ร่ายรำด้วยเสียง
ไพเราะอยู่บนกอบัวนั้นเถิด. พระเถระก็เนรมิตหญิงนั้น (ตามที่ขอร้อง ).
ท่านธรรมทินนะจึงเรียนว่า ขอให้ท่านเพ่งพินิจหญิงนั้นบ่อย ๆ แล้วตัว
ท่านเองก็เข้าปราสาทไป. เมื่อพระเถระเพ่งหญิงที่เนรมิตขึ้นนั้น กิเลส
๑. ฉบับพม่าเป็น ตเถว จึงได้แปลเช่นนั้น.

495