No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 376 (เล่ม 17)

เราผู้ยังหนุ่มยังแน่นอยู่ไว้ในราชสมบัติ. ในที่นี้ปรากฏในความปรารถนา
เท่านั้น.
คำว่า ปุจฺฉิตวา ปุจฺฉิตฺวา ( ตรัสถานแล้ว ) คือ ตรัสถามแล้ว
ตรัสถามเล่า. ภิกษุผู้มีความต้องการลาภนี้อยากให้พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงย้อนถามตน แต่ต้องการให้ถามปัญหานั้นด้วยถ้อยคำเพื่อให้คล้อยตาม
ไม่ใช่ตรัสถามถึงมรรคผล หรือวิปัสสนา ทำให้มีช่องโหว่ไว้. เพราะว่า
ภิกษุรูปนี้ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย้อนถามพระมหาเถระทั้งหลายมี
พระสารีบุตร เป็นต้นในท่ามกลางบริษัทอย่างนี้ว่า สารีบุตร โมคคัลลานะ
กัสสปะ ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ? คือ จักษุเที่ยง
หรือไม่เที่ยง แล้วทรงแสดงธรรมไป เห็นพวกมนุษย์กล่าวสรรเสริญคุณ
ของพระเถระเหล่านั้นอยู่ว่า พระเถระผู้เป็นบัณฑิตทั้งหลาย พระศาสดา
ทรงพอพระทัย ดังนี้ และเห็นพวกเขาน้อมลาภสักการะไปถวายพระเถระ
เหล่านั้นอยู่ เพราะฉะนั้น เธอเมื่อปรารถนาลาภสักการะนั้น ครั้นคิด
อย่างนี้แล้ว ออกไปยืนตรงพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนท่อน
ไม้ที่วางไว้.
บทว่า โส กุปิโต ( เธอโกรธเคืองแล้ว) ความว่า ภายหลัง
พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่สนพระทัยเธอเลย แต่ตรัสถามพระเถระรูปอื่น
แล้วทรงแสดงธรรมไป เพราะฉะนั้น เธอจึงโกรธเคืองทั้งพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า และพระเถระ.
โกรธเคืองพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างไร ?
โกรธเคืองพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า เราตั้งแต่บวช ไม่รู้จัก
การออกไปนอกบริเวณพระคันธกุฎี ทุกเวลาไม่เคยห่างเป็นเช่นกับเงา

376
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 377 (เล่ม 17)

แม้เพียงแต่จะตรัสถามเรา แล้วทรงแสดงธรรมเทศนาก็ไม่มี ทรงถาม
พระเถระที่ทรงเห็นเพียงครู่เดียวเท่านั้น แล้วก็ทรงแสดงธรรม.
โกรธเคืองพระเถระอย่างไร ?
โกรธเคืองพระเถระอย่างนี้ว่า พระแก่รูปนี้ นั่งตรงพระพักตร์
พระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนกับตอไม้ เมื่อไรนะพระเถระผู้เป็นธรรมกัมมิกะ
(ทำงานเกี่ยวกับธรรม) จักให้พระแก่รูปนี้ถึงฐานะแห่งอภัพพบุคคล
(ผู้ไม่ควรบรรลุมรรคผล ) แล้วขับออกไป (จากหมู่คณะ.) เพราะว่า
ถ้าไม่มีภิกษุรูปนี้ในวิหารนี้ไซร้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงเจรจากับเรา
แน่นอน.
พระโกรธ
[๖๒] บทว่า ปุรกฺขตฺวา ปุรกฺขตฺวา (ทำไว้ข้างหน้า ทำไว้
ข้างหน้า) คือทำไว้ (ให้อยู่ ) ข้างหน้า มีคำอธิบายว่า ห้อมล้อม
(ทั้งข้างหน้าและข้างหลัง ).
แม้ภิกษุรูปนี้ก็เป็นผู้อยากได้ลาภเหมือนกัน. เพราะว่า ภิกษุรูปนี้
เห็นภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพหูสูตเข้าบ้านพร้อมกับภิกษุผู้เป็นบริวาร กำลัง
ไหว้เจดีย์ และเห็นอุบาสกทั้งหลายผู้เลื่อมใส ( ภิกษุเหล่านั้น ) เพราะ
เห็นคุณธรรมข้อนั้น ของท่านเหล่านั้น แสดง (ทำ) อาการของผู้เลื่อมใส
อยู่ เพราะฉะนั้น เธอจึงต้องการอย่างนี้.
บทว่า กุปิโต (โกรธเคืองแล้ว) หมายความว่า ภิกษุแม้รูปนี้
โกรธเคืองในเพราะเหตุ ๒ สถาน คือ โกรธเคืองต่อภิกษุทั้งหลายและ
พระเถระ.

377
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 378 (เล่ม 17)

โกรธเคืองภิกษุทั้งหลายอย่างไร ?
โกรธเคืองภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านั้นถือเอาเฉพาะจีวร
หรือบิณฑบาตที่เกิดขึ้นแก่เรานั้นบริโภคอยู่ แต่ผู้จะมาข้างหลังรับบาตร
จีวรของเราก็ไม่มี.
โกรธเคืองพระเถระอย่างไร ?
โกรธเคืองพระเถระว่า พระเถระแก่รูปนี้ (ไป ) ปรากฏด้วยใน
ที่นั้น ๆ เมื่อไรนะ พระธรรมกัมมิกะ จักจับเขาออกไป เมื่อไม่มี
พระแก่รูปนี้ ภิกษุทั้งหลายก็จักห้อมล้อมเราคนเดียวเป็นแน่.
[๖๓] บทว่า ภตฺตคฺเค (โรงฉัน) คือ สถานที่สำหรับฉัน
(หอฉัน).
บทว่า อคฺคาสนํ (ที่นั่งชั้นยอด ) คือ ที่นั่งสำหรับพระสังฆเถระ.
บทว่า อคฺโคทกํ ( น้ำที่เลิศ ) คือ ทักษิโณทก (น้ำที่ถวายด้วย
ความเคารพ ).
บทว่า อคฺคปิณฺฑํ (บิณฑบาตที่เลิศ) คือ บิณฑบาตสำหรับ
พระสังฆเถระ.
อีกอย่างหนึ่ง ในที่ทุกแห่ง คำว่า เลิศ นี้ เป็นคำใช้เรียกสิ่งของ
ที่ประณีต.
บรรดาความปรารถนาทั้ง ๒ อย่างนี้ ความปรารถนาว่า เราคนเดียว
ควรได้ ดังนี้ ไม่มีโทษหมักมากเท่าไร. แต่ความปรารถนาว่า ภิกษุอื่น
ไม่ควรได้ ดังนี้ มีโทษหนักมาก.

378
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 379 (เล่ม 17)

ภิกษุผู้มีความต้องการลาภ รูปนี้เป็นผู้ที่น่าเลื่อมใส โดยการครอง
จีวรเป็นต้น บางครั้งก็บวช บางครั้งก็สึก เพราะเหตุนั้น เธอเมื่อภายหลัง
ไม่ได้ที่นั่งเป็นต้น ที่ตนเคยได้นั่งมาแล้วในตอนก่อน จึงคิดอย่างนี้ว่า
ภิกษุนั้นไม่ควรจะได้. ภิกษุรูปนั้นเมื่อที่นั่งชั้นยอดเป็นต้น ถึงแก่พระเถระ
ทั้งหลาย (พระเถระนั่งแล้ว ) สำหรับพระรุ่นกลาง และพระรุ่นไหน
เหล่าอื่น ก็ทำนองเดียวกันนั้น บางครั้งก็ได้ที่นั่งธรรมดาสามัญหรือที่นั่ง
ที่ต่ำกว่าที่นั่งทั้งหมด หรือไม่ได้เลย.
บทว่า กุปิโต (โกรธเคืองแล้ว) คือ ภิกษุรูปนี้เอง โกรธเคือง
ในเพราะเหตุ ๒ สถาน คือ (โกรธเคือง ) คนทั้งหลายและพระเถระ
ทั้งหลาย.
โกรธเคืองคนทั้งหลายอย่างไร ?
(โกรธเคือง ) คนทั้งหลายอย่างนี้ว่า คนเหล่านี้อาศัยเรา จึงได้
ภิกษุทั้งหลาย (มา) ในงานมงคลเป็นต้น (เมื่อก่อน) เขาพากันพูดว่า
ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ขอพระคุณเจ้าได้กรุณาพาภิกษุจำนวนเท่านี้
(ไป ) ทำความอนุเคราะห์แก่กระผมทั้งหลายเถิด แต่เดี๋ยวนี้เขาได้พาเอา
พระเถระแก่ ผู้เพียงแต่ได้เห็นชั่วประเดี๋ยวเดียวไป เรื่องนี้ช่างเถิด ต่อไป
นี้เมื่อกิจของเขาเหล่านี้เกิดขึ้น เราจักรู้ ( แก้มือ ).
โกรธเคืองพระเถระอย่างไร ?
โกรธเคืองพระเถระอย่างนี้ว่า ถ้าธรรมดาไม่มีพระเถระเหล่านั้นไซร้
คนทั้งหลายต้องนิมนต์เฉพาะเราเท่านั้น.
บทว่า อนุโนเทยฺยํ ( ควรอนุโมทนา ) คือ ควรทำอนุโมทนา.
แม้ภิกษุรูปนี้เป็นผู้มีความต้องการลาภ รู้การอนุโมทนาเป็นตอน ๆ แบบ

379
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 380 (เล่ม 17)

ธรรมดา ๆ. เธอคิดปรารถนาอย่างนี้ว่า ณ สถานที่อนุโมทนา แม่บ้าน
จะพากันมามาก พวกเขาจำเราได้แล้ว ต่อไปจักถวายภักษาหารเป็นถาด ๆ.
บทว่า ฐานํ ( เหตุที่ตั้ง ) ความว่า การอนุโมทนา เป็นภาระ๑
หน้าที่ของภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพหูสูต เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอธิบาย
ไว้ว่า ภิกษุผู้เป็นพหูสูตควรอนุโมทนา.
บทว่า กุปิโต (โกรธเคืองแล้ว ) หมายความว่า ภิกษุรูปนี้เอง
จะโกรธเคือง ในเพราะเหตุ ๓ สถาน คือ โกรธเคืองคนทั้งหลาย ๑
โกรธเคืองพระเถระ ๑ โกรธเคืองพระธรรมกถึก ๑.
โกรธเคืองคนทั้งหลายอย่างไร ?
โกรธเคืองคนทั้งหลายอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนคนเหล่านี้เข้ามาหาเรา
คนเดียวแล้วขอร้องว่า ขอนิมนต์ท่านนาคเถระของเราทั้งหลายจง
อนุโมทนา ขอนิมนต์ท่านสุมนเถระของเราทั้งหลายจงอนุโมทนา แต่
วันนี้ไม่พูด (ไม่นิมนต์).
โกรธเคืองพระเถระอย่างไร ?
โกรธเคืองพระเถระอย่างนี้ว่า พระสังฆเถระรูปนี้ไม่กล่าวว่า ท่าน
ทั้งหลาย จงพากันเข้าไปหาพระนาคเถระ พระสุมนเถระ ผู้เป็นพระ
ประจำตระกูลของท่านทั้งหลาย ท่านผู้นี้จักอนุโมทนา.
โกรธเคืองพระธรรมกถึกอย่างไร ?
โกรธเคืองพระธรรมกถึกอย่างนี้ว่า พอท่านพระเถระพูดจบเท่านั้น
เห็น (ท่านพระธรรมกถึก) รนราน เหมือนไก่ถูกตี ผู้จะฉุดคร่า
๑. ปาฐะเป็น อนุโมทนาภาโว แต่ฉบับพม่าเป็น อนุโมทนา ภาโร จึงแปลตามฉบับพม่า
ความดีกว่า.

380
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 381 (เล่ม 17)

พระรูปนี้ออกไปก็ไม่มี เพราะว่า เมื่อไม่มีพระรูปนี้ เราคนเดียวต้อง
อนุโมทนา.
[ ๖๔ ] บทว่า อารามคตานํ (ผู้มาสู่อาราม) คือ ผู้ประชุม
กันอยู่ในวิหาร.
แม้ภิกษุรูปนี้ ผู้มีความต้องการลาภ รู้ธรรมกถาเป็นตอน ๆ แบบ
ธรรมดา ๆ เธอเห็นภิกษุทั้งหลาย ผู้นั่งประชุมกันฟังธรรมเนืองนิตย์
ตลอดทั้งคืนตั้ง ๒-๓ ร้อยโยชน์ในที่เช่นนั้น พากันพอใจทีเดียว หรือ
เห็นภิกษุหนุ่มหรือสามเณรกำลังให้สาธุการด้วยเสียงดังว่า สาธุ สาธุ
บาสกอุบาสิกาทั้งหลาย พากันถามภิกษุทั้งหลายที่ไปในบ้านในวันที่ ๒
ต่อจากนั้นว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระพวกไหนแสดงธรรม
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า รูปโน้น รูปโน้น คนทั้งหลายได้ยินดังนั้นแล้ว
เลื่อมใสจะพากันทำสักการะแก่พระธรรมกถึกมาก. ภิกษุรูปนั้นเมื่อ
ปรารถนาลาภนั้นย่อมคิดอย่างนี้.
[๖๕] บทว่า ฐานํ (เหตุที่ตั้ง ) ความว่า การแสดงธรรม-
เทศนาเป็นภาระของ (ภิกษุทั้งหลาย ) ผู้เป็นพหูสูต ผู้ฉลาดในการ
วินิจฉัย เพราะเหตุนั้น จึงมีคำอธิบายไว้ว่า ภิกษุผู้เป็นพหูสูต ควร
แสดงธรรม.
บทว่า กุปิโต ( โกรธเคืองแล้ว) ความว่า เมื่อไม่ได้โอกาส
กล่าวเพียงคาถาที่ประกอบด้วยบท ๘ บท ก็จะโกรธเคืองตัวเองที่เป็นคน
โง่ว่า เพราะเราเขลาเบาปัญญา ที่ไหนจักได้แสดงธรรม.
บทว่า ภิกฺขุนีนํ (ภิกษุณีทั้งหลาย) ความว่า แก่ภิกษุณีทั้งหลาย

381
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 382 (เล่ม 17)

ผู้มาสู่อารามแล้วประชุมกัน เพื่อรับโอวาท เพื่ออุทเทศ เพื่อการทดสอบ
หรือเพื่อทำการบูชา.
แม้ภิกษุรูปนี้ผู้มีความต้องการลาภ เธอจะมีความคิดอย่างนี้ว่า
ภิกษุณีเหล่านี้บวชจากตระกูลใหญ่ เมื่อพวกเธอเข้าไปนั่งในตระกูลทั้งหลาย
คนทั้งหลายจักพากันถามว่า ท่านทั้งหลายพากันรับโอวาทหรืออุทเทศหรือ
ทดสอบ ในสำนักของใคร จากการถามนั้น ภิกษุณีทั้งหลายจักบอกว่า
พระคุณเจ้าชื่อโน้น ผู้เป็นพหูสูต ท่านทั้งหลาย จงถวาย (ของ)
กระทำ ( สักการะ) แก่ท่าน เพราะเหตุนั้น ความต้องการอย่างนี้ จึง
เกิดขึ้นแก่เธอ.
บทว่า ฐานํ (เหตุที่ตั้ง ) ความว่า เป็นธรรมดากิจวัตรมีการ
โอวาทเป็นต้น เป็นภาระของภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพหูสูต เพราะฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวอธิบายไว้ว่า ภิกษุผู้เป็นพหูสูตควรแสดง.
บทว่า กุปิโต ( โกรธเคืองแล้ว ) มีอรรถาธิบายว่าภิกษุนี้โกรธเคือง
ในเพราะเหตุ ๒ สถานคือ โกรธเคืองภิกษุณีเหล่านั้นว่า ภิกษุณีเหล่านี้
เมื่อก่อนอาศัยเรา จึงได้อุโบสถและปวารณาเป็นต้น แต่บัดนี้ภิกษุณี
เหล่านั้น ได้ไปสู่สำนักของพระเถระแก่ ผู้เพียงแต่ได้เห็นชั่วคราว และ
โกรธเคืองพระธรรมกถึกว่า พระธรรมกถึกรูปนั้น ได้ให้โอวาทแก่ภิกษุณี
เหล่านั้น เร็วไวเหมือนกัน.
บทว่า อุปาสกานํ ( แก่อุบาสกทั้งหลาย ) มีอรรถาธิบายว่า
ธรรมดาอุบาสกทั้งหลายผู้ไปวัด เป็นอุบาสกผู้ใหญ่ สละการงานกันแล้ว
เขาเหล่านั้นมอบงานให้ลูกน้องแล้วเที่ยวหาฟังธรรมกัน. ภิกษุรูปนี้ต้อง
การแสดงธรรมแก่อุบาสกเหล่านั้น. เพราะเหตุไร ? เพราะคนเหล่านี้

382
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 383 (เล่ม 17)

เลื่อมใสภิกษุเหล่านี้แล้ว จักบอกให้อุบาสิกาทั้งหลายทราบบ้าง ต่อไป
ก็จักพร้อมด้วยอุบาสิกาทั้งหลาย พากันนำลาภและสักการะมาถวายเรา
คนเดียว เพราะฉะนั้น ควรประกอบเหตุที่ตั้ง เข้ากับผู้อื่นเป็นพหูสูต
ด้วย.
บทว่า กุปิโต (โกรธเคืองแล้ว) มีเนื้อความว่า ภิกษุรูปนี้จะ
โกรธเคืองในเพราะเหตุ ๒ สถาน คือ โกรธเคืองอุบาสกทั้งหลายว่า อุบาสก
เหล่านั้นฟัง ( ธรรม ) ที่อื่นไม่มาวัดเรา ด้วยความตั้งใจว่า พวกเราจะฟัง
(ธรรม ) ในสำนักของภิกษุประจำตระกูลของพวกเรา ข้อนั้น ช่างเถอะ
ต่อไปนี้ เราจักรู้ไว้ในเมื่อพวกเขามีกิจเกิดขึ้น และโกรธเคืองพระ
ธรรมกถึกว่า ท่านรูปนี้แสดงธรรมให้คนเหล่านี้ฟัง.
บทว่า อุปาสิกานํ ( แก่อุบาสิกาทั้งหลาย ) ความว่า ธรรมดา
อุบาสิกาทั้งหลายผู้มาวัด ได้ประชุมกันเพื่อปูอาสนะและทำการบูชา เป็น-
ต้น หรือเพื่อฟังธรรมในวันอุโบสถ.
คำที่เหลือจากที่ได้อธิบายแล้ว มีนัยเหมือนที่ได้กล่าวแล้วในตอน
ว่าด้วยอุบาสก.
[๖๖-๖๗ ] บทว่า สกฺกเรยฺยํ คือ ควรทำโดยเคารพด้วย
ทำให้ดีด้วย. ด้วยคำว่า ควรสักการะ นี้ เธอปรารถนาการที่ทำในตน
โดยเคารพและด้วยดี.
บทว่า ครุกเรยฺยุํ ( ควรตระหนัก ) คือ ควรทำให้หนัก. ด้วย
คำว่า ควรตระหนัก นี้ เธอปรารถนาจะให้ภิกษุทั้งหลายตั้งตัวเธอไว้ใน
ฐานะเป็นครู.

383
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 384 (เล่ม 17)

บทว่า มาเนยฺยํ (ควรนับถือ) คือ ควรรักใคร่.
บทว่า ปูเชยฺยุํ (ควรบูชา) ความว่า เธอปรารถนาการบูชา
ด้วยปัจจัยว่า คนทั้งหลายเมื่อสักการะเคารพนับถือเรา ก็ต้องบูชาเราด้วย
ปัจจัยทั้งหลายอย่างนี้.
บทว่า ฐานํ (เหตุที่ตั้ง) ความว่า ภิกษุผู้เป็นพหูสูตและเป็น
ผู้มีศีล มีประการดังที่กล่าวแล้วว่า เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ เป็นที่นับถือ
สมควรกะวิธีนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงอธิบายไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ควร
ทำแบบนี้ คือ อย่างนี้.
บทว่า กุปิโต ( โกรธเคืองแล้ว ) ความว่า แม้ภิกษุรูปนี้
จะโกรธเคือง ในเพราะเหตุ ๒ สถาน คือ โกรธเคืองภิกษุทั้งหลายว่า
ภิกษุเหล่านี้สักการะภิกษุนั้น และโกรธเคืองพระเถระว่า เมื่อไม่มีพระ
เถระรูปนี้ ภิกษุทั้งหลายต้องสักการะเราคนเดียวเท่านั้น. ในวาระ (ตอน)
อื่น อีก ๓ วาระต่อจากนี้ ก็มีนัยนี้.
[๖๘] บทว่า ปณีตานํ จีวรานํ (จีวรประณีต) ได้แก่ ผ้าจีวร
ที่มีราคาแพง เนื้อละเอียด มีสัมผัสอ่อนนิ่ม (ห่มสบาย) มีผ้าธรรมดา
ผ้าเปลือกไม้ ผ้าไหมที่ฟอกแล้วและผ้าไหมธรรมดา เป็นต้น .
ความปรารถนาว่า เราเท่านั้นควรมีลาภ ไม่ชื่อว่ามีโทษมากมาย
ในที่นี้เลย. แต่มีโทษมากมายคือความต้องการว่า ขออย่าให้คนอื่นมีลาภ.
[๖๙] บทว่า ปณีตานํ ปิณฺฑปาตานํ (บิณฑบาตประณีต)
คือบิณฑบาตที่ดีที่สุด เพียบพร้อมไปด้วยรสเนยใส รสน้ำมัน และรสเนื้อ

384
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 385 (เล่ม 17)

เป็นต้น ๑
บทว่า ปณีตานํ เสนาสนานํ (เสนาสนะประณีต) คือ ที่นั่ง
ที่นอนมีเตียงและตั่งเป็นต้น ที่มีค่าหลายแสน.
บทว่า ปณีตานํ คิลานปจฺจยเภสชฺชปริกฺขารานํ (บริขารคือยา
ที่เป็นปัจจัยแก่ผู้ป่วย) คือ ยาชั้นสูงมีเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อย
เป็นต้น. แม้ทุกวาระควรประกอบเหตุเป็นที่ตั้งเข้ากับด้วยผู้เป็นพหูสูต
และผู้มีบุญทั้งหลาย.
บทว่า กุปิโต ( ขุ่นเคืองแล้ว ) ได้แก่ขุ่นเคืองในเพราะเหตุ ๒ สถาน
คือ ขุ่นเคืองคนทั้งหลายว่า ขึ้นชื่อว่า คนเหล่านี้ไม่มีการอบรมสั่งสม
(บุพพบารมี) เลย เราอยู่ร่วมกันนาตลอดกาลยาวนาน ถึงจะเดินไปตาม
ลำดับเรือนเพื่อต้องการผ้าบังสุกุล หรือว่าเพื่อต้องการบิณฑบาต
หรือเพราะเหตุแห่งเนยใสและน้ำมันเป็นต้น คนเหล่านี้ก็ไม่ถวายปัจจัย ๔
ที่ประณีตอะไรแม้แต่วันเดียว แต่พอเห็นหลวงตา ผู้เป็นแขกมาเท่านั้น
ก็พากันถวายสิ่งที่ท่านต้องการ และขุ่นเคืองพระเถระอย่างนี้ว่า หลวงตา
รูปนี้เที่ยวแสดงตนให้คนเหล่านั้นเห็น เมื่อไรภิกษุผู้เป็นธรรมกัมมิกะ
จะฉุดคร่าแกออกไป เมื่อไม่มีหลวงตารูปนี้ เราคนเดียวต้องมีลาภ.
บทว่า อิเมสํ โข อาวุโส (เหล่านี้แล ) หมายความว่า
(อกุศลธรรมทั้งหลาย ) เหล่านั้นที่เป็นแดนของอิจฉาที่ได้กล่าวแต่หนหลัง
โดยวาระ ๑๙ วาระ.
[๗๐] บทว่า ทิสฺสนฺติ เจว สุยฺยนฺติ จ (ยังเห็นอยู่และ
ได้ยินอยู่ ) หมายความว่า บาปอกุศลที่เป็นอิจฉาวจร (เป็นแดงอิจฉา )
๑. ฉบับพม่า เป็น สปฺปิเตลมธุสกฺกราทิปูริตานํ เพียบพร้อมไปด้วย เนยใส, น้ำมัน, น้ำผึ้ง
และน้ำตาลกรวดเป็นต้น

385