พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 184 (เล่ม 2)
สำคัญว่าเป็นบาตรใบนั้น แต่ได้หยิบเอาบาตรของภิกษุผู้เป็นโจรนั่นเองให้ไป,
แม้ในอธิการว่าด้วยการหยิบบาตรของภิกษุผู้เป็นโจรให้ไปนี้ ไม่เป็นปาราชิก
แก่ภิกษุผู้เป็นโจร เพราะบาตรใบนั้นเป็นของ ๆ ตน, แต่เพราะตนถือเอา
ด้วยจิตไม่บริสุทธิ์ เป็นทุกกฏแท้. เป็นอนาบัติแก่พระเถระในที่ทั้งปวง.
ภิกษุอีกรูปอื่น คิดว่า จักลักบาตร แล้วไหว้พระเถระผู้กำลังจำวัด
หลับอยู่ เหมือนอย่างนั่นเอง และถูกพระเถระถามว่า นี้ใคร ?. ภิกษุนั้น
เรียนว่า กระผมเป็นภิกษุไข้ ขอรับ ! ได้โปรดให้บาตรใบหนึ่งแก่กระผมก่อน,
กระผมไปยังประตูบ้านแล้ว จักนำเภสัชมา. พระเถระกำหนดว่า ในที่นี้ ไม่มี
ภิกษุไข้, นี้ เป็นโจร แล้วพูดว่า จงนำบาตรนี้ไป ได้นำบาตรของภิกษุ
ผู้คู่เวรของตนให้ไป, เป็นปาราชิกแก่ทั้งสองรูป ในขณะที่ยกขึ้นนั่นเอง. แม้
เมื่อพระเถระจำได้ดีว่า เป็นบาตรของภิกษุผู้คู่เวร แล้วยกบาตรของรูปอื่นขึ้น
ก็มีนัยเหมือนกัน ก็ถ้าพระเถระจำได้ดีว่า บาตรใบนี้ ของภิกษุผู้คู่เวร
แต่ได้ยกเอาบาตรของภิกษุผู้เป็นโจรนั่นเองให้ไป เป็นปาราชิกแก่พระเถระ
เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้เป็นโจร โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ถ้าพระเถระสำคัญ
อยู่ว่า บาตรใบนี้ ของภิกษุผู้คู่เวรของภิกษุผู้เป็นโจรนั้น จึงให้บาตรของตน
ไป, เป็นทุกกฏทั้งสองรูป โดยนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแล. พระมหาเถระรูปหนึ่ง
พูดกะภิกษุผู้อุปัฏฐากว่า คุณจงถือเอาบาตรและจีวร, เราจักไปบิณฑบาตยังบ้าน
ชื่อโน้น. ภิกษุหนุ่ม ถือเอาเดินไปข้างหลังพระเถระ ยังไถยจิตให้เกิดขึ้นแล้ว
ถ้าเลื่อนภาระบนศีรษะลงมาที่คอ ไม่เป็นปาราชิก. เพราะเหตุไร ? เพราะ
เหตุว่า บาตรและจีวรนั้น เธอถือไปตามคำสั่ง, แต่ถ้าเธอแวะออกจากทาง
เข้าดงไป, พึงปรับอาบัติการย่างเท้า. ถ้าเธอกลับบ่ายหน้าไปทางวิหาร
หนีไป เข้าวิหารแล้วจึงไป เป็นปาราชิกในขณะก้าวล่วงอุปจารไป. ถ้าแม้น
เธอบ่ายหน้าสู่บ้าน หนีไปจากสถานที่พระมหาเถระผลัดเปลี่ยนผ้านุ่งห่ม เป็น
184