No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 168 (เล่ม 2)

กถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่
พึงทราบวินิจฉัยแม้ในทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ต่อไป :- พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงพื้นที่ก่อน จึงตรัสว่า วตฺถุ นาม อารามวตฺถุ
วิหารวตฺถุ ( ที่ชื่อว่าพื้นที่ ได้แก่พื้นที่สวน พื้นที่วิหาร ) ดังนี้. บรรดา
พื้นที่สวนเป็นต้นนั้น ภูมิภาคที่เขามิได้ปลูกพืช หรือต้นไม้ที่ควรปลูกไว้เลย
แผ้วถางพื้นดินไว้อย่างเดียว หรือล้อมด้วยกำแพง ๓ ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง
เพื่อประโยชน์แก่สวนดอกไม้เป็นต้น ชื่อว่า อารามวัตถุ. ภูมิภาคที่เขาตั้งไว้
เพื่อประโยชน์แก่วิหารบริเวณ และอาวาสหนึ่ง ๆ โดยนัยนั้นนั่นเอง ชื่อว่า
วิหารวัตถุ. ภูมิภาคแม้ใดในกาลก่อน เป็นอารามและเป็นวิหาร, ภายหลัง
ร้างไป ตั้งอยู่เป็นเพียงภูมิภาค ไม่สำเร็จกิจแห่งอารามและวิหาร ภูมิภาคแม้
นั้นก็สงเคราะห์ โดยการรวมเข้าในอารามวัตถุและวิหารวัตถุเหมือนกัน. ส่วน
วินิจฉัยในทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่สวนและพื้นที่วิหารนี้ เป็นเช่นกับที่กล่าวแล้ว
ในนานั่นเอง ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่
คำที่ควรจะกล่าวในภัณฑะที่ตั้งอยู่ในบ้าน ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้ว
ทั้งนั้น.

168
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 169 (เล่ม 2)

กถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในป่า
วินิจฉัยในทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในป่า พึงทราบดังนี้ :- พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อจะทรงแสดงป่าก่อน จึงตรัสว่า อรญฺญํ นาม ยํ มนุสฺสานํ ปริคฺคหิคํ
โหติ, ตํ อรญฺญํ (ที่ชื่อว่าป่า ได้แก่ป่าที่พวกมนุษย์หวงห้าม) ดังนี้. ในคำว่า
อรญฺญํ นั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- เพราะขึ้นชื่อว่า แม้ที่พวกมนุษย์หวงห้าม
ก็มี แม้ที่ไม่หวงห้ามก็มี, ในอธิการนี้ ท่านประสงค์เอาป่าที่เขาหวงห้าม
มีการอารักขา เป็นแดนที่พวกมนุษย์ไม่ได้เพื่อจะถือเอาไม้และเถาวัลย์เป็นต้น
โดยเว้นจากมูลค่า ; เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ป่าเป็นที่
พวกมนุษย์หวงห้าม แล้วตรัสอีกว่า ชื่อว่าป่า ดังนี้.
ด้วยคำว่าป่านั้น ท่านแสดงความหมายนี้ดังนี้ว่า ความเป็นที่
หวงห้ามไม่จัดเป็นลักษณะของป่า, แต่ที่เป็นป่าโดยลักษณะของตน และพวก
มนุษย์หวงห้าม ชื่อว่าป่าในความหมายนี้. วินิจฉัยในทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในป่านั้น
ก็เป็นเช่นกับที่กล่าวแล้วในทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในสวนเป็นต้น.
ก็บรรดาต้นไม้ที่เกิดในป่านั้น เมื่อต้นไม้ที่มีราคามากแม้เพียงต้นเดียว
ในป่านี้ สักว่าภิกษุตัดขาดแล้ว ก็เป็นปาราชิก. อนึ่ง ในบทว่า ลตํ วา นี้
หวายก็ดี เถาวัลย์ก็ดี ก็ชื่อว่าเถาวัลย์ทั้งนั้น. บรรดาหวายและเถาวัลย์เหล่านั้น
หวายหรือเถาวัลย์ใด เป็นของยาวซึ่งยื่นไป หรือเกี่ยวพันต้นไม้ใหญ่และกอไม้
เลื้อยไป เถาวัลย์นั้น ภิกษุตัดที่รากแล้วก็ดี หรือตัดที่ปลายก็ดี ไม่ยังอวหาร
ให้เกิดขึ้นได้. แต่เมื่อใดภิกษุตัดทั้งที่ปลายทั้งที่ราก เมื่อนั้น ย่อมยังอวหาร
ให้เกิดได้ หากเถาวัลย์ไม่เกี่ยวพัน (ต้นไม้) อยู่. ส่วนที่เกี่ยวพัน (ต้นไม้) อยู่

169
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 170 (เล่ม 2)

พอภิกษุคลายออกพ้นจากต้นไม้ ย่อมยังอวหารให้เกิดได้. หญ้าก็ตาม ใบไม้
ก็ตาม ทั้งหมดนั้น ท่านสงเคราะห์เข้าด้วยศัพท์ว่าหญ้า ในบทว่า ติณํ วา นี้
ภิกษุถือเอาหญ้านั้น ที่ผู้อื่นตัดไว้เพื่อประโยชน์แก่เครื่องมุงเรือนเป็นต้น หรือ
ที่ตนเองตัดเอา พระวินัยธรพึงปรับอาบัติตามราคาสิ่งของ และจะปรับอาบัติ
แต่เฉพาะถือเอาหญ้าและใบไม้อย่างเดียวเท่านั้นหามิได้ ถือเอาเปลือกและสะเก็ด
เป็นต้นแม้อย่างอื่นชนิดใดชนิดหนึ่ง ก็พึงปรับอาบัติตามราคาสิ่งของ. เมื่อ
ภิกษุถือเอาวัตถุมีเปลือกไม้เป็นต้น ซึ่งพวกเจ้าของยังความอาลัยอยู่ พึงปรับ
อาบัติตามราคาสิ่งของ แม้ต้นไม้ที่เขาถากทิ้งไว้นานแล้ว ก็ไม่ควรถือเอา.
ส่วนต้นไม้ใด ซึ่งเขาตัดที่ปลายและรากแล้ว กิ่งของต้นไม้นั้นเกิดเน่าผุบ้าง
สะเก็ดทั้งหลายกะเทาะออกบ้าง, จะถือเอาด้วยคิดว่า ต้นไม้นี้ พวกเจ้าของ
ทอดทิ้งแล้ว ดังนี้ ควรอยู่. แม้ต้นไม้ที่สลักเครื่องหมายไว้เมื่อใดเครื่องหมาย
ถูกสะเก็ดงอกปิด เมื่อนั้น จะถือเอาก็ควร. มนุษย์ทั้งหลาย ตัดต้นไม้เพื่อ
ประโยชน์แก่เรือนเป็นต้น เมื่อใด เขาสร้างเรือนเป็นต้นนั้นเสร็จแล้ว และ
เข้าอยู่อาศัย, เมื่อนั้น แม้ไม้ทั้งหลาย ย่อมเสียหายไปเพราะฝนและแดดแผดเผา
อยู่ในป่า. ภิกษุพบเห็น ไม้แม้เช่นนี้ จะถือเอาด้วยคิดว่า เขาทอดทิ้งแล้ว ดังนี้
ควรอยู่ เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า ไม้เหล่านั้นเจ้าของป่า ( เจ้าพนักงาน
ป่าไม้ ) ไม่มีอิสระ. ไม้ทั้งหลายที่ชนเหล่าใดให้ไทยธรรม ( ค่าภาคหลวง )
แก่เจ้าของป่าแล้วจึงตัด, ชนเหล่านั้นนั่นเอง เป็นอิสระแห่งไม้เหล่านั้น และ
ชนเหล่านั้น ก็ทิ้งไม้เหล่านั้น พวกเขาเป็นผู้ไม่มีความอาลัยในไม้เหล่านั้นแล้ว;
เพราะเหตุนั้น ภิกษุจะถือเอาไม้เช่นนั้นก็ควร. แม้ภิกษุรูปใด ให้ไทยธรรม
(ค่าภาคหลวง) แก่พนักงานผู้รักษาป่าไม้ก่อนทีเดียวแล้วเข้าป่า ให้ไวยาวัจกร
ถือเอาไม้ทั้งปลายได้ตามความพอใจ, การที่ภิกษุรูปนั้น แม้จะไม่ไปยังที่อารักขา
(ด่านตรวจ) ของเจ้าพนักงานผู้รักษาป่าไม้เหล่านั้น ไปโดยทางตามที่ตนชอบใจ
ก็ควร. แม้ถ้าเธอเมื่อเข้าไป ยังไม้ได้ให้ไทยธรรม ทำในใจว่า ขณะออกมา

170
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 171 (เล่ม 2)

จักให้ ดังนี้ ให้ถือเอาไม้ทั้งหลาย แล้วขณะออกมาให้ไทยธรรมที่ควรให้
แก่พวกเจ้าพนักงานผู้รักษาป่าไม้เหล่านั้นแล้วไป สมควรแท้. แม้ถ้าเธอทำ
ความผูกใจไว้แล้วจึงไป เมื่อเจ้าพนักงานผู้รักษาป่าไม้ทวงว่า ท่านจงให้
ตอบว่า อาตมาจักให้ เมื่อเขาทวงอีกว่า จงให้ ควรให้ทีเดียว ถ้ามีบางคน
ให้ทรัพย์ของตนแล้ว พูด (กับเจ้าพนักงาน) ว่า พวกท่านจงให้ภิกษุไปเถิด
ดังนี้, ภิกษุจะไปตามข้ออ้างที่ตนได้แล้วนั้นแลควรอยู่. แต่ถ้าบางคนมีชาติ
เป็นอิสระ (เจ้าหน้าที่ผู้ใหญ่) ไม่ได้ให้ทรัพย์เลย ห้ามไว้ว่า พวกท่านอย่าได้
รับค่าภาคหลวงสำหรับพวกภิกษุ ดังนี้ แต่พวกเจ้าพนักงานผู้รักษาป่าไม้
พูดว่า เมื่อพวกเราไม่รับเอาของพวกภิกษุและดาบส จักได้จากที่ไหนเล่า ?
ให้เถิดขอรับ ! ดังนี้, ภิกษุควรให้เหมือนกัน. ส่วนภิกษุรูปใด เมื่อเจ้า-
พนักงานผู้รักษาป่าไม้นอนหลับ หรือขลุกขลุ่ยอยู่ในการเล่น หรือหลีกไปใน
ที่ไหน ๆ เสีย มาถึงแล้วแม้เรียกหาอยู่ว่า เจ้าพนักงานผู้ควบคุมป่าไม้ อยู่ที่
ไหนกัน ดังนี้ ครั้นไม่พบ จึงไปเสีย, ภิกษารูปนั้น เป็นภัณฑไทย. ฝ่ายภิกษุ
รูปใด ครั้นไปถึงสถานที่อารักขาแล้ว แต่มัวใฝ่ใจถึงกรรมฐานเป็นต้นอยู่
หรือส่งจิตไปที่อื่นเสีย เลยผ่านไป เพราะระลึกไม่ได้ , ภิกษุรูปนั้น เป็น
ภัณฑไทยเหมือนกัน. แม้ภิกษุรูปใด ไปถึงสถานที่นั้นแล้ว มีโจร ช้าง เนื้อร้าย
หรือมหาเมฆปรากฏขึ้น, เมื่อภิกษุรูปนั้น รีบผ่านเลยสถานที่นั้นไป เพราะ
ต้องจะพ้นจากอุปัทวะนั้น, ยังรักษาอยู่ก่อน, แต่ก็เป็นภัณฑไทย. ก็ขึ้น
ชื่อว่า สถานที่อารักขาในป่านี้ เป็นของหนักมาก แม้กว่าด่านภาษี. จริงอยู่
ภิกษุเมื่อไม่ก้าวเข้าไปสู่เขตแดน ด่านภาษี หลบหลีกไปเสียแต่ที่ไกล จะต้อง
เพียงทุกกฎเท่านั้น แต่เมื่อเธอหลบหลีกที่อารักขาในป่านี้ไปด้วยไถยจิต ถึง
จะไปโดยทางอากาศก็ตาม ก็เป็นปาราชิกโดยแท้ เพราะเหตุนั้น ภิกษุไม่ควร
เป็นผู้ประมาทในสถานที่อารักขาในป่า ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในป่า

171
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 172 (เล่ม 2)

กถาว่าด้วยน้ำ
ก็ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยในน้ำดังนี้ :- บทว่า ภาชนคตํ ได้แก่
น้ำที่เขารวมใส่ไว้ในภาชนะทั้งหลายมีไหใส่น้ำเป็นต้น ในเวลาที่หาน้ำได้ยาก.
เมื่อภิกษุเอียงภาชนะที่เขาใส่น้ำนั้นก็ดี ทำให้เป็นช่องทะลุก็ดี แล้วสอดภาชนะ
ของตนเข้าไปรับเอาน้ำที่มีอยู่ ในภาชนะของเขาเหล่านั้น กับในสระโบกขรณี
และบ่อ ก็พึงทราบวินิจฉัยโดยนัยดังที่กล่าวไว้ในเนยใสและน้ำมันนั่นแล. ส่วน
ในการเจาะคันนา มีวินิจฉัยดังนี้ :- เมื่อภิกษุเจาะคันนาแม้พร้อมทั้งภูตคาม
ซึ่งเกิดขึ้นในคันนานั้น เป็นทุกกฏ เพราะเป็นประโยคแห่งอทินนาทาน. ก็แล
ทุกกฏนั้น ย่อมเป็นทุก ๆ ครั้งที่ขุดเจาะ. ภิกษุยืนอยู่ข้างใน แล้วหันหน้าไป
แล้วหันหน้าเข้าไปข้างในเจาะอยู่ พึงปรับอาบัติด้วยส่วนข้างใน, เมื่อเธอเจาะ
หันหน้าไปทั้งข้างในและข้างนอก คือ ยืนอยู่ที่ตรงกลางทำลายคันนานั้นอยู่
พึงปรับอาบัติด้วยส่วนตรงกลาง.
ภิกษุทำคันนาให้ชำรุดแล้ว จึงร้องเรียกฝูงโคมาเอง หรือใช้ให้พวก
เด็กชาวบ้านร้องเรียกมาก็ตาม, ฝูงโคเหล่านั้นพากันเอากีบเล็บตัดคันนา เป็น
อันว่าภิกษุรูปนั้นนั่นเองตัดคันนา. ภิกษุทำคันนาให้ชำรุดแล้ว ต้อนฝูงโคเข้า
ไปในน้ำ หรือสั่งพวกเด็กชาวบ้านให้ต้อนเข้าไปก็ตาม, ระลอกคลื่นที่โค
เหล่านั้นทำให้เกิดขึ้นซัดทำลายคันนาไป. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุพูดชวนพวกเด็ก
ชาวบ้านว่า จงพากันเล่นน้ำเถิด หรือตวาดพวกเด็กผู้เล่นอยู่ให้สะดุ้งตกใจ,
ระลอกคลื่นที่เด็กเหล่านั้นทำให้ตั้งขึ้น ทำลายคันนาไป. ภิกษุตัดต้นไม้ที่เกิด
อยู่ภายในน้ำเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นตัดก็ตาม, ระลอกคลื่นแม้ที่ต้นไม้ซึ่งล้มลงนั้น

172
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 173 (เล่ม 2)

ทำให้ตั้งขึ้น ซัดทำลายคันนาไป, เป็นอันว่าภิกษุรูปนั้นนั่นเอง เป็นผู้ทำลาย
คันนา. ภิกษุทำคันนาให้ชำรุดแล้ว ปิดน้ำที่เขาไขออกไป หรือปิดลำราง
สำหรับไขน้ำออกจากสระเสีย เพื่อต้องการรักษาสระก็ดี ก่อคันหรือแต่งลำราง
ให้ตรง โดยอาการที่น้ำซึ่งไหลบ่าไปแต่ที่อื่น จะไหลเข้าไปในสระนี้ได้ก็ดี
พังสระของตนซึ่งอยู่เบื้องบนสระของคนอื่นนั้นก็ดี, น้ำที่เอ่อล้นขึ้น ไหลบ่า
พัดเอาคันนาไป, เป็นอันว่าภิกษุรูปนั้นนั่นเอง เป็นผู้ทำลายคันนา. ในที่ทุก ๆ
แห่ง พระวินัยธรพึงปรับด้วยอวหาร พอเหมาะสมแก่ราคาน้ำที่ไหลออกไป.
แม้เมื่อภิกษุรื้อถอนท่อลำรางสำหรับไขน้ำออกไปเสีย ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
อนึ่ง ถ้าภิกษุนั้นทำคันนาให้ชำรุดแล้ว ฝูงโคซึ่งเดินมาตามธรรมดา
ของตนนั่นเอง หรือพวกเด็กชาวบ้านผู้ไม่ได้ถูกบังคับ ช่วยกันขับต้อนให้ขึ้น
ไปเอากีบเล็บตัดคันนาก็ดี ฝูงโคที่พวกเด็กชาวบ้านผู้ไม่ได้ถูกบังคับ ช่วยกัน
ขับต้อนให้ลงไปในน้ำตามธรรมดาของตนเอง ทำให้ระลอกคลื่นตั้งขึ้นก็ดี,
พวกเด็กชาวบ้านพากันเข้าไปเล่นน้ำเสียเอง ทำให้ระลอกคลื่นตั้งขึ้นก็ดี, ต้นไม้
(ซึ่งเกิดอยู่) ภายในน้ำ ที่ถูกชนเหล่าอื่นตัดขาดล้มลงแล้ว ทำระลอกคลื่นให้
ตั้งขึ้น, ระลอกคลื่นนั้น ๆ ซัดคันนาขาดก็ดี, แม้หากว่า ภิกษุทำคันนาให้ชำรุด
แล้ว ปิดที่ ๆ เขาไขน้ำออกไป หรือลำรางสำหรับไขน้ำแห่งสระที่แห้ง ก่อคัน
หรือแต่งลำรางที่แห้งให้ตรงทางน้ำที่จะไหลบ่าไปแต่ที่อื่น, ภายหลังในเมื่อฝน
ตก น้ำไหลบ่ามาเซาะทำลายคันนาไป, ในที่ทุก ๆ แห่ง เป็นภัณฑไทย. ส่วน
ภิกษุใด ทำลายคันบึงแห้งในฤดูแล้งให้พังลงจนถึงพื้น, ภายหลังในเมื่อฝนตก
น้ำที่ไหลมาครั้งแล้วครั้งเล่า ก็ไหลผ่านไป, เป็นภัณฑไทยแก่ภิกษุรูปนั้น.
ข้าวกล้ามีประมาณเท่าใด ที่เกิดขึ้นเพราะมีน้ำนั้นเป็นปัจจัย, ภิกษุเมื่อไม่ใช้
แม้ค่าทดแทนเท่าราคาบาทหนึ่งจากข้าวกล้า (ที่เสียไป) นั้น จัดว่าไม่เป็นสมณะ
เพราะพวกเจ้าของทอดธุระ. แต่พวกชาวบ้านแม้ทั้งหมด เป็นอิสระแห่งน้ำใน
บึงทั่วไปแก่ชนทั้งปวง และปลูกข้าวกล้าทั้งหลายไว้ภายใต้แห่งบึงนั้นด้วย.

173
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 174 (เล่ม 2)

น้ำก็ไหลออกจากลำรางใหญ่แต่บึงไปโดยท่ามกลางนา เพื่อหล่อเลี้ยงข้าวกล้า.
แม้ลำรางใหญ่นั้น ก็เป็นสาธารณะแก่ชนทั้งปวง ในเวลาน้ำไหลอยู่เสมอ.
ส่วนพวกชนชักลำรางเล็ก ๆ ออกจากลำรางใหญ่นั้น แล้วไขน้ำให้เข้าไปในนา
ของตน ๆ. ไม่ย่อมให้คนเหล่าอื่นถือเอาน้ำในลำรางเล็กของตนนั้น, เมื่อมี
น้ำน้อย ในฤดูแล้ง จึงแบ่งปันน้ำให้กันตามวาระ. ผู้ใด เมื่อถึงวาระน้ำ
ไม่ได้น้ำ, ข้าวกล้าของผู้นั้นย่อมเหี่ยวแห้งไป, เพราะเหตุนั้น ผู้อื่นจะรับเอา
น้ำในวาระของคนเหล่าอื่น ย่อมไม่ได้. บรรดาลำรางเล็กเป็นต้นนั้น ภิกษุใด
ไขน้ำจากลำรางเล็ก หรือจากนาของชนเหล่าอื่น ให้เข้าไปยังเหมืองหรือนา
ของตน หรือของคนอื่นด้วยไถยจิตก็ดี ให้น้ำไหลบ่าปากดงไปก็ดี, ภิกษุนั้น
เป็นอวหารแท้. ฝ่ายภิกษุใด คิดว่า นาน ๆ เราจักมีน้ำสักคราวหนึ่ง และ
ข้าวกล้านี้ก็เหี่ยวแห้งจึงปิดทางไหลของน้ำที่กำลังไหลเข้าไปในนาของชนเหล่า
อื่นเสีย แล้วให้ไหลเข้าไปยังนาของตน, ภิกษุนั้นเป็นอวหารเหมือนกัน. ก็ถ้า
ว่าเมื่อน้ำยังไม่ไหลออกจากบึง หรือยังไม่ไหลไปถึงปากเหมืองของชนเหล่าอื่น,
ภิกษุก่อลำรางแห้งนั่นเองไว้ในที่นั้น ๆ โดยอาการที่น้ำซึ่งกำลังไหลมา จะไม่
ไหลเข้าไปในนาของชนเหล่าอื่น ไหลเข้าไปแต่ในนาของตนเท่านั้น, เมื่อน้ำ
ยังไม่ไหลออกมา แต่ภิกษุได้ก่อคันไว้ก่อนแล้ว ก็เป็นอันเธอก่อไว้ดีแล้ว, เมื่อ
น้ำไหลออกมาแล้ว ถ้าภิกษุก่อคันไว้ เป็นภัณฑไทย. แม้เมื่อภิกษุไปยังบึง
แล้วรื้อถอนท่อลำรางสำหรับไขน้ำออกเสียเอง ให้น้ำไหลเข้าไปยังนาของตน
ไม่เป็นอวหาร. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่าตนอาศัยบึงจึงได้ทำนา. แต่ไม่
สมด้วยลักษณะนี้ว่า วัตถุกาละและเทสะเป็นต้น. เพราะเหตุนั้น คำที่ท่าน
กล่าวไว้ในมหาอรรถกถานั่นแหละ ชอบแล้ว ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยน้ำ

174
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 175 (เล่ม 2)

กถาว่าด้วยไม้ชำระฟัน
ไม้ชำระฟัน อันผู้ศึกษาพึงวินิจฉัยตามข้อที่วินิจฉัยไว้ในภัณฑะตั้งอยู่
ในสวน. ส่วนความแปลกกันในไม้ชำระฟันนี้ มีดังต่อไปนี้ :-
ไวยาวัจกรคนใด เป็นผู้ที่สงฆ์เลี้ยงไว้ด้วยค่าบำเหน็จ ย่อมนำไม้ชำระ
ฟันมาถวายทุกวัน หรือตามวารปักษ์และเดือน. ไวยาวัจกรคนนั้น นำไม้
ชำระฟันนั้นมา แม้ตัดแล้ว ยังไม่มอบถวายภิกษุสงฆ์เพียงใด, ไม้ชำระฟันนั้น
ก็ยังเป็นของไวยาวัจกรผู้นำมานั้นนั่นเอง เพียงนั้น. เพราะเหตุนั้น ภิกษุเมื่อ
ถือเอาไม้ชำระฟันนั้นด้วยไถยจิต พึงปรับอาบัติตามราคาสิ่งของ. อนึ่ง มีของ
ครุภัณฑ์ซึ่งเกิดขึ้นในอารามนั้น, ภิกษุเมื่อถือเอาของครุภัณฑ์แม้นั้น ที่ภิกษุ
สงฆ์รักษาคุ้มครอง ก็พึงปรับอาบัติตามราคาสิ่งของ. ในไม้ชำระฟันที่ตัดแล้ว
และยังมิได้ตัด ซึ่งเป็นของคณะบุคคลและมนุษย์คฤหัสถ์ก็ดี ในภัณฑะที่เกิด
ขึ้นในอารามและสวนเป็นต้น ของคณะบุคคลและมนุษย์คฤหัสถ์เหล่านั้นก็ดี
ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. สามเณรทั้งหลาย เมื่อนำไม้ชำระฟันมาถวายแก่ภิกษุสงฆ์
ตามวาระ ย่อมนำมาถวายแม้แก่พระอาจารย์และอุปัชฌายะ (ของตน). เธอ
เหล่านั้น ครั้นตัดไม้ชำระฟันนั้นแล้ว ยังไม่มอบถวายสงฆ์เพียงใด, ไม้ชำระ
ฟันนั้นแม้ทั้งหมด ก็ยังเป็นของเธอเหล่านั้นนั่นเองเพียงนั้น, เพราะเหตุนั้น
ภิกษุเมื่อถือเอาไม้ชำระฟันแม้นั้นด้วยไถยจิต ก็พึงปรับอาบัติตามราคาสิ่งของ.
แต่เมื่อใด สามเณรเหล่านั้นตัดไม้ชำระฟันแล้ว ได้มอบถวายสงฆ์แล้ว แต่ยัง
เก็บไว้ในโรงไม้ชำระฟัน ด้วยคิดในใจอยู่ว่า ภิกษุสงฆ์จงใช้สอยตามสบาย
เถิด ดังนี้, ตั้งแต่กาลนั้นไป ไม่เป็นอวหาร แต่ก็ควรทราบธรรมเนียม.

175
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 176 (เล่ม 2)

จริงอยู่ ภิกษุรูปใด เข้าไปในท่ามกลางสงฆ์ทุกวัน, ภิกษุรูปนั้น ควรถือเอา
ไม้ชำระฟันได้เพียงวันละอันเท่านั้น. ส่วนภิกษุรูปใด ไม่เข้าไปในท่ามกลาง
สงฆ์ทุกวัน พักอยู่ในเรือนที่บำเพ็ญเพียร จะปรากฏตัวได้ก็แต่ในที่ฟังธรรม
หรือในโรงอุโบสถ ; ภิกษุรูปนั้นควรกำหนดประมาณ แล้วเก็บไม้ชำระฟัน
๔ - ๕ อันไว้ในที่อยู่ของตนเคี้ยวเถิด. เมื่อไม้ชำระฟันเหล่านั้น หมดไปแล้ว
แต่ถ้าในโรงไม้ชำระฟัน ยังมีอยู่มากที่เดียว ก็ควรนำมาเคี้ยวได้อีก, ถ้าเธอ
ไม่กำหนดประมาณ ยังนำมาอยู่ไซร้, เมื่อไม้ชำระฟันเหล่านั้นยังไม่หมดสิ้น
ไปเลย, แต่ในโรงหมดไป ; คราวนั้น พระเถระทั้งหลายบางพวกจะพึงพูดว่า
พวกภิกษุผู้นำไม้ชำระฟันไป จงนำมาคืน, บางพวกจะกล่าวว่า จงเคี้ยวไปเถิด,
พวกสามเณรจักขนมาถวายอีก เพราะเหตุนั้น จึงควรกำหนดประมาณ เพื่อ
ป้องกันการวิวาทกัน แต่ไม่มีโทษในการถือเอา. แม้ภิกษุผู้จะเดินทาง ควร
ใส่ไม้ชำระฟันหนึ่งหรือสองอันในถุงย่ามแล้วจึงไป ฉะนี้แล.
จบกถาว่าด้วยไม้ชำระฟัน

176
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 177 (เล่ม 2)

กถาว่าด้วยต้นไม้เจ้าป่า
บทว่า วนปฺปติ ได้แก่ ต้นไม้เป็นเจ้าแห่งป่า คำว่า วนัปปติ นั่น
เป็นชื่อของต้นไม้ที่เจริญที่สุดในป่า. ก็ต้นไม้ที่พวกมนุษย์หวงห้ามแม้ทั้งหมด
มีมะม่วง ขนุนสำมะลอ และขนุนธรรมดาเป็นต้น ท่านประสงค์เอาในอธิการนี้.
ก็หรือว่า พวกมนุษย์ปลูกกระวานและเถาวัลย์เป็นต้นขึ้นไว้ที่ต้นไม้ใด, ต้นไม้
นั้น เมื่อถูกภิกษุตัด ถ้าเปลือกก็ดี ใยก็ดี สะเก็ดก็ดี กระพี้ก็ดี แม้อันเดียว
ยังติดเนื่องกันอยู่แล ล้มลงบนพื้นดิน ก็ยังรักษาอยู่ก่อน. ส่วนต้นไม้ใดแม้
ถูกตัดขาดแล้ว ก็ยังตั้งอยู่ตรง ๆ นั่นเอง เพราะมีเถาวัลย์หรือกิ่งไม้โดยรอบ
ธารไว้ หรือเมื่อล้มลงไปยังไม่ถึงพื้นดิน, ในต้นไม้นั้น ไม่มีการหลีกเลี่ยง
คือ เป็นอวหารทีเดียว. แม้ต้นไม้ใด ที่ภิกษุเอาเลื่อนตัดขาดแล้ว ก็ยังตั้งอยู่
ในทีนั้นนั่นเอง เป็นเหมือนยังไม่ขาดฉะนั้น, แม้ในต้นไม้นั้น ก็มีนัยนี้
เหมือนกัน. ส่วนภิกษุรูปใด ทำต้นไม้ให้หย่อนกำลัง ภายหลังจึงเขย่าให้ล้ม
ลงก็ดี ให้ผู้อื่นเขย่าก็ดี ตัดไม้ต้นอื่นใกล้ต้นไม้นั้นทับลงไว้เองก็ดี ให้ผู้อื่น
ตัดทับก็ดี ต้อนพวกลิงให้ไปขึ้นบนต้นไม้นั้นก็ดี สั่งคมอื่นให้ต้อนขึ้นไปก็ดี
ต้อนพวกค้างคาวให้ขึ้นบนต้นไม้นั้นก็ดี สั่งคนอื่นให้ต้อนขึ้นไปก็ได้ ค้างคาว
เหล่านั้น ทำต้นไม้นั้นให้ล้มลง ; อวหารย่อมมีแก่ภิกษุรูปนั้นเหมือนกัน.
แต่ถ้าเมื่อทำต้นไม้หย่อนกำลังแล้ว มีผู้อื่นซึ่งเธอมิได้บังคับเคย เขย่า
ต้นไม้นั้นให้ล้มลงก็ตาม เอาต้นไม้ทับไว้เองก็ตาม พวกลิงหรือค้างคาวขึ้น

177