No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 196 (เล่ม 17)

ก็ในสมัยใด จิตเป็นธรรมชาติฟุ้งซ่าน ในสมัยนั้นเป็นเวลาเหมาะ
ที่จะเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เหมาะที่จะเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เหมาะที่
จะเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดังนี้ . ก็ในบรรดาโพชฌงค์เหล่านี้ สติ-
สัมโพชฌงค์เป็นเอกให้สำเร็จประโยชน์แก่โพชฌงค์ทุกข้อ. เหมือนอย่าง
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ก็เรากล่าวสติแลว่ามีประโยชน์แก่โพชฌงค์ทุกข้อ
ดังนี้ บาลีว่า สพฺพตฺถกํ ดังนี้ก็มี. บาลีทั้ง ๒ (นั้น) ความหมายก็
คือว่า จำต้องปรารถนาในโพชฌงค์ทุกข้อ (เหมือนกัน). พึงทราบวินิจฉัย
ในโพชฌงค์นี้แม้โดยไม่ขาดไม่เกินอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
โพชฌงค์ไว้ ๗ ประการเท่านั้นไม่ขาดไม่เกิน เพราะ ๓ ข้อเป็นปฎิปักษ์
ต่อความหดหู่, ๓ ข้อเป็นปฎิปักษ์ต่อความฟุ้งซ่าน, และเพราะสติเป็น
ประโยชน์แก่โพชฌงค์ทุกข้ออย่างนี้.
บัณฑิตครั้นทราบอรรถวรรณนาของบททั้ง ๗ ที่กล่าวโดยนัยเป็นต้น
ว่า สติสมฺโพชฺฌงฺคํ อย่างนี้ก่อนแล้ว บัดนี้ พึงทราบอรรถวรรณนา
อย่างนี้ ในประโยคเป็นต้นว่า ภาเวติ วิเวกนิสฺสิตํ ดังนี้ (ต่อไป).
บทว่า ภาเวติ ความว่า ย่อมให้เจริญ อธิบายว่า ย่อมให้เกิด
ขึ้น คือให้บังเกิดขึ้นเฉพาะในจิตสันดานของตนบ่อย ๆ.
บทว่า วิเวกนิสฺสิตํ คืออาศัยวิเวก. ความสงัด ชื่อว่าวิเวก. วิเวกนั้น
มี ๕ อย่างคือ ตทังควิเวก วิกขันภนวิเวก สมุจเฉพวิเวก ปฏิปัส-
สัทธิวิเวก และนิสสรณวิเวก ความที่วิเวกนั้นเป็นต่าง ๆ กัน พึงทราบ
โดยนัยที่ท่านกล่าวไว้ในคำนี้ว่า อริยธมฺเม อวินีโต ดังนี้ . ความจริง
วิเวกนี้นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า วินัย ในบทว่า อริยธมฺเม

196
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 197 (เล่ม 17)

อวินีโต นั้น. ในวิเวกทั้ง ๕ อย่างนี้ดังกล่าวมานี้ พึงทราบความดังนี้ว่า:-
บทว่า วิเวกนิสฺสิตํ ความว่า เจริญสติสัมโพชฌงค์ อาศัยตทังควิเวก
อาศัยสมุจเฉทวิเวก อาศัยนิสสรณวิเวก. จริงอย่างนั้น พระโยคาวจรผู้
ตามประกอบการเจริญโพชฌงค์นี้ ในขณะแห่งวิปัสสนา ย่อมเจริญสติ-
สัมโพชฌงค์ซึ่งอาศัยตทังควิเวกโดยกิจ อันอาศัยนิสสรณวิเวกโดยอัธยาศัย
แต่ในกาลแห่งมรรคย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยสมุจเฉทวิเวกโดยกิจ
และอาศัยนิสสรณวิเวกโดยอารมณ์. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า อาศัยวิเวก
ทั้ง ๔ อย่างดังนี้บ้าง. เพราะว่าอาจารย์เหล่านั้นไม่ยกโพชฌงค์ขึ้นมา
เฉพาะในขณะแห่งวิปัสสนาที่มีกำลัง และในขณะแห่งมรรคและผลอย่าง
เดียวเท่านั้น แต่แม้ในกสิณฌาน อานาปานสติกัมมัฏฐาน และในพรหม-
วิหารฌานซึ่งเป็นบาทของวิปัสสนาก็ยกขึ้นนาด้วย ทั้งพระอรรถกถาจารย์
ทั้งหลายก็ไม่ได้คัดค้าน. เพราะฉะนั้น ตามมติของอาจารย์เหล่านั้นควร
กล่าวว่า พระโยคาวจรย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิกขัมภนวิเวกโดย
กิจอย่างเดียว๑ ในขณะที่เป็นไปแห่งฌานเหล่านั้น. และท่านกล่าวว่าในขณะ
แห่งวิปัสสนา พระโยคาวจรย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยนิสสรณวิเวก
โดยอัธยาศัย ดังนี้ฉันใด พระโยคาวจรย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์แม้อันอาศัย
ปฏิปัสสัทธิวิเวกก็ฉันนั้น. ในสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิราคะเป็นต้นก็นัยนี้ง
ความจริง ธรรมมีวิราคะเป็นต้นก็มีวิเวกเป็นอรรถทั้งนั้น. ก็ในธรรมทั้ง
หลายมีราคะเป็นต้นนี้ โวสสัคคะอย่างเดียวที่แบ่งออกเป็น ๒ อย่างคือ
การปล่อยวางโดยการสละ (ปริจจาคโวสสัคคะ) ๑. การปล่อยวางโดยการ
แล่นไป (ปักขันทนโวสสัคคะ) ๑. บรรดาการปล่อยวางทั้ง ๒ อย่างนั้น
๑. ปาฐะเป็น เอวํ แต่ตามฉบับพม่าเป็น เอว เห็นว่าเหมาะ จึงแปลตามฉบับพม่า.

197
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 198 (เล่ม 17)

การละกิเลสด้วยสามารถตทังคปหานในขณะแห่งวิปัสสนาและด้วยสมุจเฉท-
ปหานในขณะแห่งมรรค ชื่อว่าการปล่อยวางโดยการสละ. ส่วนการ
แล่นไปสู่พระนิพพานโดยการน้อมไปสู่พระนิพพานนั้นในขณะแห่งวิปัสสนา
ชื่อว่าการสละโดยการแล่นไป แต่ในขณะแห่งมรรคการแล่นไปสู่พระ
นิพพานจะมีได้ด้วยสามารถแห่งการทำให้เป็นอารมณ์. แม้โวสสัคคะทั้งคู่
นั้นย่อมเหมาะสมในนัยแห่งอรรถกถาอันเจือด้วยโลกิยะและโลกุตตระนี้.
จริงอย่างนั้น สติสัมโพชฌงค์นี้ย่อมสละกิเลสและย่อมแล่นไปสู่พระนิพพาน
โดยประการตามที่กล่าวแล้ว. ก็ด้วยถ้อยคำทั้งสิ้นนี้ว่า โวสฺสคฺคปริณามึ
นี้ มีคำอธิบายที่ท่านกล่าวไว้ว่า กำลังน้อมไป และน้อมไปแล้ว คือจะงอม
และงอมแล้ว เพื่อการปล่อยวาง ดังนี้. อธิบายว่า ภิกษุนี้ผู้ประกอบ
เนือง ๆ ซึ่งการเจริญโพชฌงค์ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์นั้น โดยที่สติ-
สัมโพชฌงค์จะงอม และงอมแล้ว เพื่อการปล่อยวางโดยการสละกิเลส
และเพื่อการปล่อยวางโดยการแล่นไปสู่พระนิพพาน ฉะนี้แล. ในโพช-
ฌงค์ที่เหลือก็นัยนี้.
แต่ว่าในที่นี้ นิพพานนั้นเอง ท่านกล่าวว่า วิเวก เพราะสงัดจาก
สังขตธรรมทั้งปวงท่านกล่าวว่า วิราคะ เพราะภาวะแห่งสังขตธรรมทั้งหมด
คลายกำหนัดแล้ว และท่านกล่าวว่า นิโรธ เพราะภาวะคือความดับแห่ง
สังขตธรรมทั้งหลาย. ก็มรรคนั้นแลมีปกติน้อมไปเพื่อการสละ ฉะนั้น พระ
โยคาวจรย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก เพราะกระทำวิเวกให้เป็น
อารมณ์แล้วเป็นไป. พระโยคาวจรย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยนิโรธ
ก็อย่างนั้น. พระโยคาวจร ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันงอมแล้ว คืองอม
รอบโดยภาวะคือการสละ และโดยภาวะคือการแล่นไปสู่พระนิพพาน

198
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 199 (เล่ม 17)

โดยการถอนกิเลสได้เด็ดขาด เพราะเกิดขึ้นในขณะแห่งอริยมรรคนั้นแล.
พึงเห็นเนื้อความดังกล่าวมานี้. ในโพชฌงค์ที่เหลือก็นัยนี้.
บทว่า ยญฺหิสฺส ความว่า อาสวะทั้งหลายและความเร่าร้อนอัน
ทำความคับแค้นใจทั้งหลายย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่เจริญในบรรดาโพชฌงค์
ทั้งหลายเหล่านั้นข้อใดข้อหนึ่ง. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล. ก็ในการ
บังเกิดขึ้นแห่งอาสวะในสูตรนี้พึงทราบนัยดังนี้ อาสวะทั้ง ๓ คือ กามา-
สวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะเหล่าใดพึงเกิดขึ้น เพราะเหตุที่ภิกษุไม่ได้
อบรมโพชฌงค์ซึ่งสัมปยุตด้วยมรรคเบื้องปลายเหล่านี้ อาสวะเหล่านั้น
ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้นผู้เจริญโพชฌงค์เหล่านั้น ดังนี้. ข้อว่า อิเม วุจฺจนฺติ
ฯ ล ฯ ภาวนา ปหาตพฺพา ความว่า อาสวะทั้ง ๓ เหล่านี้พึงทราบว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อันภิกษุพึงละเสียด้วยการเจริญโพชฌงค์ซึ่ง
สัมปยุตด้วยมรรค ๓ นี้.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงชมเชยภิกษุผู้ละอาสวะได้ด้วย
อาการ ๗ เหล่านี้ และเมื่อจะทรงแสดงอานิสงส์ในการละอาสวะของภิกษุ
นั้น และเมื่อจะให้เกิดความขวนขวายแก่สัตว์ทั้งหลาย โดยการละอาสวะ
ด้วยเหตุเหล่านี้นั่นเอง จึงตรัสว่า ยโต โข ภิกฺขเว ฯลฯ อนฺตมกาสิ
ทุกฺขสฺส ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น โต อักษร ในคำว่า ยโต โข ใช้ในฉัฏฐี-
วิภัตติ อธิบายว่า เท่ากับ ยสฺส โข (ของกาลใดแล ) ดังนี้. ส่วนพระ
โบราณาจารย์ทั้งหลายย่อมพรรณนาว่า เท่ากับ ยมฺหิ กาเล (ในกาล
ใด) ดังนี้. ข้อว่า เย อาสวา ทสฺสนา ปหาตพฺพา ความว่า อาสวะ
ทั้งหลายเหล่าใดที่ภิกษุละได้แล้วด้วยทัสสนะ อาสวะทั้งหลายเหล่านั้นเป็น

199
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 200 (เล่ม 17)

อันภิกษุนั้นละได้แล้วด้วยทัสสนะนั้นแล และเธอย่อมมีความสำคัญ ใน
อาสวะที่ยังละไม่ได้นั้นแลว่า อันตนละได้แล้วก็หามิได้. ในบททั้งปวง
มีความพิสดารอย่างนี้.
บทว่า สพฺพาสวสํวรสํวุโต ความว่า เบ็นผู้ปิดแล้วด้วยการปิด
อาสวะทุกอย่าง. อีกอย่างหนึ่ง เป็นผู้ปิดแล้วด้วยเครื่องปิดซึ่งอาสวะทุก
อย่าง..
บทว่า อจฺเฉชฺชิ ตณฺหํ ความว่าตัดแล้ว หรือถอนขึ้นได้แล้ว
ซึ่งตัณหาหมดทุกอย่าง.
บทว่า วิวตฺตยิ สํโยชนํ ความว่า ย่อมหมุนกลับซึ่งสังโยชน์
แม้ทั้ง ๑๐ คือทำให้หมดมลทิน.
บทว่า สมฺมา คือโดยเหตุ ได้แก่โดยกาล.
บทว่า มานาภิสมยา ความว่า เพราะบรรลุด้วยการเห็น และเพราะ
บรรลุด้วยการละมานะ. ความจริง อรหัตตมรรคย่อมเห็นแจ้งมานะด้วย
อำนาจกิจ. นี้เป็นการบรรลุด้วยการเห็นของภิกษุนั้น. ก็อรหัตตมรรค
อันภิกษุเห็นแล้วด้วยทัสสนะนั้นอันเธอย่อมละได้ในขณะนั้นนั่นเอง เหมือน
การกลับได้ชีวิตของสัตว์ผู้ถูกงูพิษกัดฉะนั้น. นี้เป็นการบรรลุโดยการละ
ของภิกษุนั้น.
บทว่า อนฺตมกาสิ ทุกฺขสฺส ความว่า ที่สุด ๔ อย่างนี้ คือ
ที่สุดคือเขตแดนอันมีในที่สุด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ปลาย
ประคดเอวเก่าแล้ว หรือยอดของเขียวสดเหี่ยวแล้ว และที่สุดที่เลวทราม
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นที่สุดแห่ง
ชีวิต และที่สุดคือส่วนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า สักกายะ

200
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 201 (เล่ม 17)

(ทิฏฐิ) ก็เป็นที่สุดอันหนึ่ง และที่สุดของการนับ ที่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า นี้เป็นที่สุดแห่งทุกข์ เพราะนับปัจจัยทุกอย่าง
ในบรรดาที่สุดทั้ง ๔ อย่างนั้น ภิกษุได้กระทำที่สุดข้อที่ ๔ โน้นแห่ง
วัฏฏทุกข์ทั้งปวงได้ เพราะความที่แห่งมานะอันตนเห็นและละได้ด้วย
อรหัตตมรรคอย่างนี้. อธิบายว่า เธอได้ทำการขาดตอน คือทำไห้หมดไป
ได้แก่ทำทุกข์ให้เหลืออยู่เพียงร่างกายชาติสุดท้าย.
บทว่า อตฺตมนา เต ภิกฺขู ความว่า ภิกษุเหล่านั้นมีใจเป็น
ของตน คือมีใจยินดี หรือเป็นผู้มีใจอันสัมปยุตด้วยปีติและโสมนัส.
บทว่า ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทุํ ความว่า ภิกษุทั้งหลายรับด้วย
เศียรเกล้าแล้วทูลชมเชยพระพุทธภาษิต คือพระพุทธดำรัสที่ตรัสดีแล้ว
ได้แก่ที่ทรงปราศรัยแล้ว มีการทำที่สุดทุกข์เป็นปริโยสานว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสซึ่งคำนี้อย่างนี้ พระสุคตเจ้าตรัสคำนี้อย่างนี้ ดังนี้.
คำที่เหลืออันใดที่ข้าพเจ้ามิได้กล่าวไว้ในที่นี้ ข้าพเจ้าจะไม่กล่าว
คำนั้นซ้ำอีก เพราะกล่าวไว้ก่อนแล้ว และเพราะเข้าใจได้ง่าย เพราะฉะนั้น
ผู้ศึกษาพึงพิจารณาคำทั้งหมดตามลำดับที่ โดยทำนองแห่งคำที่กล่าว
แล้วเทอญ.
จบ อรรถกถาแห่งสัพพาสวสังวรสูตร
จบ สูตรที่ ๒

201
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 202 (เล่ม 17)

๓. ธรรมทายาทสูตร
(๒๐) ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับพระพุทธพจน์แล้ว.
(๒๑) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาท อย่าเป็นอามิสทายาทของเราตถาคตเลย เรา
ตถาคตมีความอนุเคราะห์ในเธอทั้งหลายอยู่ว่า ทำอย่างไรหนอ ? สาวก
ทั้งหลายของเราตถาคตจึงจะเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิสทายาท ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็เธอทั้งหลายจะพึงเป็นอามิสทายาท ไม่เป็นธรรมทายาท
ของเราตถาคต ข้อที่เธอทั้งหลายเป็นอามิสทายาท ไม่เป็นธรรมทายาท
ของเราตถาคตนั้น จะพึงเป็นเหตุให้ถูกวิญญูชนติเตียนเอาได้ว่า สาวก
ทั้งหลายของพระศาสดาพากันเป็นอามิสทายาท ไม่เป็นธรรมทายาทอยู่
ถึงเราตถาคตก็คงถูกวิญญูชนติเตียนได้ว่า สาวกของพระศาสดาเป็น
อามิสทายาท ไม่เป็นธรรมทายาทอยู่ ดังนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ถ้า
เธอทั้งหลายพึงเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิสทายาทของเราตถาคตไซร้
แม้เธอทั้งหลายจะไม่พึงถูกวิญญูชนติเตียนว่า สาวกทั้งหลายของพระ
ศาสดาเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิสทายาทอยู่. ถึงเราตถาคตก็คงไม่ถูก
วิญญูชนติเตียนว่า สาวกทั้งหลายของพระศาสดาเป็นธรรมทายาท ไม่เป็น

202
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 203 (เล่ม 17)

อามิสทายาทอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลาย
จงเป็นธรรมทายาทของเราตถาคตเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทเลย เรา
ตถาคตมีความอนุเคราะห์ในเธอทั้งหลายอยู่ว่า ทำอย่างไรหนอ? สาวก
ทั้งหลายของเราตถาคตจึงจะเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิสทายาท.
ธรรมทายาทและอามิสทายาท
(๒๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตฉันเสร็จแล้ว ห้ามภัตรแล้ว
เสร็จบริบูรณ์แล้ว อิ่มแล้ว เพียงพอแก่ความต้องการแล้ว แต่บิณฑบาต
ของเราตถาคตยังมีเหลืออยู่ มีอันจะต้องทิ้งเป็นธรรมดา. เวลานั้น ภิกษุ
๒ รูป ถูกความหิวและความอ่อนเพลียครอบงำแล้ว หิวโหยมาก พากันมา
เราพึงกล่าวกะเธอทั้งหลายนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคต
ฉันเสร็จแล้ว ห้ามภัตรแล้ว เสร็จบริบูรณ์แล้ว อิ่มแล้ว เพียงพอ
แก่ความต้องการแล้ว แต่บิณฑบาตนี้ของเราตถาคตยังมีเหลืออยู่ มีอันจะ
ต้องทิ้งเป็นธรรมดา ถ้าเธอทั้งหลายประสงค์จะฉันก็จงฉันเถิด ถ้าเธอ
ทั้งหลายไม่ประสงค์จะฉันก็อย่าฉัน เราจักทิ้งเสียในที่ที่ปราศจากของ
เขียวสด หรือจักเทเสียในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ ณ บัดนี้.
ภิกษุผู้เป็นธรรมทายาท
บรรดาภิกษุ ๒ รูป รูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาค
เจ้าเสวยเสร็จแล้ว ห้ามภัตรแล้ว เสร็จบริบูรณ์แล้ว ทรงอิ่มแล้ว พอพระ
ประสงค์แล้ว ก็บิณฑบาตของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ยังมีเหลืออยู่ มีอันจะ
ต้องทิ้งเป็นธรรมดา ถ้าเราทั้งหลายจักไม่ฉัน พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จัก

203
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 204 (เล่ม 17)

ทรงทิ้งในที่ที่ปราศจากของเขียวสด หรือจักทรงเทเสียในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์
ณ บัดนี้ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของเราตถาคตเถิด อย่าเป็นอามิสทายาท
เลย ก็บิณฑบาตนี้เป็นอามิสทายาทอย่างหนึ่ง อย่ากระนั้นเลย เราจะไม่
ฉันบิณฑบาตนี้ จะปล่อยวันคืนนั้นให้ล่วงไปอย่างนี้ ทั้งที่ยังมีความหิว
และความอ่อนเพลียอยู่นั้นแหละ.
ภิกษุผู้เป็นอามิสทายาท
ส่วนภิกษุรูปที่ ๒ มีความคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวย
เสร็จแล้ว ห้ามภัตรแล้ว เสร็จบริบูรณ์แล้ว ทรงอิ่มแล้ว พอพระ
ประสงค์แล้ว ก็บิณฑบาตของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ยิ่งมีเหลืออยู่
มีอันจะต้องทิ้งเป็นธรรมดา ถ้าเราทั้งหลายไม่ฉัน พระผู้มีพระภาคเจ้าจัก
ทรงทิ้งในที่ที่ปราศจากของเขียวสด หรือจักทรงเทเสียในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์
ณ บัดนี้ อย่ากระนั้นเลย เราควรฉันบิณฑบาตนี้ บรรเทาความหิว
และความอ่อนเพลีย แล้วปล่อยวันคืนนั้นให้ล่วงไปอย่างนี้. เธอจึงฉัน
บิณฑบาตนั้น บรรเทาความหิวและความอ่อนเพลีย แล้วปล่อยวันคืนนั้น
ให้ล่วงไปอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น แม้จะฉันบิณฑบาตนั้น บรรเทา
ความหิวและความอ่อนเพลีย แล้วปล่อยวันคืนนั้นให้ล่วงไปอย่างนี้ก็จริง
ถึงอย่างนั้น ภิกษุรูปแรกโน้นแหละ ของเราตถาคตเป็นผู้ควรบูชา ควร
สรรเสริญมากกว่า. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเพราะ
ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา เลี้ยงง่าย ปรารภ

204
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 205 (เล่ม 17)

ความเพียร แก่ภิกษุนั้น สิ้นกาลนาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุ
นั้นแล เธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของเราตถาคต อย่าเป็น
อามิสทายาทเลย เราตถาคตมีความอนุเคราะห์ในเธอทั้งหลายว่า ทำ
อย่างไรหนอ สาวกทั้งหลายของเราตถาคตจึงจะเป็นธรรมทายาท ไม่เป็น
อามิสทายาท พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว พระ
สุคตเจ้าครั้นตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว จึงเสด็จลุกจากอาสนะเข้าสู่พระ
วิหาร.
พระสารีบุตรอธิบาย
(๒๓) ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปไม่นาน
ท่านพระสารีบุตรเถระ จึงเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรเถระว่า ขอรับ ดังนี้.
ท่านพระสารีบุตรเถระได้กล่าวคำนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อ
พระศาสดาประทับอยู่อย่างผู้สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายย่อมไม่ศึกษาความ
สงัดวาม ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล ? ก็แล เมื่อพระศาสดา
ประทับอยู่อย่างผู้สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายย่อมศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุ
มีประมาณเท่าไรหนอแล?
ภิกษุเหล่านั้นเรียนว่า อาวุโส แม้ผมทั้งหลายก็มาแต่ที่ไกล เพื่อ
จะทราบเนื้อความแห่งภาษิตข้อนี้ ในสำนักท่านพระสารีบุตรเถระ ขอ
โอกาสเถิดครับ เนื้อความแห่งภาษิตข้อนี้คงแจ่มแจ้งเฉพาะท่านพระ
สารีบุตรเถระองค์เดียว ภิกษุทั้งหลายได้สดับต่อท่านพระสารีบุตรเถระ
แล้ว จักทรงจำไว้. ท่านพระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มี-

205