No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 16 (เล่ม 17)

อรรถกถามูลปริยายสูตร
เอวมฺเม สุตํ ฯเปฯ สพฺพธมฺมปริยายํ
บทนมัสการพระรัตนตรัย
ข้าพเจ้าขอวันทาพระสุคตเจ้า ผู้มีความมืด คือ โมหะอันกำจัด
แล้วด้วยแสงสว่าง คือปัญญา หลุดพ้นแล้วจากคติ (ทั้งปวง) มีพระ
หฤทัยเยือกเย็นด้วยพระกรุณา เป็นครูแห่งสัตว์โลกทั้งมนุษย์และเทวดา.
แม้องค์พระพุทธเจ้าทรงเข้าถึงซึ่งพระธรรมอันปราศจากมลทินใด
จึงทรงทำให้เกิดและทำให้แจ้งซึ่งความเป็นพระพุทธ ข้าพเจ้าขอวันทา
พระธรรมอันเลิศนั้น.
ข้าพเจ้าขอวันทาพระอริยสงฆ์ คือ ชุมนุมแห่งพระอริยบุคคลทั้ง ๘
ผู้เป็นพระบุตร เกิดแต่พระอุระแห่งพระสุคตเจ้า ผู้ย่ำยีมารและเสนามาร
เสียได้.
บุญอันสำเร็จด้วยการวันทาพระรัตนตรัยของข้าพเจ้า ผู้มีใจเลื่อมใส
ดังนี้อันใด ด้วยอานุภาพแห่งบุญนั้น ข้าพาเจ้าเป็นผู้มีอันตรายอันขจัดเสีย
ได้ด้วยดีแล้ว อรรถกถาอันใดที่พระอรหันต์ผู้เชี่ยวชาญ ๕๐๐ องค์
สังคายนา (ร้อยกรอง) ไว้แต่เบื้องแรก และที่พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย
สังคายนา (ร้อยกรอง) เพิ่มเติมในภายหลังก็ดี เพื่อประกาศ (อธิบาย)
เนื้อความแห่งพระสูตร มัชฌิมนิกาย ในคัมภีร์นี้ อันกำหนดหมายด้วย

16
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 17 (เล่ม 17)

พระสูตรขนาดกลาง (ไม่ยาวไม่สั้น) ที่พระพุทธองค์พระสาวก
กล่าวสังวรรณนาไว้ ย่ำยีเสียได้ซึ่งลัทธิอื่น ครั้นแล้วพระมหินทมหาเถระ
ผู้เชี่ยวชาญได้นำมาสู่เกาะสีหล ฐาปนา (จารึก) ไว้ในภาษาสีหล
เพื่อประโยชน์แก่ชาวเกาะ ข้าพเจ้าจักนำภาษาสีหลออกแล้วยกขึ้นสู่ภาษา
อันเป็นที่รื่นรมย์ใจ สมควรที่จะเป็นแบบแผนได้ ปราศจากโทษ (คือ
ภาษามคธ) อีกทอดหนึ่ง ประกาศ (อธิบาย) เนื้อความมิให้ขัดมติ
ของพระเถระคณะมหาวิหารผู้เป็นประทีปแห่งเถรวงศ์ มีการวินิจฉัยละเอียด
ดี โดยเว้นความที่ซ้ำ ๆ กันเสียบ้าง เพื่อความพอใจแห่งสาธุชน และ
เพื่อความตั้งอยู่นานแห่งพระธรรม.
ส่วนข้อธรรม คือ สีลกถา ธุตธรรม (เรื่องธุดงค์) กรรมฐาน
ทุกอย่าง ฌานสมาบัติอย่างพิสดาร พร้อมทั้งจริยาวิธาน (แจงจริต
ของบุคคล) อภิญญาทั้งปวง การวินิจฉัย ปัญญาทั้งสิ้น ขันธ์ ธาตุ
อายตนะ อินทรีย์ อริยสัจ ๔ การแสดง ปัจจยาการ (คือ ปฏิจจ-
สมุปบาท) มีนัยบริสุทธิ์ละเอียดดี พอเป็นแบบที่เชื่อได้ และวิปัสสนา-
ภาวนา ทั้งปวง (นี้) ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรคอย่าง
หมดจดดี เหตุใด เหตุนั้น ข้าพเจ้าจักไม่วิจารณ์ข้อธรรมทั้งปวงนั้นยิ่งขึ้น
ไปละ.
วิสุทธิมรรคนั้น ข้าพเจ้ารจนาทำด้วยคิดว่า วิสุทธิมรรคจักตั้งอยู่
ในท่ามกลางแห่งนิกายทั้ง ๔ แล้วประกาศเนื้อความตามที่ท่านภาษิตไว้ใน
นิกายทั้ง ๔ นั้นได้ ดังนี้ เหตุนั้น ท่านทั้งหลายจงถือเอาแม้วิสุทธิมรรค
นั้นพร้อมทั้งอรรถกถานี้ ทราบเนื้อความแห่งมัชฌิมสังคีติ (คือ มัชฌิม-
นิกายทั้ง ๓ ปัณณาสก์) เถิด.

17
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 18 (เล่ม 17)

ศีลกถา ธุดงคธรรม กัมมัฏฐาน ความพิสดารของฌานและ
สมาบัติ ซึ่งประกอบด้วยวิธีการคล้อยตามจริต ๖ อภิญญาทั้งปวง คำ
วินิจฉัยที่ประมวลไว้ด้วยปัญญา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ อริยสัจ ๔
ปัจจัยการเทศนาที่ไม่นอกแนวพระบาลี มีนัยที่ชื่อว่า มัชฌิมสังคีติ ใน
คำว่า มชฺฌิมสงฺคีติยา นั้น ว่าโดยปัณณาสก์ ได้แก่การรวบรวม
ปัณณาสก์ ๓ หมวด คือมูลปัณณาสก์ มัชฌิมปัณณาสก์ และอุปริ-
ปัณณาสก์. ว่าโดยวรรค ได้แก่การรวบรวมวรรคได้ ๑๕ วรรค เพราะ
แบ่งแต่ละปัณณสก์ออกเป็น ๕ ว่าโดยสูตร มี ๑๕๒ สูตร ว่าโดยบทมี
๘๐,๕๒๓ บท เพราะเหตุนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า ท่าน
กล่าวกำหนดบทไว้ ๘๐,๕๒๓ บทอย่างนี้.
แต่ว่าโดยอักษรมี ๗๔๐,๐๕๓ อักษร. ว่าโดยภาณวาร มี ๘๐
ภาณวาร และกึ่งภาณวารมี ๒๓ บท. ว่าโดยอนุสนธิโดยย่อมี ๓ อนุสนธิ
คือ ปุจฉานุสนธิ อัชฌาสยานุสนธิ และ ยถานุสนธิ แต่เมื่อว่าโดย
พิสดารในเรื่องนี้มี ๓,๙๐๐ อนุสนธิ. เพราะเหตุนั้น ท่านโบราณาจารย์
ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า ท่านประกาศนัยอนุสนธิแห่งมัชฌิมปัณณาสก์
เหล่านั้นไว้ ๓,๙๐๐ อนุสนธิ.
ในปัณณาสก์เหล่านั้น มูลปัณณาสก์ เป็นปัณณาสก์ต้น. ในวรรค
ทั้งหลาย มูลปริยายวรรค เป็นวรรคต้น และในสูตรทั้งหลาย มูล-
ปริยายสูตร เป็นสูตรต้น.
อธิบายนิทานพจน์
(๑) คำนิทานว่า เอวมฺเม สุตํ ที่ท่านพระอานนท์กล่าวไว้ใน

18
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 19 (เล่ม 17)

กาลปฐมมหาสังคีติ เป็นเบื้องต้นของมูลปริยายสูตรแม้นั้น. ก็ปฐมมหา-
สังคีตินี้ ท่านกล่าวไว้พิสดารแล้วในเบื้องต้นแห่งอรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อ
สุมังคลวิลาสินี. เพราะฉะนั้น ปฐมมหาสังคีตินั้น บัณฑิตพึงทราบ
โดยนัยที่กล่าวให้พิสดารแล้วในอรรถกถาทีฆนิกายนั้นนั่นแล.
อธิบาย เอวมฺเม สุตํ
ก็คำว่า เอวมฺเม สุตํ เป็นต้นนี้ เป็นคำเริ่มต้น. บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า เอวํ เป็นนิบาต. บทว่า เม เป็นต้น เป็นบทนาม.
ในคำว่า อุกฺกฏฺฐายํ วิหรติ นี้ บัณฑิตพึงทราบการแยกบท โดยนัยนี้
ก่อนว่า บทว่า วิ เป็นบทอุปสรรค. บทว่า หรติ เป็นบทอาขยาต. แต่
โดยใจความ เอวํ ศัพท์ มีใจความแยกออกได้หลายอย่างเป็นต้นว่า
อุปมา อุปเทส สัมปหังสนะ ครหณะ วจนสัมปฏิคคหะ นิทัสสนะ
อวธารณะ.
จริงอย่างนั้น เอวํ ศัพท์ นี้ มาในอรรถว่า อุปมา ในประโยค
เป็นต้นอย่างนี้ว่า กุศลเป็นอันมาก อันสัตว์ที่เกิดแล้ว พึงกระทำฉันนั้น
ดังนี้.
มาในอรรถว่า อุปเทส ในประโยคเป็นต้นว่า อันท่านพึงก้าวไป
อย่างนี้ พึงถอยกลับอย่างนี้ ดังนี้.
มาในอรรถว่า สัมปหังสนะ ในประโยคเป็นต้นว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสคำนี้ไว้อย่างนี้, พระสุคตเจ้าตรัสคำนี้ไว้อย่างนี้.
มาในอรรถว่า ครหณะ ในประโยคเป็นต้นว่า ก็คนถ่อยนี้กล่าว
สรรเสริญคุณพระสมณะศีรษะโล้นนั้น อย่างนี้ ๆ ในทุก ๆ ที่ ดังนี้.

19
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 20 (เล่ม 17)

มาใน วจนสัมปฏิคคหะ ในประโยคเป็นต้นว่า ภิกษุเหล่านั้นแล
ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าอย่างนั้น พระเจ้าข้า ดังนี้.
มาในอรรถว่า อาการ ในประโยคเป็นต้นว่า ท่านผู้เจริญ
ข้าพเจ้าทราบชัดพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วด้วยอาการ
อย่างนี้.
มาในอรรถว่า นิทัสสนะ ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนมาณพ
ท่านจงมา จงเข้าไปหาท่านอานนท์ ผู้สมณะถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้ว
จงถามความไม่เจ็บไข้ ความมีโรคน้อย ความคล่องตัว กำลัง และการ
อยู่ผาสุกกะท่านพระอานนท์ผู้สมณะ ตามคำของเรา และจงกล่าวอย่าง
นี้ว่า สุภมาณพ โตเทยยบุตร ย่อมถามถึงความไม่เจ็บไข้ ฯลฯ การ
อยู่ผาสุกกะท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ดังนี้. นัยว่า เป็นการดีที่ท่าน
พระอานนท์ผู้เจริญอาศัยความอนุเคราะห์เข้าไปหาสุภมาณพ โตเทยยบุตร
ถึงที่อยู่ ดังนี้.
มาในอรรถว่า อวธารณะ ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนกาลามะ
ทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรือ
อกุศล ? เป็นอกุศล พระเจ้าข้า. มีโทษหรือไม่มีโทษ ? มีโทษ พระเจ้าข้า.
บัณฑิตติเตียนหรือสรรเสริญ ? ติเตียน พระเจ้าข้า. ธรรมทั้งหลายที่ตน
สมาทานให้บริบูรณ์ ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่ใช่ประโยชน์ และเป็นทุกข์
ย่อมมีแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายในข้อนี้อย่างนี้.
เอวํ ศัพท์นี้นั้น ในที่นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า (ใช้) ในอรรถว่า

20
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 21 (เล่ม 17)

อาการะ นิทัสสนะ อวธารณะ ใน ๓ อย่างนั้น พระอานนท์แสดงความ
นี้ด้วย เอวํ ศัพท์ ซึ่งมีอาการะเป็นอรรถว่า ใคร ๆ สามารถจะทราบ
พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งละเอียดอ่อนด้วยนัย
ต่าง ๆ เกิดขึ้นด้วยอัธยาศัยอันกว้างขวางสมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะมี
ปฏิหาริย์หลากหลาย ลึกซึ้งโดยธรรม โดยอรรถ โดยเทศนา แล
โดยปฏิเวธ มาสู่โสตประสาทของสัตว์ทั้งปวง โดยสมควรแก่ภาษาของ
ตน ๆ โดยประการทั้งปวง และทั้งให้เกิดความอยากฟังโดยเต็มกำลัง
ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ คือ แม้ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วด้วยอาการ
อย่างหนึ่ง. พระอานนทเถระเมื่อจะออกตัวด้วยอรรถว่า ชี้แจงว่า ข้าพเจ้า
ไม่ใช่สยัมภู สูตรนี้ข้าพเจ้าไม่ได้ทำให้แจ้ง จึงแสดงสูตรทั้งสิ้นที่จะต้อง
กล่าวในบัดนี้ว่า ข้าพเจ้าได้ฟังอย่างนี้ คือว่า แม้ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว
อย่างนี้. พระอานนทเถระเมื่อจะแสดงกำลัง คือความทรงจำของตนที่
สมควรแก่ภาวะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญอย่างนี้ว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย บรรดาภิกษุสาวกของเราที่ทรงพหูสูต คืออานนท์ บรรดา
อุปัฏฐาก ที่มีคติ มีสติ มีธิติ คืออานนท์ และที่พระธรรมเสนาบดีสรรเสริญ
อย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ ฉลาดในอรรถ ในธรรม ในพยัญชนะ ในภาษา
และในอักษร เบื้องต้นและเบื้องปลาย ยังสัตว์ทั้งหลายเกิดความอยากฟัง
ด้วยอรรถว่า อวธารณะ ว่าข้าพเจ้าได้ฟังมาเท่านี้ และสูตรนั้นแล ไม่
ยิ่งไม่หย่อน โดยอรรถหรือพยัญชนะ พึงเห็นว่าอย่างนี้เท่านั้น ไม่พึงเห็น
เป็นอย่างอื่น ดังนี้.
เม ศัพท์ ปรากฏในอรรถ ๓ อย่าง. จริงอย่างนั้น เม ศัพท์
นั้นมีความหมายว่า มยา (อันเรา) ในประโยคเป็นต้นว่า โภชนะที่

21
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 22 (เล่ม 17)

ได้มาด้วยการขับกล่อม เราไม่ควรบริโภค.
มีความหมายว่า มยฺหํ (แก่เรา) ในประโยคเป็นต้นว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระเจ้าทรงแสดงธรรม
แก่ข้าพระองค์แต่โดยย่อเถิด.
มีความหมายว่า มม ( ของเรา ) ในประโยคเป็นต้นว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย ขอให้พวกเธอจงเป็นธรรมทายาทของเราเถิด ดังนี้.
แต่ในที่นี้ เม ศัพท์ ใช้ในอรรถ ๒ อย่างว่า อันข้าพเจ้าได้ฟัง
มา และว่า สุตะ ของเรา ดังนี้.
สุตะ ศัพท์ ในคำว่า สุตํ นี้ มีอุปสรรค และไม่มีอุปสรรค
มีเนื้อความหลายอย่างเป็นต้นว่า คมน (การไป) วิสฺสุต (ปรากฏ)
กิลินฺน (เปียก) อุปจิต (สั่งสม) อนุโยค (ประกอบเนือง ๆ)
โสตวิญฺเญยฺย (รู้ทางหู) โสตทวารานุสารวิญญาณ (รู้ตามกระแส
ทางหู).
จริงอย่างนั้น สุตะ ศัพท์นั้น มีความหมายว่า ไป ในประโยค
เป็นต้นว่า ไปแล้วโดยเสนา.
มีความหมายว่า มีธรรมอันตนสดับตรับฟังแล้วอย่างแจ่มแจ้ง ใน
ประโยคเป็นต้นว่า. ผู้สดับธรรมแล้วเห็น ( ธรรม) อยู่.
มีความหมายว่า เปียกชุ่ม ของบุคคลผู้เปียกชุ่ม ในประโยคเป็นต้น
ว่า เปียกชุ่มของบุคคลผู้เปียกชุ่ม.
มีความหมายว่า สะสม ในประโยคเป็นต้นว่า บุญมิใช่น้อย อัน
ท่านทั้งหลายสะสมแล้ว.
มีความหมายว่า ประกอบเนือง ๆ ในฌานเนือง ๆ ในประโยค

22
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 23 (เล่ม 17)

เป็นต้นว่า. นักปราชญ์เหล่าใด ผู้ขวนขวายในฌาน.
มีความหมายว่า เสียงที่จะพึงทราบทางโสตประสาท ในประโยค
เป็นต้นว่า เห็นแล้ว ฟังแล้ว ทราบแล้ว.
มีความหมายว่า ทรงความรู้คล้อยตามโสตทวาร ในประโยค
เป็นต้นว่า ทรงไว้ซึ่งสุตะ และสะสมสุตะ. แต่ในที่นี้ สุตะศัพท์นั้น
มุ่งเอาความหมายว่า ทรงจำ หรือ ความทรงจำ ตามแนวแห่งโสตทวาร
จริงอยู่ เมื่อ เม ศัพท์ มีเนื้อความเท่ากับ มยา ย่อมประกอบความ
ได้ว่า ข้าพเจ้าได้สดับมา คือ ทรงจำ ตามแนวแห่งโสตทวาร อย่างนี้
มีเนื้อความเท่ากับ มม ย่อมประกอบความได้ว่า การสดับของข้าพเจ้า
คือ ความทรงจำตามแนวแห่งโสตทวารของข้าพเจ้าอย่างนี้.
ในบททั้ง ๓ เหล่านั้น ดังกล่าวมานี้ คำว่า เอวํ เป็นการแสดง
กิจแห่งวิญญาณ มีโสตวิญญาณเป็นต้น. คำว่า เม เป็นการแสดงบุคคล
ผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยวิญญาณดังกล่าวแล้ว, คำว่า สุตํ เป็นการ
แสดงการถือเอาที่ไม่ผิด ไม่หย่อน ไม่ยิ่ง เพราะห้ามการไม่ฟัง. อนึ่ง
คำว่า เอวํ เป็นการประกาศความเป็นไปในอารมณ์ แห่งวิงญาณวิถีที่
เป็นไปตามแนวแห่งโสตทวารนั้น โดยประการต่าง ๆ คำว่า เม เป็น
การประกาศตน. คำว่า สุตํ เป็นการประกาศธรรมะ. จริงอยู่ ในคำ
ว่า เอวมฺเม สุตํ นี้ มีความย่อดังต่อไปนี้ว่า ข้าพเจ้า ไม่ทำกิจอื่น
แห่งวิญญาณวิถีที่เป็นไปแล้วในอารมณ์โดยประการต่าง ๆ แต่ข้าพเจ้าทำ
กิจนี้, ธรรมนี้ข้าพเจ้าฟังแล้ว.
อนึ่ง คำว่า เอวํ เป็นการประกาศคำที่จะพึงแถลงไข. คำว่า เม
เป็นการประกาศบุคคล. คำว่า สุตํ เป็นการประกาศกิจแห่งบุคคล. มี

23
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 24 (เล่ม 17)

คำอธิบายไว้ดังนี้ว่า พระสูตรที่ข้าพเจ้าจักแสดง ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว
อย่างนี้. อนึ่ง คำว่า เอวํ เป็นการไขอาการต่าง ๆ ของจิตสันดานที่มี
การถือเอาอรรถและพยัญชนะต่างๆ โดยการเป็นไปโดยประการต่าง ๆ กัน.
จริงอยู่ ศัพท์ว่า เอวํ นี้ เป็นการบัญญัติอาการ, ศัพท์ว่า เม
เป็นการแสดงกัตตา ( ผู้ทำ). ศัพท์ว่า สุตํ เป็นการแสดงวิสัย. ด้วย
การอธิบายเพียงเท่านี้ ย่อมเป็นอันทำการสันนิษฐานได้ว่า ด้วยจิต-
สันดานที่เป็นไปโดยประการต่าง ๆ กัน พระเถระผู้ประกอบด้วยจิต-
สันดานนั้นจึงเป็นกัตตา และรับอารมณ์ได้.
อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า เอวํ เป็นการแสดงกิจแห่งบุคคล. ศัพท์
ว่า สุตํ เป็นการแสดงกิจแห่งวิญญาณ. ศัพท์ว่า เม เป็นการแสดงถึง
บุคคลที่ประกอบด้วยกิจทั้ง ๒. ก็ในคำว่า เอวมฺเม สุตํ นี้ มีความ
ย่อว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาโดยโวหารแห่งสวนกิจที่ได้ด้วยอำนาจแห่งวิญญาณ
โดยบุคคลที่พร้อมเพรียงด้วยสวนกิจและวิญญาณกิจ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวํ เป็นอวิชชมานบัญญัติ โดย
อรรถว่า แจ่มแจ้ง และบทว่า เม เป็นอวิชชมานบัญญัติ โดยปรมัตถ์
ก็ในข้อนี้ยังมีข้อพิเศษอยู่อีก คือ ข้อที่พระเถระพึงได้การแถลงไขว่า
เอวํ หรือ เม มีอยู่โดยปรมัตถ์. บทว่า สุตํ เป็นวัชชมานบัญญัติ.
อธิบาย ในบทว่า สุตํ นี้ อารมณ์ที่ได้ทางโสตนี้ มีอยู่โดยปรมัตถ์
แล. อนึ่ง บทว่า เอวํ และ เม จัดเป็น อุปาทาบัญญัติ เพราะ
พระเถระกล่าวหมายเอาธรรมที่มากระทบโสต และขันธ์ที่นับเนื่องใน
สันดานของตนนั้น. บทว่า สุตํ เป็นอุปนิธาบัญญัติ เพราะพระเถระ
กล่าวพาดพิงสิ่งที่เห็นแล้วเป็นต้น.

24
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 25 (เล่ม 17)

อนึ่ง ในข้อนี้ พระเถระแสดงความไม่โง่เขลา ด้วยคำว่า เอวํ
อธิบายว่า ผู้โง่เขลาย่อมไม่สามารถแทงตลอดโดยประการต่าง ๆ ได้.
ด้วยคำว่า สุตํ พระเถระแสดงความไม่หลงลืมพระพุทธพจน์ที่ได้ฟัง
มาแล้ว อธิบายว่า สุตะ ที่ผู้ใดหลงลืมแล้ว ผู้นั้นย่อมนึกไม่ออกว่าเรา
ได้ฟังมาแล้วโดยกาลอื่น. ความสำเร็จแห่งปัญญาของพระเถระนั้น ย่อมมี
ได้ เพราะความไม่โง่เขลา ส่วนความสำเร็จแห่งสติ ย่อมมีได้เพราะ
ความไม่หลงลืม. บรรดา ๒ อย่างนั้น ความสามารถในการทรงจำ
พยัญชนะ มีได้ด้วยสติ มีปัญญาเป็นตัวนำ ความสามารถในการเข้าใจ
อรรถ มีได้ด้วยปัญญามีสติเป็นตัวนำ ความสำเร็จเป็นขุนคลังแห่ง
ธรรม โดยสามารถในการเก็บรักษาคลัง ธรรมที่ถึงพร้อมด้วยอรรถ
และพยัญชนะมีได้เพราะประกอบด้วยความสามารถทั้ง ๒ อย่างนั้น.
อีกนัยหนึ่ง ด้วยคำว่า เอวํ ท่านพระเถระแสดงการทำไว้ในใจ
โดยแยบคาย เพราะบุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย จะไม่มีการแทง
ตลอดประการต่าง ๆ. ด้วยคำว่า สุตํ ท่านแสดงความไม่ฟุ้งซ่าน เพราะ
บุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่านจะไม่เป็นอันฟัง. จริงอย่างนั้น บุคคลที่มีจิตฟุ้งซ่าน
แม้ถูกบอกด้วยคุณสมบัติทุกอย่าง ก็ยังกล่าวว่า ข้าพเจ้าฟังไม่ถนัด ขอ
ท่านพูดอีกที. ก็ในข้อนี้ เพราะการฟังโดยการทำไว้ในใจโดยแยบคาย
บุคคลย่อมยังการตั้งตนไว้โดยชอบ และความเป็นผู้มีบุญทำไว้ในปางก่อน
ให้สำเร็จได้ เพราะบุคคลผู้มิได้ตั้งตนไว้โดยชอบ และไม่ได้ทำบุญไว้ใน
ปางก่อน ไม่มีการทำไว้ในใจโดยแยบคายนั้น เพราะความไม่ฟุ้งซ่าน
บุคคลจึงยังการฟังพระสัทธรรม และการเข้าไปคบสัตบุรุษให้สำเร็จ.
จริงอยู่ บุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่อาจที่จะฟัง (ธรรมได้) และการฟัง

25