หาสังวาสมิได้ ความเป็นผู้มีสิกขาขาดแล้ว พระปาราชิกไม่ใช่อุปสัมบัน
[๓๗] บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่า สังวาส ได้แก่กรรมที่พึงทำร่วมกัน อุเทศที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่า สังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุนั้น เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่าหาสังวาสมิได้
ศีลขาดด้วยเหตุ ๕ ประการ ในนั้น จะเห็นว่า ปาราชิก รวมอยู่ในหมวดเดียวกันกับ ลาสิกขา เข้ารีดเดียรถีย์ และ ตาย ซึ่งบ่งบอกความเป็นอนุปสัมบันทั้งนั้น เพราะการลาสิกขาก็กลายมาเป็นอนุปสัมบัน เข้ารีดเดียรถีย์ก็ห้ามบวช บวชก็ไม่เป็นอุปสัมบัน ส่วนตาย ก็ขาดจากการเป็นอุปสัมบันโดยธรรมชาติอยู่แล้ว
...ก็ศีลของปุถุชนย่อมขาดด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ ต้องอาบัติปาราชิก ลาสิกขา เข้ารีดเดียรถีย์ บรรลุพระอรหัต ตาย...
เมื่อพระปาราชิกจะไม่ต้องอาบัติข้ออื่นอีก เวลาภิกษุด่าพระปาราชิก ถ้าปรับปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ด่า อันนี้ย้อนแย้งทันที แล้วพระปาราชิกด่าภิกษุล่ะ? ถ้าปรับปาจิตตีย์แก่พระปาราชิกผู้ด่าด้วย ก็ขัดกับข้อที่ว่า "พระปาราชิกจะไม่ต้องอาบัติข้ออื่นอีก" แล้วถ้าไม่ปรับ ก็ไม่ได้ เพราะให้เป็นอุปสัมบันแล้ว อุปสัมบันก็ยังต้องอาบัติ ดังนั้น ถ้าใครไปคิดว่า พระปาราชิกเป็นอุปสัมบัน ก็จะย้อนแย้งกันไปหมด ไม่ต้องอาบัติข้ออื่นอีก แต่กลับให้เป็นอุปสัมบัน ไม่ให้เป็นอนุปสัมบัน งงไหม ?
แต่ที่จริงพระที่ต้องปาราชิกจะไม่ต้องอาบัติข้ออื่นอีก ด้วยเหตุผลไม่ซับซ้อนเลย คือ "พระปาราชิกเป็นอนุปสัมบัน อนุปสัมบันจะไม่ต้องอาบัติเหมือนอุปสัมบัน" ดูเพิ่มในกระทู้ที่เกี่ยวข้อง