ภิกษุผู้มีผ้ากาสายะพันคอ ผูกเข้าที่มือ ขอดไว้ที่ผม ที่หู จัดเป็นอนุปสัมบัน ไม่ใช่ อุปสัมบัน
...เมื่อกาลล่วงไปก็คิดว่า พวกเราจะต้องการอะไร ด้วยการกระทำเช่นนี้ จึงผูกผ้ากาสายะชิ้นเล็ก ๆ เข้าที่มือหรือที่คอ หรือขอดไว้ที่ผม กระทำการเลี้ยงภรรยา เที่ยวไถ่หว่านเลี้ยงชีพ...
ภิกษุผู้มีผ้ากาสายะพันคอจัดเป็นอนุปสัมบัน ไม่ใช่ อุปสัมบัน (เช่นเดียวกันกับบัณเฑาะก์ และพระที่ต้องอาบัติปราชิก) เพราะมีเมีย มีบุตร ประกอบกสิกรรมและวณิชกรรม เป็นต้น จึงเป็นสมณะแต่ชื่อ หมายความว่า เป็นอนุปสัมบัน แต่สมมุติเรียกกันเอาเองว่าภิกษุ เพราะอ้างการยึดถือในผ้ากาสายะเป็นสัญลักษณ์เพศ
แต่ที่จริง ความเป็นอุปสัมบันไม่ได้ขี้นอยู่กับ การยึดถือในผ้ากาสายะ ที่เราเรียกกันว่า ภิกษุผู้มีผ้ากาสายะพันคอ ภิกษุที่ต้องอาบัติปราชิก คำว่า ภิกษุ ในประโยคเหล่านี้เป็นเพียงแต่คำสมมุติ ใช้ในการสื่อสารให้เข้าใจเท่านั้น แต่ที่จริงไม่ใช่อุปสัมบัน
ดูเพิ่ม ตัวบ่งชี้ความเป็นอุปสัมบัน ดูจากตรงไหน
หมายเหตุ : บัณเฑาะก์และพระที่ต้องอาบัติปราชิกมีความเหมือนกันตรงที่ไม่ได้เป็นอุปสัมบัน แต่ต่างกันตรงที่ บัณเฑาะก์ไม่ได้ปาราชิก ส่วนพระที่ต้องปาราชิกนั้นบาปมากกว่า จัดเป็นอนุปสัมบันชั้นเลวมาก คือต้องอาบัติข้อสูงสุด