No Favorites

บัณเฑาะก์และพระที่ต้องปาราชิกแม้จะห่มผ้ากาสาวะอยู่ จัดเป็นอนุปสัมบัน ไม่ใช่อุปสัมบัน และลักเพศด้วย

บัณเฑาะก์ บวชยังไงก็ไม่ใช่พระ ที่อุปสมบทแล้วก็ต้องให้สึก แม้จะห่มจีวรอยู่ ก็จัดเป็น อนุปสัมบัน ไม่ใช่ อุปสัมบัน เป็นอภัพพบุคคล สงฆ์เรียกเข้าหมู่ไม่ได้เลย

...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ บัณเฑาะก์ ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึกเสีย...

บัณเฑาะก์ที่ห่มผ้ากาสาวะยังไงก็เรียกว่า อนุปสัมบัน ไม่ใช่ อุปสัมบัน และลักเพศด้วย เปรียบบัณเฑาะก์เหมือนคนที่ไม่เข้าเงื่อนไขในการรับเข้าเป็นพนักงาน แต่ก็แต่งชุดพนักงานเข้าไปทำงานปะปนอยู่กับพนักงานคนอื่น ยังไงก็ไม่เรียกว่าเป็นพนักงาน เพราะไม่มีรายชื่อยู่ในบัญชี

...ในคำว่า เถยฺยสํวาสโก ภิกฺขเว นี้ มีวินิจฉัยว่า คนเถยยสังวาสก์ มี ๓ ชนิด คือ คนลักเพศ ๑ คนลักสังวาส ๑ คนลักทั้ง ๒ อย่าง ๑...

ส่วนคำที่ว่า พระที่ต้องปราชิกแต่ไม่สึก ยังครองเพศสมณะอยู่ คำว่า "พระ" ในประโยคนี้เป็นเพียงแค่คำสมมุติเรียกให้เข้าใจ ไม่ละการห่มผ้ากาสาวะ ไม่ใช่ตัวชี้วัดความเป็นอุปสัมบันแต่อย่างใด พระรูปไหนที่ต้องปาราชิกแล้ว แต่ยังอ้างเรื่องการห่มจีวรให้ได้เป็นอุปสัมบันอยู่ ก็เป็นเรื่องส่วนตัวของคนนั้นที่อ้างเอาเอง จะอย่างไรก็ตาม พระที่ต้องปาราชิกแล้ว จัดเป็นอนุปสัมบัน ไม่ใช่อุปสัมบัน ไม่เกี่ยวว่า ยังห่มผ้าอยู่หรือไม่ แต่ถ้ายังห่มอยู่ ก็เป็นการลักเพศด้วย

พนักงานที่ถูกบริษัทไล่ออกเพราะละเมิดกฎของบริษัท ยังจะใส่เครื่องแบบของบริษัท แล้วอ้างว่าตนยังเป็นพนักงานและได้รับเงินเดือนอยู่หรือ ไปทำแบบนั้นก็เป็นการแอบอ้าง

พระที่ไม่ได้ต้องปาราชิก ยังไม่ได้ลาสิกขาให้ถูกต้อง ก็ยังเรียกว่า เป็นอุปสัมบันอยู่ เพราะการกระทำไม่ได้ละเมิด ส่วนพระที่ต้องปาราชิกแล้ว แม้จะห่มจีวรอยู่ ก็ไม่เรียกว่าเป็น อุปสัมบัน เพราะการกระทำที่ละเมิดแล้ว เรียกว่า วิบัติแห่งการปฏิบัติ ตัดสินกันตรงที่ การการะทำที่ล่วงละเมิด ไม่ใช่การห่มจีวร บวชเป็นพระต้องห่มจีวรอันนี้มีบัญญัติไว้ แต่การต้องปาราชิก กลายมาเป็นอนุปสัมบัน ไม่มีบัญญัติไว้ในพุทธพจน์ว่า ต้องสละการห่มจีวรก่อน จึงจะเป็นอนุปสัมบันได้

ดังนั้น พระที่ต้องปาราชิก จะเปลี่ยนจาก อุปสัมบัน มาเป็น อนุปสัมบันทันที ไม่มีการคั่นระหว่าง ว่ายังเป็นอุปสัมบันอยู่ เพียงเพราะยังไม่ได้สละการห่มจีวร ทำไมพระที่ต้องปาราชิกแล้ว จะไม่ต้องอาบัติข้ออื่นอีก ? ก็เพราะเป็นอนุปสัมบันแล้ว อนุปสัมบันจะไม่ต้องอาบัติเหมือนอุปสัมบัน

มันก็มีแค่สองอย่างเท่านั้น คือ ถ้าไม่ใช่ อุปสัมบัน ก็เป็น อนุปสัมบัน ถ้าเป็นอุปสัมบัน ก็ต้องเรียกว่าเป็นพระ มันไม่มีหรอก ที่ให้เป็นอุปสัมบันอยู่ แต่กลับไม่เรียกว่าเป็นพระ หรือ ไม่เรียกว่าเป็นพระ แต่กลับไม่ให้เป็นอนุปสัมบัน เว้นความหมายในแง่นี้เท่านั้น

วิเคราะห์ยังไงก็ไม่เข้า เช่น พระปาราชิกจะไม่ต้องอาบัติข้ออื่นอีก แต่เวลา ภิกษุด่าพระปาราชิก กลับให้เป็นปาจิตตีย์ อันนี้ย้อนแย้งทันที เพราะถ้าให้เป็นปาจิตตีย์ พระที่ต้องปาราชิกนั้นก็ยังต้องอาบัติข้ออื่นเหมือนกัน เพราะให้เป็นอุปสัมบัน แล้วพระปาราชิกด่าภิกษุปรับปาจิตตีย์ด้วยไหม ? (ถ้าปรับก็ขัดกับข้อที่ว่า "พระปาราชิกจะไม่ต้องอาบัติข้ออื่นอีก") แล้วถ้าจะปรับแต่ฝ่ายเดียว คนอื่นด่าปรับโทษ แต่ด่าคนอื่นไม่ปรับ มันก็เป็นไปไม่ได้อีก ปรับอาบัติแบบนี้ ตราบใดที่ยังยกสถานะให้พระปาราชิกเป็นอุปสัมบันอยู่ พระปาราชิกนั้นก็ยังต้องอาบัติข้ออื่นอีกเหมือนกัน แต่ที่จริงพระที่ต้องปาราชิกจะไม่ต้องอาบัติข้ออื่นอีก ด้วยเหตุผลไม่ซับซ้อนเลย คือ "พระปาราชิกเป็นอนุปสัมบัน อนุปสัมบันจะไม่ต้องอาบัติเหมือนอุปสัมบัน" แบบนี้จะไม่ย้อนแย้งเลย

ดังนั้น กรณี อนุปสัมบัน แต่ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน ก็ต้องอาบัติทุกกฏ

ดูเพิ่ม ตัวบ่งชี้ความเป็นอุปสัมบัน ดูจากตรงไหน

กระทู้เกี่ยวข้อง :  #ตัวบ่งชี้ความเป็นอุปสัมบันดูจากตรงไหน ?  #ภิกษุผู้มีผ้ากาสายะพันคอ ผูกเข้าที่มือ ขอดไว้ที่ผม ที่หู จัดเป็นอนุปสัมบัน ไม่ใช่ อุปสัมบัน  #หาสังวาสมิได้ ความเป็นผู้มีสิกขาขาดแล้ว พระปาราชิกไม่ใช่อุปสัมบัน  #พระพุทธเจ้าเป็นผู้รับรองเองทั้งนั้นว่าพระที่ต้องปาราชิกเป็นอนุปสัมบัน ไม่ใช่อุปสัมบัน  #ในพระไตรปิฎก คำว่า “ไม่ใช่สมณะ” มีอยู่ 2 ความหมาย (พระปาราชิกจัดเป็นอนุปสัมบัน)  #คำสมมุติเรียกเพศ 2 อย่าง (พระที่ต้องปาราชิกไม่มีอุปสัมบันเพศ)