No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 510 (เล่ม 33)

กรรมย่อมถึงฐานะ ๗ ดังนี้ .
เมื่อยังมิได้ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ก่อน พระองค์ทรงบัญญัติสิกขาบท
มีปฐมปาราชิกเป็นต้น ชื่อว่าปฐมบัญญัติ. เมื่อทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว
ทรงบัญญัติเพิ่มสิกขาบทเหล่านั้นแหละ ชื่อว่าอนุบัญญัติ.
ทรงบัญญัติสัมมุขาวินัย ซึ่งประกอบด้วยความพร้อมหน้า ๔ อย่างนี้
คือ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าสงฆ์
ความพร้อมหน้าบุคคล. ทรงบัญญัติสติวินัย เพื่อมิให้โจทพระขีณาสพ
ผู้มีสติไพบูลย์. ทรงบัญญัติอมุฬหวินัยสำหรับ ภิกษุบ้า. ทรงบัญญัติปฏิญ-
ญาตกรณะ เพื่อไม่ปรับอาบัติแก่ภิกษุที่ถูกโจทโดยไม่ปฏิญญา. ทรงบัญญัติ
เยภุยยสิกา เพื่อระงับอธิกรณ์ โดยถือความเห็นของพวกธรรมวาทีที่มาก
กว่า. ทรงบัญญัติตัสสปาปิยสิกา เพื่อข่มบุคคลมีบาปมาก. ทรงบัญญัติ
ติณวัตถารกะ เพื่อระงับอาบัติที่เหลือลง นอกจากอาบัติที่มีโทษหนักและ
ที่เกี่ยวข้องคฤหัสถ์ แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติ เพราะประพฤติเรื่องไม่สมควร
แก่สมณเพศเป็นอันมาก เช่นทะเลาะกันเป็นต้น .
บทว่า ราคสฺส ภิกฺขเว อภิญฺญาย ความว่า เพื่อรู้ชัด คือทำ
ให้ประจักษ์ ซึ่งราคะที่เป็นไปในกามคุณ ๕ นั่นแล. บทว่า ปริญฺญาย
ได้แก่ เพื่อกำหนดรู้. บทว่า ปริกฺขยาย ได้แก่ เพื่อถึงความสิ้นสุด.
บทว่า ปหานาย ได้แก่ เพื่อละ. บทว่า ขยวยาย ได้แก่ เพื่อถึง
ความสิ้นไปเสื่อมไป. บทว่า วิราคาย ได้แก่ เพื่อคลายกำหนัด. บทว่า
นิโรธาย ได้แก่ เพื่อดับ. บทว่า จาคาย ได้แก่ เพื่อสละ. บทว่า
ปฏินิสฺสคฺคาย ได้แก่ เพื่อสละคืน.
บทว่า ถมฺภสฺส ได้แก่ ความกระด้าง เพราะอำนาจความโกรธและ

510
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ – หน้าที่ 511 (เล่ม 33)

มานะ. บทว่า สารมฺภสฺส ได้แก่ ความแข่งดี มีลักษณะทำเกินกว่า
เหตุ. บทว่า มานสฺส ได้แก่ มานะ ๙ อย่าง. บทว่า อติมานสฺส
ได้แก่ ถือตัวสำคัญว่าเหนือเขา (ดูหมิ่นท่าน). บทว่า มทสฺส ได้แก่
ความเมาคืออาการเมา. บทว่า ปมาทสฺส ได้แก่ ปราศจากสติ หรือ
ปล่อยใจไปในกามคุณ ๕. บทที่เหลือในที่ทุกแห่ง ง่ายทั้งนั้นแล.
จบมโนรถปูรณี
อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต

511
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 1 (เล่ม 34)

พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต
เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๓
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ปฐมปัณณาสก์
พาลวรรคที่ ๑
๑. ภยสูตร
ว่าด้วยผู้เป็นภัยและไม่เป็นภัย
[๔๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกะ คฤหบดี พระนครสาวัตถี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายในที่นั้นแล ด้วยพระพุทธพจน์ว่า ภิกฺขโว (แน่ะภิกษุทั้งหลาย)
ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลขานรับต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคำว่า ภทนฺเต
(พระพุทธเจ้าข้า) แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ภัยทั้งปวงนั้น
ย่อมเกิดแต่คนพาล หาเกิดแต่บัณฑิตไม่ อุปัทวะอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น
อุปัทวะทั้งปวงนั้น ย่อมเกิดแต่คนพาล หาเกิดแต่บัณฑิตไม่ อุปสรรคอย่างใด
อย่างหนึ่งเกิดขึ้น อุปสรรคทั้งปวงนั้น ย่อมเกิดแต่คนพาล หาเกิดแต่บัณฑิตไม่.

1
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 2 (เล่ม 34)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไฟลุกจากเรือนที่มุงบังด้วยต้นอ้อ
หรือจากเรือนที่มุงบังด้วยหญ้าแล้ว ย่อมไหม้กระทั่งเรือนยอดที่ฉาบปูนทั้ง
ภายในทั้งภายนอกจนลมลอดไม่ได้ มีประตูอันลงกลอนสนิท มีหน้าต่างปิดได้
ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย. . .อุปัทวะ. . .อุปสรรคอย่างใดอย่างหนึ่ง
เกิดขึ้น ย่อมเกิดแต่คนพาล หาเกิดแต่บัณฑิตไม่ ฉันนั้น
ดังนี้แล ภิกษุทั้งหลาย คนพาลมีภัย บัณฑิตไม่มีภัย คนพาลมี
อุปัทวะ บัณฑิตไม่มีอุปัทวะ คนพาลมีอุปสรรค บัณฑิตไม่มีอุปสรรค
ภิกษุทั้งหลาย ภัย. . .อุปัทวะ. . .อุปสรรคแต่บัณฑิตหามีไม่.
เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกในข้อนี้อย่างนี้ว่า บุคคล
ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เหล่าใด พึงรู้ว่าเป็นพาล เราทั้งหลายจักละเสีย
ซึ่งธรรม ๓ ประการนั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เหล่าใด พึงรู้
ว่าเป็นบัณฑิต เราทั้งหลายจักถือธรรมนั้นประพฤติ ภิกษุทั้งหลาย ท่าน
ทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.
จบภยสูตรที่ ๑

2
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 3 (เล่ม 34)

อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ชื่อ มโนรถปูรณี
ติกนิปาตวรรณนา
พาลวรรควรรณนาที่ ๑
อรรถกถาภยสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในภยสูตรที่ ๑ แห่งติกนิบาต ดังต่อไปนี้ :-
ในบทว่า ภยานิ เป็นต้น ความที่จิตสะดุ้งกลัว ชื่อว่า ภัย. อาการ
ที่จิตไม่เป็นสมาธิ ชื่อว่า อุปัทวะ. อาการที่จิตติดขัด คืออาการที่จิตข้องอยู่
ในอารมณ์นั้น ๆ ชื่อว่า อุปสรรค.
พึงทราบความแตกต่างกันแห่งภัย อุปัทวะ และอุปสรรคเหล่านั้น
ดังต่อไปนี้
พวกโจรอาศัยอยู่ตามภูเขา และถิ่นทุรกันดาร ส่งข่าวไปถึงชาวชนบท
ว่า พวกเราจักเข้าปล้นหมู่บ้านของพวกท่านในวันโน้น ตั้งแต่เวลาที่ได้สดับ
ข่าวนั้น ชาวชนบทเหล่านั้นก็พากันหวาดกลัว. อาการอย่างนี้ ชื่อว่า อาการ
ที่จิตสะดุ้งกลัว.
ชาวชนบทก็พากันคิดว่า ทำอย่างไรดีเล่า พวกโจรโกรธพวกเราแล้ว
จะพึงนำความฉิบหายมาให้เราเป็นแน่ ดังนี้แล้ว ฉวยคว้าทรัพย์สมบัติที่พอ
หยิบฉวยติดมือไปได้ เข้าป่าพร้อมกับฝูงสัตว์ทวิบทจตุบาท นอนตามพื้นดิน
อยู่ในป่านั้น ๆ ถูกแมลงมีเหลือบและยุงเป็นต้นกัด ก็พากันหลบเข้าไปยัง
ระหว่างพุ่มไม้ เหยียบตอไม้และหนาม. ความฟุ้งซ่านของชาวชนบทเหล่านั้น
ผู้ท่องเที่ยวไปอยู่อย่างนั้น ชื่อว่า อาการที่จิตไม่เป็นสมาธิ.

3
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 4 (เล่ม 34)

หลังจากนั้น เมื่อพวกโจรไม่มาตามวันที่ได้บอกไว้ ชาวชนบทก็คิด
กันว่า ชะรอยจักเป็นข่าวลวง พวกเราจักกลับเข้าหมู่บ้าน ดังนี้แล้ว พากัน
ขนข้าวของกลับเข้าหมู่บ้าน. ครั้งนั้น พวกโจรทราบว่า ชาวชนบทเหล่านั้น
พากันกลับเข้าหมู่บ้านแล้ว จึงพากันมาล้อมหมู่บ้านไว้ จุดไฟเผาที่ประตู
สังหารผู้คนจำนวนมาก ปล้นเอาทรัพย์สมบัติทั้งหมดไป. บรรดาชาวชนบท
เหล่านั้น พวกที่เหลือจากถูกโจรสังหาร ก็พากันดับไฟ แล้วนั่งจับเจ่าอยู่ใน
ที่นั้น ๆ มีร่มเงาซุ้มประตู และเงาฝาเรือนเป็นต้น หวนโศกเศร้าถึงสิ่งที่
สูญเสียไป. อาการที่จิตข้องอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า อาการที่จิตเกี่ยวข้องอยู่ใน
อารมณ์นั้น.
บทว่า นฬาคารา ได้แก่ เรือนที่มุงและบังด้วยไม้อ้อ ส่วนเครื่อง
เรือนที่เหลือในเรือนไม้อ้อนี้ ทำจากไม้. แม้ในเรือนหญ้าก็มีนัย นี้แล. บทว่า
กูฏาคารานิ ได้แก่ เรือนที่ยกยอด. บทว่า อุลฺลิตฺตาวลิตฺตานิ ได้แก่
ฉาบทั้งข้างในและข้างนอก. บทว่า นิวาตานิ ได้แก่ ลมเข้าไปไม่ได้. บทว่า
ผุสิตคฺคฬานิ ได้แก่ บานประตูที่ติดเข้าสนิทที่กรอบเช็ดหน้า เพราะเป็น
ของที่นายช่างผู้ฉลาดทำไว้. บทว่า ปิหิตกวาฏานิ ได้แก่ ติดบานประตูแล้ว.
ด้วยสองบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า มิได้ตรัสหมายถึงบานประตูและหน้าต่าง
ที่ปิดไว้ประจำ แต่ตรัสคุณสมบัติเท่านั้น. ก็บานประตูและหน้าต่างเหล่านั้น
ย่อมปิดและเปิดได้ทุกขณะที่ต้องการ.
บทว่า พาลโต อุปฺปชฺชนฺติ ความว่า อุปสรรคทั้งหลายย่อมเกิดขึ้น
เพราะอาศัยคนพาลทั้งนั้น. เป็นความจริง คนที่ไม่เป็นบัณฑิตเป็นพาล เมื่อ
ปรารถนาความเป็นพระราชา ความเป็นอุปราช หรือปรารถนาตำแหน่งใหญ่
อย่างอื่น ก็จะชักชวนเอาลูกกำพร้าพ่อ ผู้โง่เง่าเหมือนตน จำนวนเล็กน้อย
แล้วเกลี้ยกล่อมว่า มาเถิดเธอทั้งหลาย ฉันจักทำพวกเธอให้เป็นใหญ่ ซ่องสุม

4
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 5 (เล่ม 34)

อยู่ตามภูเขาและป่าทึบเป็นต้น แล้วบุกเข้าที่หมู่บ้านแถวชายแดน ทำหมู่บ้าน
ให้เสียหายแล้ว ตีทั้งนิคม ทั้งชนบทตามลำดับ.
ผู้คนปรารถนาสถานที่ ๆ ปลอดภัย จึงพากันทิ้งบ้านเรือนหลีกหนีไป.
ทั้งภิกษุ ภิกษุณี ที่อาศัยคนเหล่านั้นอยู่ ก็พากันละทิ้งสถานที่อยู่ของตน ๆ
หลีกไป. ในสถานที่ที่ท่านเหล่านั้นไปแล้ว ทั้งภิกษา ทั้งเสนาสนะก็หาได้ยาก.
ภัยย่อมมาถึงบริษัททั้ง ๔ อย่างนี้แล.
แม้ในบรรพชิตทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นพาล ๒ รูป วิวาทกันแล้วต่างเริ่ม
โจทกันและกัน จึงเกิดความวุ่นวายใหญ่หลวงขึ้น เหมือนพวกภิกษุชาวเมือง
โกสัมพี ฉะนั้น. ภัยย่อมมาถึงบริษัท ๔ เหมือนกัน ก็ภัยเหล่าใดเกิดขึ้น
ดังว่ามานี้ ภัยเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นมาจากคนพาล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงยังเทศนาให้จบลงตามอนุสนธิ ดังว่ามานี้แล.
จบอรรถกถาภยสูตรที่ ๑
๒. ลักขณสูตร
ว่าด้วยลักษณะของพาลและบัณฑิต
[๔๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลมีกรรมเป็นลักษณะ บัณฑิตก็มี
กรรมเป็นลักษณะ ปัญญาปรากฏในอปทาน (ความประพฤติ)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบได้
ว่าเป็นคนพาล ธรรม ๓ ประการคืออะไรบ้าง คือ กายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบเถิดว่า เป็นพาล

5
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 6 (เล่ม 34)

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบได้ว่า
เป็นบัณฑิต ธรรม ๓ ประการคืออะไรบ้าง คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโน-
สุจริต ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบเถิดว่า เป็นบัณฑิต
เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกในข้อนี้อย่างนี้ว่า บุคคล
ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใด พึงทราบได้ว่าเป็นคนพาล เราทั้งหลาย
จักละเสียซึ่งธรรม ๓ ประการนั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่า
ใดพึงทราบได้ว่าเป็นบัณฑิต เราทั้งหลายจักถือธรรม ๓ ประการนั้นประพฤติ
ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.
จบลักขณสูตรที่ ๒
อรรถกถาลักขณสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในลักขณสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้:-
กรรมที่เป็นไปทางกายทวารเป็นต้น เป็นลักษณะ คือเป็นเหตุให้
หมายรู้บุคคลนั้น เหตุนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่า มีกรรมเป็นลักษณะ.
ปัญญาที่งามด้วยความประพฤติ (จริต) ชื่อว่า อปทานโสภนีปัญญา.
อธิบายว่า พาลและบัณฑิตย่อมปรากฏด้วยกรรมที่ตนประพฤติมาแล้วนั่นแล.
จริงอยู่ ทางที่คนพาลไปแล้ว ย่อมเป็นเหมือนทางไปของไฟป่าซึ่งลาม
ไปเผาไหม้ต้นไม้ กอไม้ คามนิคมเป็นต้นฉะนั้น. ปรากฏเหลือก็แต่เพียงสถานที่
ที่ปลูกบ้านเท่านั้น ซึ่งเต็มไปด้วย ถ่าน เขม่า และเถ้า. ส่วน ทางที่บัณฑิต
ไป เหมือนทางที่เมฆฝน ซึ่งตั้งเค้าขึ้นทั้ง ๔ ทิศ แล้วตกลงมา เต็มหลุมและ
บ่อเป็นต้น นำความงอกงามของรวงข้าวกล้าชนิดต่าง ๆ มาให้ฉะนั้น. สถาน

6
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 7 (เล่ม 34)

ที่ที่มีน้ำเต็ม และมีผลาผลของข้าวกล้าชนิดต่าง ๆ งอกงาม ปรากฏอยู่ในทาง
ที่เมฆฝน ซึ่งตั้งเค้าขึ้นฉันใด ในทางที่บัณฑิตดำเนินไป ก็มีสมบัติอย่าง
เดียวเท่านั้น ไม่มีวิบัติเลยฉันนั้น. บทที่เหลือในสูตรนี้ มีความหมายง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาลักขณสูตร
๓. จินตสูตร
ว่าด้วยลักษณะแตกต่างระหว่างบัณฑิตกับคนพาล
[๔๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี่ลักษณะ นิมิต อปทานของคนพาล
มี ๓ อย่าง ๓ อย่างคืออะไรบ้าง คือ คนพาลในโลกนี้ ย่อมเป็นผู้คิดอารมณ์
ชั่วโดยปกติ พูดคำชั่วโดยปกติ และทำการชั่วโดยปกติ ก็ถ้าคนพาลจักไม่เป็น
ผู้คิดอารมณ์ชั่วโดยปกติ พูดคำชั่วโดยปกติ และทำการชั่วโดยปกติแล้วไซร้
คนฉลาดทั้งหลายจะพึงรู้จักเขาได้อย่างไรว่า อสัตบุรุษผู้นี้เป็นคนพาล ก็เพราะ
เหตุที่คนพาลย่อมเป็นผู้คิดอารมณ์ชั่วโดยปกติ คำชั่วโดยปกติ และทำการ
ชั่วโดยปกตินั่นแล คนฉลาดทั้งหลายจึงรู้จักเขาได้ว่า อสัตบุรุษผู้นี้เป็นคนพาล
นี่แล ภิกษุทั้งหลาย ลักษณะ นิมิต อปทาน ๓ อย่างของคนพาล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี่ลักษณะ นิมิต อปทาน ของบัณฑิตมี ๓ อย่าง
๓ อย่าง คืออะไรบ้าง คือ บัณฑิตในโลกนี้ ย่อมเป็นผู้คิดอารมณ์ดีโดยปกติ
พูดคำดีโดยปกติ และทำการดีโดยปกติ ก็ถ้าบัณฑิตจักไม่เป็นผู้คิดอารมณ์ดีโดย
ปกติพูดคำดีโดยปกติ และทำการดีโดยปกติแล้วไซร้ คนฉลาดทั้งหลายจะพึงรู้จัก

7
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ – หน้าที่ 8 (เล่ม 34)

เขาได้อย่างไรว่า สัตบุรุษผู้นี้เป็นบัณฑิต ก็เพราะเหตุที่บัณฑิตย่อมเป็นผู้คิด
อารมณ์ดีโดยปกติ พูดคำดีโดยปกติ และทำการดีโดยปกตินั่นแล คนฉลาด
ทั้งหลายจึงรู้จักเขาได้ว่า สัตบุรุษผู้นี้เป็นบัณฑิต นี่แล ภิกษุทั้งหลาย ลักษณะ
นิมิต อปทาน ๓ อย่างของบัณฑิต
เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกในข้อนี้อย่างนี้ว่า บุคคล
ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใด พึงทราบได้ว่าเป็นคนพาล เราทั้งหลาย
จักละเสียซึ่งธรรม ๓ ประการนั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใด
พึงทราบได้ว่าเป็นบัณฑิต เราทั้งหลายจักถือธรรม ๓ ประการนั้น ประพฤติ
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.
จบจินตสูตรที่ ๓
อรรถกถาจินตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในจินตสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า พาลลกฺขณานิ ได้แก่ ที่ชื่อว่า พาลลักษณะ (ลักษณะ
ของคนพาล) เพราะเป็นเครื่องให้คนทั้งหลายกำหนด คือรู้ได้ว่าผู้นี้เป็นพาล.
ลักษณะเหล่านั้นแล เป็นเหตุให้หมายรู้คนพาลนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
เครื่องหมายของคนพาล. บทว่า พาลาปทานนิ ได้แก่ ความประพฤติของ
คนพาล. บทว่า ทฺจฺจินฺติตจินฺตี ความว่า คนพาลเมื่อคิด ย่อมคิดแต่เรื่องที่

8