No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 304 (เล่ม 39)

สมบัติของมนุษย์ ความยินดีในเทวโลก และ
สมบัติคือพระนิพพานอันใด อิฐผลทั้งหมดนั้นอัน
บุคคลย่อมได้ ด้วยบุญนิธินี้.
ความที่บุคคลอาศัยสัมปทา คุณเครื่องถึงพร้อม
คือมิตรแล้ว ถ้าประกอบโดยอุบายที่ชอบ เป็นผู้ชำนาญ
ในวิชชาแล้วมุตติ อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคลย่อมได้
ด้วยบุญนิธินี้.
ปฏิสัมภิทา วิโมกข์ สาวกบารมี ปัจเจกโพธิ
และพุทธภูมิอันใด อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคลย่อม
ได้ ด้วยบุญนิธินี้.
บุญสัมปทา คุณเครื่องถึงพร้อมคือบุญนั้น เป็น
ไปเพื่อประโยชน์ใหญ่อย่างนี้ เพราะฉะนั้น บัณฑิต
ผู้มีปัญญา จึงสรรเสริญความเป็นผู้ทำบุญไว้แล.
จบนิธิกัณฑ์ในขุททกปาฐะ

304
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 305 (เล่ม 39)

อรรถกถานิธิกัณฑสูตร
เหตุตั้งพระสูตร
นิธิกัณฑสูตรนี้ ข้าพเจ้ายกขึ้นตั้ง โดยนัยว่า นิธึ นิเธติ ปุริโส
เป็นต้น ต่อลำดับจากติโรกุฑฑสูตร บัดนี้ ข้าพเจ้าจักกล่าวเหตุตั้งและจัก
แสดงเหตุเกิดเรื่องแห่งนิธิกัณฑสูตรไว้ในที่นี้แล้ว จึงจักทำการพรรณนาความ
แห่งนิธิกัณฑสูตรนั้น.
บรรดาเหตุทั้งสองนั้น ในที่นี้พึงทราบเหตุตั้งนิธิกัณฑสูตรนั้นก่อน.
แท้จริง นิธิกัณฑสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้มิได้ตรัสไว้ตามลำดับนี้
เพราะเหตุที่เป็นสูตรคู่ของติโรกุฑฑสูตร โดยเป็นเรื่องอนุโมทนา ฉะนั้น
ข้าพเจ้าจึงยกขึ้นตั้งไว้ในที่นี้. หรือว่า พึงทราบว่า ข้าพเจ้าครั้นแสดงวิบัติ
ของหมู่ชนที่ปราศจากบุญด้วยติโรกุฑฑสูตรแล้ว จึงยกนิธิกัณฑสูตรนี้ตั้งไว้ใน
ที่นี้ ก็เพื่อแสดงสมบัติของหมู่ชนที่ทำบุญไว้ด้วยสูตรนี้. เหตุดังนี้กัณฑสูตร
นั้นไว้ในที่นี้มีเท่านี้.
เหตุเกิดพระสูตร
นิธิกัณฑสูตรนั้น มีเหตุเกิดดังนี้.
ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี กุฎุมพีคนหนึ่ง มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มี
โภคะมาก แต่เขาเป็นคนมีศรัทธาปสาทะ มีใจปราศจากมลทินคือความตระหนี่
อยู่ครองเรือน. วันหนึ่ง เขาถวายทานแก่พระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประมุข สมัยนั้น พระราชามีพระราชประสงค์ทรัพย์ จึงทรงส่งราชบุรุษคน
หนึ่งไปที่สำนักเขา ด้วยพระราชดำรัสสั่งว่า พนาย เจ้าจงไปนำกุฎุมพีชื่อนี้

305
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 306 (เล่ม 39)

มา. ราชบุรุษผู้นั้น ไปพูดกะกุฎุมพีนั้นว่า ท่านคฤหบดี พระราชาขอเชิญ
ท่านกุฎุมพี มีใจประกอบด้วยคุณมีศรัทธาเป็นต้น กำลังอังคาสเลี้ยงดูพระภิกษุ
สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข จึงกล่าวว่า ไปก่อนเถิดท่านราชบุรุษ ข้าพเจ้า
จะมาทีหลัง ข้าพเจ้าจะฝังขุมทรัพย์ในขณะนี้เสียก่อน. พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสวยเสร็จทรงชักพระหัตถ์ออกจากบาตรแล้ว เพื่อทรงแสดงบุญสัมปทาว่า
นิธิโดยปรมัตถ์ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า นิธึ นิเธติ ปุริโส เป็นต้น เพื่อ
อนุโมทนาแก่กุฎุมพีนั้น. นิธิกัณฑสูตรนั้น มีเหตุเกิด ดังกล่าวมานี้.
ข้าพเจ้ากล่าวเหตุตั้ง และแสดงเหตุเกิดของนิธิ-
กัณฑ์สูตรไว้ในที่นี้แล้ว จักทำการพรรณนาความของ
นิธิกัณฑสูตรนั้น ดังต่อไปนี้.
พรรณนาคาถาที่ ๑
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิธึ นิเธติ ปุริโส ความว่า ชื่อว่า
นิธิ เพราะฝังไว้ อธิบายว่า ตั้งไว้ รักษาไว้. นิธินั้นมี ๔ คือ ถาวรนิธิ
ชงคมนิธิ อังคสมนิธิ อนุคามิกนิธิ. บรรดานิธิ ๔ นั้น ทรัพย์ที่ติดพื้นดินก็
ดี ทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในอากาศก็ดี เงินก็ดี ทองก็ดี นาก็ดี ที่ดิน [ปลูกบ้าน]
ก็ดี ก็หรือทรัพย์เห็นปานนั้น แม้อื่นใดที่เว้น จากเคลื่อนที่ด้วยตัวเอง ชื่อว่า
ถาวร มั่นคง ขุมทรัพย์นี้ ชื่อว่า ถาวรนิธิ. ทาสหญิง ทาสชาย ช้าง โคม้า ลา แพะ
แกะ ไก่ สุกร ก็หรือว่า ทรัพย์เห็นปานนั้น แม้อื่นใด ที่ประกอบด้วยเคลื่อนที่
ได้ด้วยตัวเอง ชื่อว่าชังคมะ เคลื่อนที่ได้ ขุมทรัพย์นี้ ชื่อว่า ชังคมนิธิ.
พาหุสัจจะความเป็นพหูสูต อันเป็นบ่อเกิดการงาน บ่อเกิดศิลปะ. ที่ตั้งแห่ง
วิทยาการ ก็หรือว่า พาหุสัจจะเห็นปานนั้น แม้อื่นใด ที่ศึกษาเเล้วศึกษาอีก
ชำนาญติดตัวประหนึ่งอวัยวะใหญ่น้อย ชื่อว่าอังคสมะ เสมอด้วยอวัยวะ ขุม-

306
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 307 (เล่ม 39)

ทรัพย์นี้ ชื่อว่า อังคสมนิธิ. บุญที่สำเร็จด้วยทาน ที่สำเร็จด้วยศีล ที่สำเร็จ
ด้วยภาวนา. ที่สำเร็จด้วยการฟังธรรม ที่สำเร็จด้วยการแสดงธรรม ก็หรือว่า
บุญเห็นปานนั้น แม้อื่นใด ตามด้วยผลที่น่าปรารถนา ประดุจติดตามไปในที่
นั้น ๆ ชื่อว่า อนุคามิกะ ติดตามไปได้. ขุมทรัพย์นี้ ชื่อว่า อนุคามิกนิธิ.
ส่วนในที่นี้ ทรงประสงค์เอา ถาวรนิธิ.
บทว่า นิเธติ ได้แก่ ตั้งไว้ เก็บไว้ รักษาไว้. บทว่า ปุริโส
ได้แก่ มนุษย์. บุรุษก็ดี สตรีก็ดี บัณเฑาะก์ก็ดี ย่อมฝังขุมทรัพย์ได้ก็จริง
ถึงกระนั้น ในที่นี้ ก็ทรงทำเทศนา ด้วยบุรุษเป็นสำคัญ แต่ว่าโดยอรรถ
พึงเห็นว่าทรงประมวลคนแม้เหล่านั้นไว้ในที่นี้. บทว่า คมฺภีเร โอทกนฺติเก
ความว่า ที่ชื่อว่า คัมภีระ เพราะอรรถว่าหยั่งถึงได้ ชื่อว่า โอทกันติกะ
เพราะเป็นที่มีน้ำเป็นที่สุด. ที่ลึกแต่ไม่มีน้ำเป็นที่สุดก็มี เช่นบ่อลึกชั่ว ๑๐๐ บุรุษ
ณ พื้นที่ดอน. ที่มีน้ำเป็นที่สุด แต่ไม่ลึกก็มี เช่นบ่อลึกศอกสองศอก ณ ที่
ลุ่มเป็นโคลนตม. ที่ทั้งลึก ทั้งมีน้ำเป็นที่สุดก็มี เช่นบ่อที่เขาขุด ณ พื้นที่ดอน
จนกว่าน้ำจักไหลมา ณ บัดนี้. คำว่า คมฺภีเร โอทกนฺติเก นี้ ตรัสหมาย
ถึงที่ลึก และมีน้ำเป็นที่สุดนั้น.
บทว่า อตฺเถ กิจฺเจ สมุปฺปนฺเน ความว่า ชื่อว่า อัตถะ เพราะ
ไม่ปราศจากประโยชน์. ท่านอธิบายว่า นำมาซึ่งประโยชน์ นำมาซึ่งประโยชน์
เกื้อกูล. ชื่อว่า กิจ เพราะควรทำ. ท่านอธิบายว่า กรณียะบางอย่าง อัน
เกิดขึ้นแล้วนั่นแล ชื่อว่า สมุปปันนะ. ท่านอธิบายว่า อันตั้งขึ้นแล้วโดย
ความเป็นกิจควรทำ. คำนี้เป็นการแสดงถึงประโยชน์ของการฝังขุมทรัพย์ว่า
เมื่อกิจที่เป็นประโยชน์นั้นเกิดขึ้นแล้ว ขุมทรัพย์จักเป็นประโยชน์แก่เรา. ความ
จริง บุรุษนั้นฝังขุมทรัพย์ไว้ก็เพื่อประโยชน์อย่างนี้ว่า เมื่อกรณียะบางอย่างที่

307
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 308 (เล่ม 39)

นำมาซึ่งประโยชน์เกิดขึ้น ขุมทรัพย์จักเป็นประโยชน์แก่เรา จักมีเพื่อความ
สำเร็จแห่งกิจของเรานั้น. เป็นความจริง ความสำเร็จแห่งกิจนั่นแล พึงทราบ
ว่าเป็นประโยชน์ของขุมทรัพย์นั้น เมื่อกิจเกิดขึ้น.
พรรณนาคาถาที่ ๒
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงประโยชน์แห่งการฝังชุมทรัพย์อย่าง
นี้ ครั้นทรงแสดงความประสงค์แห่งการประสพประโยชน์ บัดนี้ เพื่อทรง
แสดงความประสงค์แห่งการหลีกสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ จึงตรัสว่า
ขุมทรัพย์นี้ จักเป็นประโยชน์แก่เราเพื่อเปลื้อง
ตนจากราชภัยบ้าง เพื่อช่วยตนให้พ้นจากโจรภัยบ้าง
เปลื้องหนี้บ้าง ในคราวทุพภิกขภัยบ้าง ในคราวคับขัน
บ้าง.
คาถานั้น พึงประกอบข้อความตามกำเนิดศัพท์กับบทว่า สวิสฺสติ
ปโมกฺขาย ที่ตรัสในคำนี้ว่า อตฺถาย เม ภวิสฺสติ และว่า อิณสฺส เว
ปโมกฺขาย จึงจะทราบความได้. ในข้อนั้นประกอบความอย่างนี้ว่า บุรุษฝัง
ขุมทรัพย์ มิใช่ด้วยประสงค์ว่าจะเป็นประโยชน์แก่เราอย่างเดียวเท่านั้นดอก. ก็
คืออะไรอีกเล่า. ก็คือบุรุษฝังขุมทรัพย์ ก็ด้วยประสงค์ว่า จักช่วยเปลื้องเราไห้
พ้นจากราชภัยที่ต้องถูกพวกศัตรูหมู่ปัจจามิตรกล่าวร้าย โดยนัยอย่างนี้ว่า ผู้นี้
เป็นโจรบ้าง เป็นชายชู้บ้าง หลบหนีภาษีบ้าง ดังนี้เป็นต้นบ้าง จักช่วยปล่อย
เราพ้นจากโจรภัย ที่ถูกพวกโจรเบียดเบียน ด้วยการลักทรัพย์โดยวิธีตัดช่อง
เป็นต้นบ้าง โดยการจับเป็นเรียกค่าไถ่ว่าเจ้าจงให้เงินทองเท่านี้ ๆ บ้าง เจ้าหนี้
จักทวงให้เราชำระหนี้ ก็จักช่วยปลดเราพ้น จากหนี้ที่เจ้าหนี้เหล่านั้นทวงอยู่บ้าง
สมัยที่เกิดทุพภิกขภัย ข้าวกล้าเสีย อาหารหายาก ในสมัยนั้น จะยังอัตภาพ

308
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 309 (เล่ม 39)

ให้เป็นไปด้วยทรัพย์เล็กน้อย ทำไม่ได้ง่ายๆ ขุมทรัพย์นั้นก็จักช่วยได้ในคราว
ทุพภิกขภัยเช่นนั้น มาถึงเข้า ดังนี้บ้าง จักช่วยได้ในคราวคับขันที่เกิดจากอัคคี-
ภัย อุทกภัย ทายาทที่ไม่เป็นที่รัก ดังนี้บ้าง.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงประโยชน์แห่งการเก็บทรัพย์ ๒
อย่าง ด้วย ๒ คาถา คือ ความประสงค์ที่จะพบประโยชน์ และความประสงค์
ที่จะหลีกจากสิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะตรัสย้ำประโยชน์
แม้ทั้ง ๒ นั้นนั่นแลแก่กุฎุมพีนั้น จึงตรัสว่า เอตทตฺถาย โลกสฺมึ นิธิ
นาม นิธิยฺยติ ขุมพรัพย์เขาผังไว้ในโลกก็เพื่อประโยชน์อย่างนี้.
คาถานั้นมีความว่า ประโยชน์นี้ใด คือ การพบประโยชน์และการ
หลีกจากสิ่งที่มิใช่ประโยชน์ ทรงแสดงไว้ โดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า จักเป็น
ประโยชน์แก่เรา และว่าจักเปลื้องเราซึ่งถูกกล่าวร้ายให้พ้นจากราชภัย. ธรรมดา
ขุมทรัพย์ต่างโดยเงินทองเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เขาฝังไว้ตั้งไว้ เก็บงำไว้
ในโอกาสโลกนี้ ก็เพื่อประโยชน์นั้น คือเพื่อทำกิจเหล่านั้น ให้สำเร็จไป.
พรรณนาคาถาที่ ๓
บัดนี้ เพราะเหตุที่ขุมทรัพย์นั้น แม้เข้าฝังไว้ดีแล้วอย่างนี้ ย่อมให้
สำเร็จประโยชน์ที่ประสงค์แก่ผู้มีบุญเท่านั้น ไม่สำเร็จประโยชน์แก่คนเหล่าอื่น
ฉะนั้น เมื่อทรงแสดงประโยชน์จึงตรัสว่า
ขุมทรัพย์ที่เขาฝังไว้เป็นอันดีในที่ลึกมีน้ำเป็นที่
สุดเพียงนั้น ขุมทรัพย์นั้นหาสำเร็จประโยชน์แก่เขาได้
ทั้งหมดในกาลทุกเมื่อทีเดียวไม่.
คาถานั้น มีความว่า แม้ขุมทรัพย์นั้นเขาฝังไว้ดีถึงเพียงนั้น ท่าน
อธิบายว่า แม้เขาขุดหลุมเก็บไว้อย่างดีเพียงนั้น เขาฝังไว้ดีอย่างไร. เขาฝังไว้

309
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 310 (เล่ม 39)

ในที่ลึกมีนี้เป็นที่สุด ท่านอธิบายว่าดีตราบเท่าที่นับได้ว่าฝังไว้ในที่ลึกมีน้ำเป็น
ที่สุด. บทว่า น สพฺโพ สพฺพทาเยว ตสฺส ตํ อุปกปฺปติ ความว่า
ขุมทรัพย์ย่อมไม่สำเร็จประโยชน์ ไม่สำเร็จผลแม้ทั้งหมด ท่านอธิบายว่า ไม่
สามารถทำกิจตามที่กล่าวมาแล้ว แก่บุรุษที่ฝังไว้ได้ทุกเวลา. คืออะไรเล่า คือ
ว่า บางครั้งก็สำเร็จประโยชน์ บางครั้งก็ไม่สำเร็จประโยชน์เลย. ศัพท์ว่า ตํ
ในคาถานั้น พึงเห็นว่าเป็นนิบาต ลงในอรรถว่าปทปูรณะทำบทให้เต็ม เช่นใน
ประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ยถา ตํ อปฺปมตฺตสฺส อาตาปิโน. หรือว่าท่าน
ทำลิงค์ [เพศศัพท์] ให้ต่างกัน เมื่อควรจะกล่าวว่า โส ก็กล่าวเสียว่า ตํ. จริง
อยู่เมื่อกล่าวอย่างนั้น ความนั้น ก็รู้ได้สะดวก.
พรรณนาคาถาที่ ๔ และที่ ๕
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสว่า น สพฺโพ สพฺพทาเยว ตสฺส ตํ
อุปกปฺปติ อย่างนี้ บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงเหตุที่ไม่สำเร็จประโยชน์ จึง
ตรัสว่า
เพราะขุมทรัพย์เคลื่อนย้ายจากที่ไปเสียบ้าง ความ
จำของเขา คลาดเคลื่อนไปเสียบ้าง พวกนาคลักไป
เสียบ้าง พวกยักษ์ลักไปเสียบ้าง ทายาทผู้รับมรดกที่
ไม่เป็นที่รักขุดเอาไป เมื่อเขาไม่เห็นบ้าง.
คาถานั้น มีความว่า ขุมทรัพย์นั้น เคลื่อนย้ายออกไปจากที่ ๆ เขาฝัง
ไว้ดีแล้ว คือ แม้ไม่มีเจตนาก็ไปที่อื่นได้ โดยเจ้าของสิ้นบุญบ้าง. ความจำ
ของเขา คลาดเคลื่อน คือเขาจำไม่ได้ถึงที่ ๆ ฝังขุมทรัพย์ไว้บ้าง พวกนาค ที่
ความสิ้นบุญของเขาเตือนแล้ว ยักย้ายขุมทรัพย์นั้น เอาไปที่อื่นเสียบ้าง พวก
ยักษ์ลักพาเอาไปตามชอบใจเสียบ้าง พวกทายาทผู้รับมรดกที่ไม่ชอบกัน ขุด

310
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 311 (เล่ม 39)

พื้นดินยกเอาขุมทรัพย์นั้นไป เมื่อเขาไม่เห็นบ้าง. ขุมทรัพย์นั้น ไม่สำเร็จ
ประโยชน์แก่เขา เพราะเหตุมีการเคลื่อนที่เป็นต้นเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสเหตุที่ไม่สำเร็จประโยชน์ ซึ่งโลกสมมต
มีการทำให้เคลื่อนที่เป็นต้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อทรงแสดงเหตุ ที่เข้าใจกันว่า
ความสิ้นบุญอย่างหนึ่งอย่างเดียวที่เป็นมูลแห่งเหตุแม้เหล่านั้น จึงตรัสว่า ยทา
ปุญฺญกฺขโย โหติ สพฺพเมตํ วินสฺสติ.
คาถานั้นมีความว่า สมัยใด บุญที่ทำโภคสมบัติให้สำเร็จ สิ้นไป ก็จะ
ทำสิ่งที่มิใช่บุญ ที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมแห่งโภคสมบัติ มีโอกาสตั้งอยู่ สมัย
นั้น ธนชาตใดมีเงินและทองเป็นต้น ซึ่งผู้ฝังขุมทรัพย์ฝังไว้แล้ว ธนชาตนั้น
ทั้งหมด ก็พินาศหมดสิ้นไป.
พรรณนาคาถาที่ ๖
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสถึงขุมทรัพย์ ที่แม้บุคคลฝังไว้แล้วด้วย
ความประสงค์นั้น ๆ แต่ก็ไม่สำเร็จประโยชน์ตามที่ประสงค์ ถึงโลกสมมตก็ต้อง
มีอันพินาศไปเป็นธรรมดา บัดนี้เพื่อทรงแสดงบุญสัมปทาเท่านั้นว่า เป็นขุม
ทรัพย์โดยปรมัตถ์ เมื่อทรงแสดงนิธิกัณฑสูตรนี้ ที่ทรงเริ่มเพื่ออนุโมทนาแก่
กุฎุมพีนั้น จึงตรัสว่า
ขุมพรัพย์ ของใด จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็
ตาม ชื่อว่าผังไว้ดีแล้ว ก็ด้วยทาน ศีล สัญญมะ และ
ทมะ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทานํ พึงถือเอาตามนัยที่กล่าวไว้แล้วใน
มงคลข้อที่ว่า ทานญฺจ ธมฺมจริยา นั้น. บทว่า สีลํ ได้แก่ การไม่ล่วง
ละเมิดทางกายและวาจา คือ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และปาฏิโมกข์สังวรศีล

311
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 312 (เล่ม 39)

เป็นต้น. ศีลทุกอย่างท่านประสงค์ว่าศีลในที่นี้. บทว่า สัญฺญโมได้แก่
ความสำรวม ท่านอธิบายว่า การห้ามใจไปในอารมณ์ต่าง ๆ คำนี้ เป็นชื่อของ
สมาธิ ที่บุคคลประกอบแล้ว ท่านเรียกว่าผู้สำรวมสูงสุด ในบาลีนี้ว่า หตฺถ-
สญฺญโต ปาทสญฺญโต วาจาสญฺญโต สญฺญตุตฺตโม ผู้สำรวมมือ สำรวม
เท้า สำรวมวาจา ชื่อว่าผู้สำรวมสูงสุด. อาจารย์อีกพวกกล่าวว่าความสำรวม ท่าน
อธิบายว่า ความระวัง ความสังวร คำนี้ เป็นชื่อของอินทรีย์สังวร. ความฝึกฝน
ชื่อว่า ทมะ ท่านอธิบายว่า การระงับกิเลส คำนี้เป็นชื่อของปัญญา. จริงอยู่
ปัญญาในบาลีบางแห่งเรียกว่า ปัญญา ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า สุสฺสูสํ
ลภเต ปญฺญํ ผู้ฟังด้วยดี ย่อมได้ปัญญา บางแห่งท่านเรียกว่า ธรรมะ ใน
ประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า สจฺจํ ธมฺโม ธิติ จาโค สัจจะ ธรรมะ ธิติ จาคะ
บางแห่งท่านเรียกว่า ทมะ ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ยทิ สจฺจา ทมา
จาคา ขนฺตยาภิยฺโย น วิชฺชติ ผิว่า ธรรมยิ่งกว่าสัจจะ ทมะ จาคะ
ขันติ ไม่มีไซร้.
บัณฑิตรู้จักทานเป็นต้น อย่างนี้แล้ว พึงประมวลมาทราบความแห่ง
คาถานี้ อย่างนี้ว่า ขุมทรัพย์ที่สำเร็จด้วยบุญของผู้ใด เป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็
ตาม เขาจะเอาธรรมะ ๔ เหล่านี้คือ ทาน ศีล สัญญมะ ทมะที่ฝังไว้ดีแล้ว
ด้วยการทำธรรมทั้ง ๔ มี ทานเป็นต้น เหล่านั้นไว้ด้วยดี ในจิตสันดานเดียว
หรือในวัตถุมีเจดีย์เป็นต้น เหมือนขุมทรัพย์ที่สำเร็จด้วยธนชาต เขาก็เอาเงิน
ทอง มุกดา มณี ฝังไว้ ด้วยการใส่เงินทองเป็นต้นเหล่านั้น ลงในเดียวกัน
ฉะนั้น.
พรรณนาคาถาที่ ๗
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความที่บุญสัมปทาเป็นขุมทรัพย์
โดยปรมัตถ์ ด้วยคาถานี้ว่า ยสฺส ทาเนน เป็นต้นอย่างนี้แล้ว เมื่อทรง
แสดงวัตถุที่ขุมทรัพย์อันบุคคลฝังแล้ว ชื่อว่าฝังไว้อย่างดี จึงตรัสว่า

312
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 313 (เล่ม 39)

ในเจดีย์ก็ดี ในสงฆ์ก็ดี ในบุคคลก็ดี ในแขก
ก็ดี ในมารดาก็ดี ในบิดาก็ดี ในพี่ชายก็ดี.
ในคาถานั้น ชื่อว่า เจติยะ เพราะควรก่อ ท่านอธิบายว่า ควรบูชา
ชื่อว่า เจจิยะ เพราะวิจิตรแล้ว. เจดีย์นั้นมี ๓ อย่าง คือ บริโภคเจดีย์
อุทิสสกเจดีย์ ธาตุกเจดีย์.
บรรดาเจดีย์ทั้ง ๓ นั้น โพธิพฤกษ์ ชื่อว่า บริโภคเจดีย์ พระพุทธ
ปฎิมา ชื่อว่า อุทิสสกเจดีย์ พระสถูปที่มีห้องบรรลุพระธาตุ ชื่อว่า ธาตุก-
เจดีย์. 
บทว่า สงฺโฆ ได้แก่ ผู้ใดผู้หนึ่ง ในหมู่สงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประมุข. บทว่า ปุคฺคโล ได้แก่ ผู้ใดผู้หนึ่ง ในหมู่คฤหัสถ์และบรรพชิต
เป็นต้น. ชื่อว่า อติถิ [แขก] เพราะเขาไม่มีดิถี คือมาในวันไหนก็ได้ คำ
นี้เป็นชื่อของแขกผู้มาในขณะนั้น. คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวไว้แล้วทั้งนั้น.
บัณฑิตรู้จักเจดีย์เป็นต้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ พึงทราบความแห่งคาถานี้
อย่างนี้ ขุมทรัพย์นั้นใดตรัสว่า เป็นอันฝังดีแล้ว ขุมทรัพย์นั้น ที่เขาฝังไว้
ในวัตถุเหล่านั้น ย่อมชื่อว่าฝังไว้ดีแล้ว. เพราะเหตุไร เพราะสามารถอำนวย
ผลที่น่าปรารถนาได้ตลอดกาลนาน. จริงอย่างนั้น ชนทั้งหลายถวายในพระ-
เจดีย์แม้เล็กน้อย ย่อมเป็นผู้ได้ผลที่ปรารถนาตลอดกาลนาน เหมือนอย่างที่
ตรัสไว้ว่า
เอกปุปผํว ทตฺวาน อสีติกปฺปโกฏิโย
ทุคฺคตึ นาภิชานามิ ปุปฺผทานสฺสิทํ ผลํ.

313