ใช้คำว่า “นาย” มาเปรียบผลของกรรมว่า “นายเวร” ก็ได้
ถ้าเป็นอย่างนั้น ที่ตรัสว่า เป็นทายาทแห่งกรรม ไม่ไปตีความหมายว่า ไม่ใช่ทายาทของใครหรือ เพราะมีกรรมเป็นของตนเอง?
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน นะใช่ ถ้าพูดในแง่ทำเองได้รับผลเอง แต่ถ้าพูดในแง่การแสดงผลของกรรม หรือ การใช้คำสมมติเรียกผลของกรรมนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งสามารถใช้คำสมมติแบบไหนก็ได้ ที่ไม่หนีแนวไปจากความหมาย
การแสดงผลของกรรมมีหลายรูปแบบ กรรมแสดงผลเป็นตัวก็มี เช่น ในเรื่องวิบากกรรมของพระโกณฑธานเถระ มีคนเห็นผู้หญิงเดินตามท่าน ที่จริงไม่ใช่ผู้หญิง แต่เป็นเพราะวิบากกรรมของท่าน พระเจ้าปเสนทิโกศลทราบความข้อนี้ เลยส่งภิกษาไปถวายเป็นประจำ ไม่ให้ท่านไปบิณฑบาตที่ไหน
...แม้พระราชาก็เสด็จเข้าไปบรรณศาลาพร้อมกับหญิงนั้นทีเดียว ตรวจดูทุกแห่งก็ไม่เห็น จึงทำความเข้าพระทัยว่า นี้มิใช่มาตุคาม เป็นวิบากกรรมอย่างหนึ่งของพระเถระ ที่แรกแม้มาถึงใกล้พระเถระ ก็ไม่ทรงไหว้พระเถระ ครั้นทรงทราบว่า เหตุนั้นไม่เป็นจริง จึงเสด็จมาไหว้พระเถระ ประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่งตรัสถามว่า พระคุณเจ้า ไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตบ้างหรือพระเถระทูลว่า เป็นไปได้ ขอถวายพระพร พระราชาตรัสว่าท่านผู้เจริญ โยมรู้เรื่องราวของพระคุณเจ้า เมื่อพระคุณเจ้าเที่ยวไปกับสิ่งที่ทำให้เศร้าหมองเห็นปานนี้ ชื่อว่าใครเล่าจักเลื่อมใสตั้งแต่นี้ไป พระคุณเจ้าไม่จำต้องไปในที่ไหน ๆ โยมจักบำรุงด้วยปัจจัย ๔ พระคุณเจ้าอย่าประมาทด้วยโยนิโสมนสิการะเถิด แล้วส่งภิกษาไปถวายเป็นประจำ...
ผลของกรรม มีอิทธิพลต่อเรา เราสามารถใช้คำสมมติเรียกผลของกรรมว่า "นายเวร" ก็ได้ มีความหมายว่า นายที่เป็นเวร ดังในเรื่องข้างบนนี้ วิบากกรรมของพระโกณฑธานเถระมีอิทธิพลต่อพระเถระ ก็สามารถเรียกได้ว่า วิบากกรรม ก็เป็นนายเวรของพระเถระนั้นเอง นอกจากนี้ จะเรียก กิเลส ว่าเป็นนายก็ไม่ผิด เพราะถ้าใครยังไม่หลุดพ้น กิเลสก็จัดว่าเป็นนายของคนๆนั้นได้เหมือนกัน เพราะกิเลสครอบงำเรา ผลของกรรมก็เช่นเดียวกัน ดังนั้น การใช้คำสมมุติเรียกแบบนี้ไม่ผิด เพราะความจริงคือ สิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อเราจริง
มีอีกตัวอย่าง นันทยักษ์ ผูกอาฆาตพระพระสารีบุตรมาแต่ชาติก่อน (เรียกว่า คู่เวร หรือ นายเวรก็ได้) เห็นพระสารีบุตรเถระมีผมที่ปลงไว้ใหม่ ๆ นั่งอยู่กลางแจ้ง ในเวลากลางคืน ใคร่จะตีศีรษะ จึงบอกแก่ยักษ์ที่มาด้วยกัน แม้จะถูกยักษ์นั้นห้ามปรามก็ตีจนได้ แล้วก็จม ลงในแผ่นดินไปเกิดในนรก
ตัวอย่างในพระสูตรนี้ เปรียบรูปเป็นเหยื่อแห่งมาร ผู้ตกอยู่ในอำนาจของมาร (ภายใต้อิทธิพลของมาร) มารก็ทำได้ตามปรารถนา แล้วทีนี้ มีใครจะไปเถึยงพระพุทธเจ้าได้ไหมว่า เราจะตกอยู่ในอำนาจของมารได้ไง เพราะมีกรรมเป็นของตน ไม่มีใครมามีอิทธิพลทั้งนั้น?...มีใครจะไปเถึยงพระพุทธเจ้าได้ไหมว่า ไม่ให้พระองค์ใช้คำสมมติเปรียบเทียบอย่างนั้น?...มีใครจะไปเถียงพระพุทธเจ้าได้ไหมว่า รูปก็คือรูปสิ รูปจะเป็นเหยื่อแห่งมารได้ไง? ถ้าเป็นคนที่หลงกับตัวหนังสือ ไม่ใช้ความพิจารณาให้เข้าใจความหมาย ก็คงจะไปเถียงแบบนั้น
[๑๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่หากภิกษุเพลิดเพลินสรรเสริญ หมกมุ่น พัวพันรูปนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ไปสู่ที่อยู่ของมาร ตกอยู่ในอำนาจของมาร ถูกมารคล้อง รัด มัดด้วยบ่วงภิกษุนั้นพึงถูกมารผู้มีบาปใช้บ่วงทำได้ตามปรารถนา ...
ในท่อนนี้ ก็ใช้คำว่า นาย เรียกว่าเป็นนายของบุญก็มี เพราะเป็นผู้ที่จะหนีไปจากอิทธิพลขอบุญและบาป คือ เป็นนายของทาน ไม่เป็นทาส ไม่เป็นสหาย
...บทว่า เป็นนายของทาน คือ เป็นนายของทานที่ตนให้ไม่เป็นทาส ไม่เป็นสหาย อธิบายว่า ก็ผู้ใดบริโภคของอร่อยด้วยตนเอง ให้ของไม่อร่อยแก่ผู้อื่น ผู้นั้นจัดว่าเป็นทาสแห่งไทยธรรมกล่าวคือทานให้ ผู้ใดบริโภคสิ่งใดด้วยตนเองก็ให้สิ่งนั้นนั่นแหละ ผู้นั้นจัดเป็นสหายให้ ส่วนผู้ใดตนเองก็ยังชีพด้วยอาหารตามมีตามเกิด แต่ให้ของอร่อยแก่ผู้อื่นผู้นั้นจัดว่าเป็นนาย...
อาพาธที่เกิดจากวิบากกรรมก็มี
...พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโรคไว้ ๘ อย่างเหล่านี้ คืออาพาธมีน้ำดี (กำเริบ) เป็นสมุฏฐาน ๑ อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน ๑ อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน ๑ อาพาธที่เกิดจากโรคดี โรคเสมหะ โรคลม มาประชุมกัน ๑ อาพาธที่เกิดจากเปลี่ยนฤดู ๑ อาพาธที่เกิดจากการบริหาร (ร่างกาย) ไม่ถูกต้อง ๑ อาพาธที่เกิดจากการพยายาม (ทำให้เกิดขึ้น) ๑ อาพาธที่เกิดจากวิบากกรรม ๑...
เมื่ออาพาธที่เกิดจากวิบากกรรมมี เหล่าอมนุษย์ที่เป็นคู่เวร หรือ นายเวร ทำให้เจ็บป่วยก็ย่อมมี การแสดงผลของกรรมมีหลายรูปแบบ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น นายเวรอยู่ในรูปแบบอมนุษย์ก็มี
อมนุษย์ทำให้จามก็มี
และการอุทิศบุญ ให้อมนุษย์ที่เป็นนายเวรก็ย่อมมี ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าให้ ให้ส่วนบุญแก่สัตว์ทั้งปวง คำว่า "สัตว์ทั้งปวง" ในที่นี้หมายรวมทั้งหมด นายเวร ก็รวมอยู่ในนั้น (เพียงแต่ว่าให้เจาะจงไปที่นายเวร)