No Favorites

แนวคิดไม่เอาอรรถกถาเลยเป็นการปฏิบัติที่ผิด

หัวใจสำคัญในการรับข้อมูล พระพุทธเจ้าให้ใช้ความพิจารณาข้อมูล ในพระไตรปิฎก มีเยอะมากพูดถึงเรื่องการใช้ความพิจารณา

ขึ้นชื่อว่าอรรถกถาไม่ให้เอาเลย แบบนี้ก็เป็นการไม่ใช้ ปัญญาพิจารณา พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นอสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ให้ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมากอีกด้วย

...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ให้ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมากอีกด้วย ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ ไม่พิจารณาไตร่ตรองแล้ว เกิดเลื่อมใสในฐานะอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ๑ ไม่พิจารณาไตร่ตรองแล้ว เกิดไม่เลื่อมใสในฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลา อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล ย่อมบริหารคนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมากอีกด้วย...

และยังประกอบด้วยความลำเอียง 4 ด้วย ผู้ที่ล่วงความลำเอียง 4 ย่อมไปนรก

...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระภัตตุทเทสก์ ประกอบด้วยธรรมประการ ย่อมอุบัติในนรก เหมือนเขานำตัวไปขังไว้ฉะนั้น ธรรม ๔ ประการคืออะไร คือ ลำเอียงเพราะชอบกัน ลำเอียงเพราะชังกัน ลำเอียงเพราะเขลาลำเอียงเพราะกลัว พระภัตตุทเทสก์ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมอุบัติในนรก เหมือนเขานำตัวไปขังไว้ฉะนั้น...

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ถ้าไม่มีการพิจารณาเนื้อความ... เป็นผู้ปฏิบัติผิด เป็นโมฆบุรุษ หลีกไปจากธรรมวินัยนี้ ไกลเพียงไร

...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศรัทธาก็ดี การเข้าไปใกล้ก็ดี การนั่งใกล้ก็ดี การเงี่ยโสตลงก็ดี การฟังธรรมก็ดี การทรงจำธรรมก็ดี การพิจารณาเนื้อความก็ดี ธรรมอันได้ซึ่งความพินิจก็ดี ฉันทะก็ดี อุตสาหะก็ดี การไตร่ตรองก็ดี การตั้งความเพียรก็ดี นั้น ๆ ไม่ได้มีแล้ว เธอทั้งหลายย่อมเป็นผู้ปฏิบัติพลาด ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษเหล่านี้ได้หลีกไปจากธรรมวินัยนี้ ไกลเพียงไร...

[๒๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษ บางพวกในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทานอิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ โมฆบุรุษเหล่านั้น เล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้น ย่อมไม่ควรซึ่งการเพ่งแห่งโมฆบุรุษเหล่านั้น ผู้ไม่ไตร่ตรองเนื้อความด้วยปัญญา...

ให้พิจารณาเนื้อความเป็นหลัก ไม่ยึดดูตามตัวพยัญชนะจนเกินไป เพราะเนื้อความเป็นที่พึ่งได้ พยัญชนะไม่ได้ แนวคิดที่ว่าไม่เอาอรรถกถาเลย จะทำให้คนไม่ใช้ความพิจารณา ยึดดูตามตัวพยัญชนะเท่านั้น ซึ่งไม่ใช้หลักการศึกษาที่ถูกต้อง

...ไม่พึงยึดพยัญชนะจนเกินไป ดำรงอยู่ในข้อแนะนำของอาจารย์ทั้งหลาย พิจารณาถึงเนื้อความด้วยประการฉะนี้ ด้วยว่า เนื้อความเป็นที่พึ่งได้ พยัญชนะไม่ได้...

พระพุทธเจ้าให้พิจารณาข้อมูล สอบสวน เทียบเคียงในหลายพระสูตร ถ้าเข้ากันได้ ก็ให้ถือเอา ถ้าเข้ากันไม่ได้ก็ไม่ให้ถือเอา แต่ต้องใช้ความพิจารณาก่อน ไม่ใช้ไปคัดค้านก่อน พระองค์ตรัสว่า "ไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้าน" ถ้าไปคัดค้านก่อน มันก็ไม่ถูกสิ

......[๑๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ข้าพเจ้าได้สดับมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านแล้ว พึงเรียนบทพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้ว สอบสวนในพระสูตรเทียบเคียงในพระวินัย ถ้าสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ เทียบเคียงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลงใจในข้อนี้ว่านี้ไม่ใช่คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น และภิกษุนี้จำมาผิดแล้วแน่นอน ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย...

ดังนั้น ความคิดที่ว่า ขึ้นชื่อว่าอรรถกถาไม่ให้เอาเลย มันก็เป็นการไม่พิจารณาข้อมูล ไม่สอบสวน เทียบเคียงในหลายสูตร ไม่เข้ากับหลักธรรม เป็นการปฏิบัติที่ผิด

กระทู้เกี่ยวข้อง :  #การรับข้อมูล ไม่ใช่ไปจำกัด หรือ มีอคติกับแหล่งข้อมูล (เช่น อ้างพุทธวจน ไม่เอาอรรถกถา)  #ภิกษุพวกที่ห้ามอรรถและธรรม โดยสูตรซึ่งตนเรียนไว้ไม่ดี ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อมิใช่ประโยชน์…เพื่อความฉิบหาย…  #เรียนพุทธวจนะเพราะเหตุแห่งลาภสักการะ นอนหลับเสีย ยังดีกว่าเล่าเรียนอย่างนี้  #พระพุทธเจ้าสอนให้ใช้ปัญญาพิจารณาก่อนเชื่อ ไม่ใช่เชื่อเพียงเพราะไปอ่านเห็นว่าเป็นพุทธวจน หรือไม่เชื่อเพราะเป็นอรรถกถา