No Favorites

พระพุทธเจ้าฉันแค่หนึ่งครั้ง (One Time)

ก่อนภัตครั้งเดียว หมายถึงฉันครั้งเดียว เวลาใดก็ได้ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นไปจนถึงเที่ยง ไม่เลยเที่ยงไป

...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียว เมื่อเราฉันอาหารในเวลาภัตครั้งเดียว ย่อมรู้สึกคุณ คือ ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กายเบามีกำลัง และอยู่สำราญ...

  • ในครั้งพุทธกาล เมื่อทำภัตหารเสร็จแล้ว เขาจะให้คนไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว เรียกว่า "แจ้งภัตกาล" พิมพ์คำว่า "ได้เวลาแล้ว" และคำว่า "ภัตกาล" ค้นหาในเว็บพระไตรปิฎก ก็จะเห็นว่า มีอยู่หลายเรื่อง ไม่พบข้อมูลว่า ในการรับกิจนิมนต์นั้น พระพุทธเจ้าไปนั่งรอเขาทำอาหาร ทำเสร็จแล้วไปกราบทูลภัตกาลต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงจะสมเหตุผล เพราะเป็นการจัดการที่ดี เมื่อฉันเสร็จแล้ว ก็ไม่พบข้อมูลว่าฉันที่ไหนอีก ไม่ฉันอาหารที่เป็นเดนของใครเป็นครั้งที่สอง แต่ถ้าเป็นภัตตาหารครั้งที่หนึ่ง แม้เป็นเดนของผู้อื่นพระองค์ก็รับ
  • ในพุทธกิจ 5 อย่าง ก็ไม่มีกล่าวไว้ว่า พระองค์ฉันมากกว่าหนึ่งครั้ง ในกิจปุเรภัตนั้น ... เสด็จเที่ยวบิณฑบาตแล้ว ... เสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ... เสด็จเข้าพระคันธกุฏี เป็นอันเสร็จกิจในปุเรภัต
  • พระพุทธเจ้าตรัสคุณแห่งการฉันหนเดียว ทั้งในภัททาลิสูตร และ กกจูปมสูตร ว่า "มีอาพาธน้อย ลำบากกายน้อย เบากาย มีกำลัง และอยู่อย่างผาสุก" เมื่อตรัสคุณแห่งการฉันหนเดียวแบบนี้ จะเป็นการฉันมากว่าหนึ่งครั้ง หรือ 10 ครั้ง ไม่สมเหตุผล ถ้าการตรัสคุณแห่งการฉันนี้ หมายถึงฉันมากกว่าหนึ่งครั้ง ไม่มีเหตุผลที่พระพุทธเจ้าจะไปตรัสว่าหนเดียว ท่านก็ต้องตรัสว่า เราฉันมากกว่าหนึ่งครั้ง หรือเราฉันหลายครั้ง แต่นี้ท่านไม่ได้ตรัสแบบนั้น อย่าว่าแต่พระพุทธเจ้าเลย แม้แต่คนธรรมดาทั่วไป ถ้าหมายถึงสองขึ้นไป เขาจะไม่พูดว่าหนึ่ง ดังนั้น ถ้าพระพุทธเจ้าหมายถึงสองขึ้นไปจะใช้คำว่า "หนึ่ง" ทำไม ทั้งทั้งที่คำว่า "หลายครั้ง" ก็มี ? จำนวนตัวเลขสำคัญ ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น คุณสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ แชทบอกคนขายไปว่าเอาหนึ่งชิ้น คนขายก็ส่งให้แค่หนึ่ง จะเอาหลักฐานที่แชทกันนั้นไปเถียงเขาว่า ทำไมไม่ส่งมาสอง ได้ไหม ? แล้วทีนี้ จะอ้างว่า ที่พูดว่า หนึ่งนั้นหมายถึงสอง ได้ไหม ? แม้แต่ตรรกะแบบนี้มันยังไม่สมเหตุผลเลย แต่นี้ พระพุทธเจ้าตรัสธรรม จะตรัสหนึ่งให้มีความหมายว่าหลายครั้ง ไม่สมเหตุผล อีกอย่าง เวลาที่พระพุทธเจ้าตรัสธรรมที่เกี่ยวกับจำนวน ท่านจะตรัสชัดเจน เช่น ในเอกปุคคลวรรคที่ ๑๓ "...บุคคลผู้เอก เมื่อเกิดขึ้นในโลกย่อมเกิดขึ้นเป็นผู้ไม่เป็นที่สองใคร..." ท่านก็ตรัสชัดเจนว่าท่านคือหนึ่ง แล้วทีนี้จะไปค้านว่าท่านไม่ได้หมายความว่าหนึ่ง โดยไปอ้างว่า พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาแล้ว มีมากกว่าเม็ดหินเม็ดทราย จะได้ไหม ? ดังนั้น การพูดว่าหนึ่งเพื่อให้หมายถึงหลายครั้ง ไม่ใช่คำพูดของบัณฑิต ถ้าบัณฑิตหมายถึงมากกว่าหนึ่งหรือหลายครั้ง จะใช้อีกคำ ดังเช่น คำว่า "ปะ-รำ-ปะ-ระ" ในปรัมปรโภชนสิกขาบท ชึ่งก็มีความหมายว่ามากกว่าหนึ่งหรือหลายครั้ง จะไม่ใช้คำว่า "เอก"
  • อินเดียจะมีคำพูดโบราณอยู่ว่า "Yogi Bhogi Rogi" เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ เรื่องการบริโภคอาหาร พิมพ์คำนี้ค้นดูแหล่งข้อมูลใน Google ได้เลย เขาก็พูดถึงจำนวนของการบริโภค ชึ่ง Yogi พูดถึงการบริโภคอาหารครั้งเดียวต่อวัน Bhogi บริโภคสองครั้งต่อวัน และ Rogi บริโภคสามครั้งต่อวัน (เรียงตามลำดับดีหาไม่ดี) ซึ่งข้อที่หนึ่งนั้นมีปรากฏในตำราอายุรเวทของอินเดย (Ayurveda) และสอดคล้องกับที่พระพุทธเจ้าตรัสในเรื่องคุณแห่งการฉันหนเดียว สามารถเอามาประกอบการพิจารณาเพิ่มเติมได้ว่า ที่พระพุทธตรัสนั้นหมายถึงจำนวนของการฉัน ไม่ใช่กาล
กระทู้เกี่ยวข้อง :  #พระพุทธเจ้าให้ใช้ความพิจารณา ไม่ใช่ว่าที่มีอยู่ในตำรานั้นให้เอาหมด (ตัวอย่าง อรรถกถาที่เห็นว่าขัดกับพุทธพจน์)  #ฉันหนเดียวหมายถึงกาล หรือ จำนวนของการฉัน ?