No Favorites

ธรรมะคืออะไร ?

"ธรรมมะ" คือ "ธรรมชาติทั้งปวง" ส่วน "พระธรรม" คือ ธรรมที่พระพุทธเจ้าสอน (อันไหนที่เป็นฝ่ายชั่ว ที่ท่านไม่ได้สอนให้ยึดถือเอา ที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่พระธรรม)

พระองค์เปรียบพระธรรมเหมือนใบประดู่ลาย 2-3 ใบ เปรียบสิ่งที่ตรัสรู้มีมากเหมือนใบบนต้น หมายความว่า พระธรรม คือ สิ่งที่พระองค์เลือกเอามาสอนเท่านั้น แต่พระพุทธเจ้ารู้หมด

...เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบ ที่เราถือด้วยผ่ามือกับใบที่บนต้น ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือด้วยฝ่าพระหัตถ์มีประมาณน้อย ที่บนต้นมากกว่า พระเจ้าข้า พ. อย่างนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้แล้วมิได้บอกเธอ ทั้งหลายมีมาก ก็เพราะเหตุ ไร เราจึงไม่บอก เพราะสิ่งนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพานเพราะเหตุนั้น เราจึงไม่บอก...

ดังเช่น คำว่า "พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว" หมายความว่า ธรรมที่พระองค์ตรัสไว้เท่านั้น จึงเรียกว่า พระธรรม ธรรมที่ไม่ดี ที่ท่านไม่ได้ตรัสไว้ อันนั้นไม่ใช่พระธรรม เพราะตรัสไว้ดี ไม่ใช่ตรัสชั่ว

...พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว บุคคลพึงเห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้าไปในตนอันวิญญูชนพึงรู้แจ้งได้เฉพาะคน ดังนี้ ...

แต่สิ่งไหนที่เป็นพระธรรมวินัยอยู่แล้วในธรรมชาตินี้ แม้ไม่บัญญัติก็ตาม ไม่ได้หมายความว่า ไม่ใช่พระธรรมวินัยนะ เช่น พระพุทธเจ้าบางพระองค์ ไม่บัญญัติพระวินัย แต่ไม่ได้หมายความว่า พระวินัยที่ไม่ได้บัญญัตินั้น จะไม่ใช่พระวินัย และก็ไม่ได้หมายความว่า พระวินัยไม่เป็นอกาลิโก เพี่ยงเพราะไม่บัญญัติ และก็ไม่ได้หมายความว่า ที่ไม่บัญญัตินั้น ไม่ใช่ว่า พระองค์ไม่รู้ แต่ในยุคที่ไม่บัญญัติวินัย ก็เพราะคนในยุดนั้นเป็นเวไนยชน รู้เรื่องพระวินัยอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นก็ไม่บัญญัติ แต่พระพุทธเจ้าพระองค์นี้ บัญญัติไว้มาก เพราะคนในยุดนี้หยาบ

แต่ถ้าไม่มีใครทำผิดศีล พระองค์ก็จะไม่บัญญัติ ถ้ามีการทำผิดศีลก่อนก็บัญญัติ บัญญัติแล้ว ถ้ายังไม่เข้าใจ ไปทำผิดศีลอีก ก็บัญญัติเพิ่มให้อีก เช่น ข้อเสพเมถุนเป็นปาราชิก มีพระรูปหนึ่ง ยังไม่เข้าใจเรื่องศีล เลยไปเข้าใจว่า ห้ามเฉพาะกับมาตุคามเท่านั้น ก็เลยไปเสพเมถุนกับลิงตัวเมีย ภิกษุรูปอื่นที่รู้เรื่องศีล เอาเรื่องนี้ไปกราบทูลพระพุทธเจ้า พระองค์ก็บัญญัติเพิ่มเข้าไปอีกว่า เป็นปาราชิกแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมียด้วย ฉะนั้น จะเห็นได้ว่า พระวินัยก็คือพระวินัย ศีลยังไงก็คือศีล แม้ไม่บัญญัติก็เรียกว่าศีล ไม่ใช่ว่าไม่ใช่ศีล เพียงเพราะไม่บัญญัติ แต่ถ้าพระรูปนั้นเข้าใจเรื่องพระวินัย ไม่ไปทำผิดศีลก่อน พระองค์ก็จะไม่บัญญัติเพิ่มให้

และอย่าไปสับสนระหว่างคำว่า "ธรรมมะ" ที่หมายถึง "ธรรมชาติทั้งปวง" กับคำว่า "พระธรรม" จะไปพูดว่า พระธรรม คือ ธรรมชาติทั้งปวง ก็ไม่ถูก เพราะในธรรมชาติทั้งปวงนั้น มันมีธรรมชั่ว ธรรมที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์อยู่ ดังที่ตรัสไว้ว่า "ก็เพราะเหตุไร เราจึงไม่บอก เพราะสิ่งนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์" พระธรรม จึงหมายเอาฉะเพราะแต่ ธรรมที่พระพุทธเจ้าคัดสรรเอามาบอก เอามาสอนเท่านั้น จึงเรียกว่าพระธรรม อันที่ตรัสไว้ดีแล้ว แต่อันไหนที่เป็นพระธรรมวินัยอยู่แล้ว แม้ไม่บัญญัติขึ้น ก็เรียกว่าพระธรรมวินัย (ที่ไม่บัญญัติฉะเพราะบางพระองค์) ฉะนั้น พระพุทธเจ้าพระองค์นี้บัญญัติ ก็เรียกว่าพระองนี้บัญญัติ พระองค์นั้นบัญญัติก็เรียกว่า พระองค์นั้นบัญญัติ เหมือนกันหมดเลย ต่างแค่บัญญัติมากหรือน้อย

กระทู้เกี่ยวข้อง :  #ศีลยังไงก็คือศีล ไม่ใช่พระพุทธเจ้าบัญญัติขึ้นก่อนถึงจะเรียกว่าศีล  #ธรรมและวินัยจะแยกออกจากกันไม่ได้ ธรรมก็เป็นอกาลิโก วินัยก็เป็นอกาลิโก  #ไม่สมาทานศีล (ไม่มีศีลโดยปกติ) กับ ทำลายศีลที่สมาทานแล้ว (สมาทานแล้วละเมิด) อันทีสองมีโทษแรงกว่า