ความหมายคำว่า ห้าม
...ดูก่อนพราหมณ์นิพพานก็ตั้งอยู่อย่างนั้นแหละ หนทางนิพพานก็ตั้งอยู่ เราผู้แนะนำก็ตั้งอยู่ ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ สาวกทั้งหลายของเรา เราก็ตักเตือนอย่างนี้ พร่ำสอนอย่างนี้ บางพวกบรรลุนิพพานอันมีความสำเร็จส่วนเดียว บางพวกก็ไม่บรรลุ ดูก่อนพราหมณ์ ในเรื่องนี้ เราจะทำอย่างไรได้ ดูก่อนพราหมณ์ ตถาคตเป็นแต่ผู้บอกทาง ใครถามทางแล้วก็บอกให้ บุคคลทั้งหลายปฏิบัติอยู่ด้วยตน พึงพ้นได้เอง แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ จึงชื่อว่าเราไม่อาจปลดเปลื้อง...
แต่ถ้ามาบวชเป็นภิกษุในศาสนาของท่าน ทีนี้ ท่านจะห้ามละเมิดพระวินัยที่ท่านบัญญัติ จะไม่ถือตามไม่ได้ ถ้าไม่ถือก็ต้องอาบัติ เมื่ออาบัติก็เป็นบาปแก่ผู้นั้น ฉะนั้น จึงเป็นข้อบังคับ ห้ามละเมิด ในบริบทนี้ก็คือห้ามแบบนี้ แต่ถ้าผู้นั้นไม่พอใจที่จะถือตาม ก็สึกได้ อันนี้ก็ไม่ได้ห้าม แต่ถ้าสึกแล้วอยากมาบวชอีก ก็ไม่ได้ห้ามอีก แต่ถ้าบวชแล้ว ก็ห้ามอีก ห้ามละเมิดพระวินัย ห้ามละเมิดข้อปฏิบัติของตนเอง ท่านก็ใช้คำว่าห้ามอยู่ ไม่ใช่ไม่ใช้ เช่น ...
...๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้น ไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย...
ในสูตรนี้ ก็ตรัสว่า ห้ามจากความชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี อันนี้ก็คือห้ามจากอกุศล พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่ละโลกสมมติ ใช้ภาษาของชาวโลก เพื่ออธิบายหลักธรรมให้สัตว์โลกเข้าใจ ท่านก็ใช้คำว่า ห้าม ไม่ใช่ไม่ใช้ ถ้าจะไม่ใช้สะเลย สัตว์โลกก็จะไม่เข้าใจ แม้แต่บอกอยู่ว่า ห้าม ยังไม่เข้าใจเลย เพียงแต่ท่านจะไม่ห้ามในความหมายที่ว่าไปบังคับใคร
...ดูก่อนคฤหบดีบุตร สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน อันกุลบุตรบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๖ เหล่านี้ คือ ห้ามจากความชั่ว ๑ ให้ตั้งอยู่ในความดี อนุเคราะห์ด้วยใจงาม ๑ ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๑ ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง ๑ บอกทางสวรรค์ให้ ๑...
บางสูตรแม้ไม่มีคำว่า ห้าม แต่ความหมายคือห้ามก็มี เช่น ในเอกปุคคล แม้ไม่มีคำว่าห้ามก็ตาม แต่เนื้อความคือ ท่านห้ามปั้นรูปท่าน เพราะการปั้นรูปเปรียบพระตถาคตเป็นอกุศล จึงห้ามจากอกุศล ให้ตั้งอยู่ในกุศล แต่ท่านไม่ได้ห้ามในความหมายที่ว่าไปบังคับใคร ถ้าใครไม่มีปัญญารู้ได้ เขาอยากปั้น ก็แล้วแต่ผู้นั้น ท่านจะไม่ไปบังคับคนนั้นให้รู้ได้ แต่ผู้นั้นจะได้บาปเอาเอง เป็นเรื่องของคนนั้นเอง
...[๑๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอก เมื่อเกิดขึ้นในโลกย่อมเกิดขึ้นเป็นผู้ไม่เป็นที่สองใคร ไม่มีใครเช่นกับพระองค์ ไม่มีใครเปรียบ ไม่มีใครเปรียบเสมอ ไม่มีส่วนเปรียบ ไม่มีบุคคลเปรียบ ไม่มีใครเสมอ เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอ...
แต่บางคนเขาจะมาเถียงว่า ไม่มีคำว่า ห้าม เลยเข้าใจว่าไม่ได้ห้าม ง่ายๆแบบนี้เลย ถ้าเป็นแบบนี้ งั้นในมาตราของกฎหมาย ไม่มีคำว่า ห้าม ไปทำผิดแล้วก็มาเถียงไม่ให้เข้าคุกเพราะไม่มีคำว่า ห้าม ก็ได้สิ จะไปหาสาระอะไรกับตัวพยัญชนะ ถ้าตรัสว่าไม่มีอะไรเปรียบ ความหมายก็คือ อันที่จะไปทำเปรียบนั่น คือ ห้าม
พระกัปปินะหลุดพ้นแล้ว คิดว่าควรไปหรือไม่ไปทำอุโบสถ พระพุทธเจ้าบอกให้ไป แม้ไม่มีคำว่า ห้ามก็ตาม แต่คำว่า "จะไม่ไปไม่ได้" อันนี้แหละ คือห้ามเลย